Authorพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Titleพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารกิจการนิสิตนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร / พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ = Administrative behavior of higher educational institutes student affair administrators in Bangkok Metropolis / Pruet Siribanpitak
Imprint 2522
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17432
Descript ก-ต, 150 แผ่น

SUMMARY

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารกิจการนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ในกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารกิจการนิสิตนักศึกษา อาจารย์และนิสิตนักศึกษา เกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารกิจการนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารกิจการนิสิตนักศึกษาระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ในกรุงเทพมหานคร 4. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารกิจการนิสิตนักศึกษาเท่าที่เป็นอยู่จริงกับที่ควรจะเป็น วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ตัวอย่างประชากรประกอบด้วยผู้บริหารกิจการนิสิตนักศึกษา อาจารย์ที่ปฏิบัติงานด้านกิจการนิสิตนักศึกษาและนิสิตนักศึกษาที่ทำงานด้านกิจกรรม ในสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร 21 แห่ง โดยสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Random Sampling จำนวน 973 คน ได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 678 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 69.68 เป็นของผู้บริหาร 82 ฉบับ อาจารย์ 194 ฉบับ นิสิตนักศึกษา 402 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม 3 แบบ แต่ละแบบมี 2 ตอน ตอนที่ 1 สอบถามสถานภาพของผู้ตอบ ตอนที่ 2 ประเมินพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารกิจการนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้สร้างขึ้นตามแนวของแบบสอบถาม LBDQ ของ ฮาลปิน (Halpin) แบบสอบถามนี้มีค่าความเที่ยง .86 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยนำแบบสอบถามไปส่งให้ผู้ตอบและให้ผู้ตอบส่งกลับให้ผู้วิจัยทางไปรษณีย์ การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยวิเคราะห์สถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละและวิเคราะห์พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารกิจการนิสิตนักศึกษา โดยการหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทีเทสท์ (t-test) สรุปผลการวิจัย 1. พฤติกรรมทางการบริหารที่เป็นจริงของผู้บริหารกิจการนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นร่วมกันของผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิตนักศึกษา ในด้านกิจสัมพันธ์ ด้านสัมพันธภาพ และรวมทั้งสองด้าน อยู่ในระดับกลาง โดยที่พฤติกรรมด้านกิจสัมพันธ์และด้านสัมพันธภาพ ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01
2. พฤติกรรมทางการบริหารที่เป็นจริงของผู้บริหารกิจการนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารกับอาจารย์ ผู้บริหารกับนิสิตนักศึกษา และอาจารย์กับนิสิตนักศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยที่ผู้บริหารให้คะแนนสูงกว่าอาจารย์ และอาจารย์ให้คะแนนสูงกว่านิสิตนักศึกษา ส่วนพฤติกรรมทางการบริหารในสภาพที่ควรจะเป็นนั้น การคาดหวังของผู้บริหารกับอาจารย์ ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01 แต่การคาดหวังของผู้บริหารกับนิสิตนักศึกษา และอาจารย์กับนิสิตนักศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยการคาดหวังของผู้บริหารสู่งกว่านิสิตนักศึกษา ยกเว้นด้านสัมพันธภาพ และการคาดหวังของอาจารย์สูงกว่านิสิตนักศึกษา 3. พฤติกรรมทางการบริหารที่เป็นจริงของผู้บริหารกิจการนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนในกรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01 ส่วนพฤติกรรมทางการบริหาร ในสภาพที่ควรจะเป็นนั้น ความคาดหวังของผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐกับความคาดหวังของผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .02 ในเรื่องพฤติกรรมด้านกิจสัมพันธ์และด้านสัมพันธภาพ และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .02 ในเรื่องพฤติกรรมรวมทั้งสองด้าน โดยที่การคาดหวังของผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสูงกว่าการคาดหวังของผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน 4. พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารกิจการนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ในสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่ควรจะเป็น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยที่พฤติกรรมทางการบริหารในสภาพที่ควรจะเป็นตามความคาดหวังร่วมกันของผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิตนักศึกษา สูงกว่าสภาพที่เป็นจริง 5. พฤติกรรมทางการบริหารที่เป็นจริงของผู้บริหารกิจการนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำแนกเป็นรายข้อ อยู่ในระดับกลางทุกข้อ ส่วนสภาพที่ควรจะเป็นอยู่ในระดับสูง 25 ข้อ อยู่ในระดับกลาง 4 ข้อ อยู่ในระดับต่ำ 1 ข้อ ในจำนวน 25 ข้อที่อยู่ในระดับกลางนั้นเป็นพฤติกรรมด้านสัมพันธภาพ 15 ข้อ ด้านกิจสัมพันธ์ 10 ข้อ ส่วนจำนวน 4 ข้อที่อยู่ในระดับกลางและ 1 ข้อที่อยู่ในระดับต่ำนั้นเป็นพฤติกรรมด้านกิจสัมพันธ์.
Purposes of the Study 1. To study the administrative behavior of the administrators for student affair in the public and private higher educational institutes in Bangkok Metropolis. 2. To compare the opinions of the administrators for student affair, instructors and students about the administrative behavior of the administrators for student affair in the higher educational institutes in Bangkok Metropolis. 3. To compare the opinions about the administrative behavior of the administrators for student affair between those of public and private institutes in Bangkok Metropolis. 4. To compare the administrative behavior of the administrators for student affair between those of real and ideal. Methods and Procedures Survey method was used in this research. The subjects involved in this research were administrators for student affair, instructors and students who involved in student activities in 21 higher educational institutes in Bangkok. 973 questionnaires were sent to respondents and 678 or 69.68 percent were completed and returned. The instrument used was three questionnaires. Each one had two parts. Personal information were asked in the first, second, were adapted from Halpin’s Leader Behavior Description Questionnaire (LBDQ) to measure the leadership behavior of the administrators for student affair in higher educational institutes. The reliability of the questionnaire was .86. The Statistical treatment included percentage, mean, standard deviation and t-test. Major Findings 1. The real the administrative behavior of the administrators for student affair in higher educational institutes in Bangkok Metropolis pertaining to the Initiating Structure, Consideration, and both aspects were average. They were also no significant difference between the two aspects. 2. According to the comparison of opinions about the real administrative behavior of the administrators for student affair between the administrators and instructors, between the administrators and students, and between the instructors and students; it was found that they were significantly different at .01 level. The administrators’ rating were higher than those of the instructors, and the instructors’ rating were higher than those of the students. According to the comparison of opinions about the ideal administrative behavior of the administrators for student affair between the administrators and instructors. They were not significantly different at .01 level. Regarding to the comparison of opinions about the ideal administrative behavior of the administrators for student affair between the administrators and students, between instructors and students; it was found that they were significantly different at .01 level. The administrators’ rating were higher than those of the students, and the instructors’ rating were higher that those of the students. 3. According to the comparison of opinions about the real administrative behavior of the administrators for student affair between those of public and private institutes in Bangkok Metropolis. It was found that they were not significantly different at .01 level. Regarding to the comparisons of the opinions about the ideal administrative behavior of administrators for student affair between those of public and private institutes, it was found that they were not significantly different at .02 level pertaining to the Initiating Structure and Consideration. But they were significantly different at .02 level pertaining to both aspects. The administrators, instructors and students in public institutes’ rating were higher than those in private institutes. 4. According to the comparison of the real and ideal administrative behavior of the administrators for student affair in higher educational institutes in Bangkok Metropolis. They were significantly different at .01 level. The ideal administrative behavior was higher than the real one. 5. According to the items analysis of the real administrative behavior of the administrators for student affair in higher educational institutes in Bangkok Metropolis. They were found to be average in every item. Regarding to the ideal one, there were 25 items in high rating, 4 items in average, and 1 item in low rating. Out of the twenty-five high rating items, there were 15 items in Consideration aspect, and 10 items in Initiating Structure aspect. For those of average and low rating, they were all in the Initiating Structure aspect.


SUBJECT

  1. นักบริหาร
  2. พฤติกรรมมนุษย์