Authorนิรมล บุญตะรัตน์
Titleการเปรียบเทียบคุณภาพของแบบสอบชนิดเลือกตอบที่มีรูปแบบ ของตัวเลือกแตกต่างกัน ในวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / นิรมล บุญตะรัตน์ = A comparison of the quality of mathayom suksa one mathematics multiple choices tests with different types of choices / Niramon Boontarat
Imprint 2525
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24852
Descript ก-ฏ, 78 แผ่น

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความยาก อำนาจจำแนก ความเที่ยง ความตรงของแบบสอบชนิดเลือกตอบ ที่มีรูปแบบของตัวเลือกแตกต่างกัน 3 ชุด คือแบบสอบที่ใช้ตัวเลือกแบบธรรมดาทั้งฉบับ แบบสอบที่ใช้ตัวเลือกแบบปลายเปิด “ไม่มีข้อใดถูก” ทั้งฉบับ และแบบสอบที่ใช้ตัวเลือกแบบผสมระหว่างแบบธรรมดากับแบบปลายเปิด และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้ง 3 กลุ่มจากการสอบด้วยแบบสอบที่มีรูปแบบของตัวเลือกแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนสะเดา “ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์” อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จำนวน 300 คน เป็นชาย 166 คน หญิง 134 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 3 ชุด และเกณฑ์ในการหาค่าความตรงของแบบสอบคือคะแนนผลการเรียนคณิตศาสตร์ภาคเรียนที่ 1 ของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดย หาค่าความยากและอำนาจจำแนกด้วยเทคนิค 33% และเปลี่ยนค่าความยากเป็นความยากมาตรฐาน (∆) หาค่าความเที่ยงโดยวิธีคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 หาค่าความตรงร่วยสมัยโดยหาสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เปรียบเทียบความยากมาตรฐานและคะแนนเฉลี่ยจากการสอบของนักเรียนทั้ง 3 กลุ่มโดยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เปรียบเทียบค่าอำนาจจำแนก ความเที่ยงและความตรงของแบบสอบโดยวิธี Chi-Square Test ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. แบบสอบคณิตศาสตร์ที่มีรูปแบบของตัวเลือกแตกต่างกันทั้ง 3 ชุด มีค่าความยากมาตรฐานเท่ากับ 14.2608ม 14.7216 และ 14.1296 ตามลำดับ ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ .3607ม .3507 และ .3488 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงเท่ากับ .859ม .853 และ .850 ตามลำดับ และค่าความตรงเท่ากับ .796ม .768 และ .807 ตามลำดับ ซึ่งจัดว่าเป็นแบบสอบที่มีคุณภาพสูงพอสมควร 2. แบบสอบคณิตศาสตร์ที่มีรูปแบบของตัวเลือกแตกต่างกันทั้ง 3 ชุด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งในด้านค่าความยาก อำนาจจำแนก ความเที่ยง และความตรง 3. คะแนนเฉลี่ยจากการสอบของนักเรียนทั้ง 3 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
The purposes of this study were to compare the difficulty, the discrimination power, the reliability, the validity of three multiple choices tests with different types of choices: substantive alternatives, none of these and combination alternatives between substantive alternatives and none of these; and to compare the average scores of those three tests. The sample consisted of 300 mathayom suksa one students with 166 boys and 134 girls from Sadao “Khanchaikhamplanon” Secondary School in Songkhla Province. The instruments used were mathayom suksa one mathematics multiple choices tests which were constructed by the researcher. The criterion for the concurrent validity was the students’ achievement on mathematics in the first semester. The difficulty and the discrimination power of the tests were analyzed by 33% technique and the difficulty was transformed to the standard difficulty. The reliability was estimated by Kuder-Richardson formula 20 and the concurrent validity was estimated by Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The tests’ standard difficulties and the average scores of those three tests were compared by one way analysis of variance technique. The disciminantion power, reliability coefficients and validity coefficients were tested by Chi-Square Test. The results from this research were as follows: 1. The standard difficulty of three mathematics multiple choices tests with different types of choices were 14.2608, 14.7216 and 14.1296 respectively, the discrimination power were .3607, .3507 and .3488 respectively, the reliability were .859, .853 and .850 respectively and the validity were .796, .768 and .807 respectively. 2. The differences in the difficulty, the discrimination power, the reliability and the validity of three mathematics multiple choices tests with different types of choices were not statistically significant. 3. The differences of the students’ average scores on these three tests were also no statistically significant.


SUBJECT

  1. ข้อสอบ
  2. คณิตศาสตร์ -- ข้อสอบ
  3. แบบทดสอบ