Authorนิ่มนวล ภูมิถาวร
Titleภาพสะท้อนของแม่ในนวนิยายของโกแล็ต เรื่อง "ซีโด" "ลา เมซง เดอ โคลลดีน" "ลา วากาบงด์" และ "ลา แนสซองซ์ ดู ชูร์" / นิ่มนวล ภูมิถาวร = L'image de la mere dans les romans de Colette : Sido, La Maison de Claudine, La Vagabonde et La Naissance du Jour / Nimnuan Bhumithavara
Imprint 2527
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24834
Descript [8], 100 แผ่น

SUMMARY

ความทรงจำในวัยเด็กเป็นแก่นเรื่องสำคัญในผลงานของโกแล็ต ตัวละครเอกในเรื่องซึ่งมีบทบาทโดดเด่นได้แก่ แม่ของผู้ประพันธ์ หรือที่รู้จักในนามซีโด ผลงานของโกแล็ตสะท้อนถึงความรัก ความเทิดทูนของนักประพันธ์ที่มีต่อแม่ ซึ่งเธอยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิต วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเน้นถึงความสำคัญของซีโดในนวนิยายของโกแล็ตงานวิเคราะห์นี้แบ่งออกเป็นสามบท บทแรกซึ่งต้องการชี้ให้เห็นว่าซีโดมีตัวตนจริง จะศึกษาประวัติชีวิตและรูปร่างหน้าตาของเธอ บทที่สองวิเคราะห์บุคลิกภาพของซีโด ซีโดเป็นผู้ที่มีความคิดอิสระ ไม่ยอมรับนับถือคตินิยมที่มีมานานในหมู่บ้านที่เธออาศัยอยู่ ความผิดหวังในชีวิตการแต่งงานครั้งแรกเป็นสาเหตุให้ซีโดดูแคลนความรัก แม้ว่าซีโดจะได้รับความระทมทุกข์เธอก็ไม่เคยยึดศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ หากแต่แสวงหาทางบรรเทาทุกข์ในแวดวงของธรรมชาติ โกแล็ตได้สืบทอดทัศนคติต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์จากมารดาของเธอ ด้วยเหตุนี้เอง ในขณะที่วิเคราะห์บุคลิกภาพของซีโดเพื่อจะถ่ายทอดลงไปในงานเขียนของเธอ โกแล็ตจึงได้ค้นพบตัวเอง เราจะเห็นได้ว่าสตรีทั้งสองมีอุปนิสัยใจคอคล้ายคลึงกันยิ่ง บทสุดท้ายของงานวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ต้องการชี้ให้เห็นอิทธิพลของซีโดที่มีต่อโลกของงานนวนิยายของบุตรสาวของเธอ ลีลาการเขียนของโกแล็ตสะท้อนบุคลิกภาพของซีโดโดยทางอ้อม เนื่องจากได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากแม่ที่รักธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง โกแล็ตจึงสร้างให้สัตว์และต้นไม้มีบทบาทสำคัญในโลกจินตนาการของเธอ อนึ่ง โกแล็ตสามารถถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้มีส่วนร่วมในความรู้สึกของเธอโดยใช้ศิลปะที่มีรากฐานมาจากอินทรีย์สัมผัสอันละเอียดอ่อนซึ่งเธอได้รับการปลูกฝังจากซีโด
Le thème des souvenirs d’enfance prédomine dans l’oeuvre de Colette où se dessine avec relief le personage central, la mère de l’écrivain connue sous le nom de Sido. Colette ne cesse de témoigner de son attachement profound ainsi que de sa grande admiration à l’égard de sa mère qu’elle considère comme un modèle de la Perfection. Dans le but de mettre en valeur le portrait de Sido, notre recherché se divise en trois parties. La première est consacrée à la réalité concrète de Sido. Nous tâcherons de retrace sa vie et son physique. La deuxième partie analyse la personnalíté de Sido. Son indépendance morale la conduit à refuser les préjugés du monde villageois où elle vit. Sido a rencontré une grande déception dans son premier [marriage], ce qui a engendré chez elle le mépris envers l’amour. Malgré ses souffrances morales, Siso ne cherche jamais à se réfugier dans la religion. C’est au sein de la nature qu’elle découvre un remède efficace à ses problèmes. Collette hérite de Sido les mêmes conceptions face à la vie. Ainsi en poignant le portrait de sa mère, Colette se découvre elle-même car en effet ces deux femmes se ressemblent sur le plan moral. La dernière partie de notre étude tâche de montrer l’influence de Sido sur la création Romanesque de Colette. L’art personnel de Colette se caractérise par l’empreinte maternelle. Elevée par une mère aoureuse de la nature, Colette people son univers fictive d’animaux et de plantes. En outré, Colette parvient à transmettre au lecteur ses impressions originelles avec un art fondée sur l’acuité de ses sensations héritée de Sido.


SUBJECT

  1. Colette
  2. 1873-1954. Sido -- Criticism and interpretation
  3. Colette
  4. 1873-1954. La Maison de Claudine -- Criticism and interpretation
  5. Colette
  6. 1873-1954. La Vagabonde -- Criticism and interpretation
  7. Colette
  8. 1873-1954. La Naissance du Jour -- Criticism and interpretation
  9. Mothers in literature
  10. French fiction -- History and criticism
  11. โกแล็ต
  12. ซิโดนี-กาเบรียล
  13. ค.ศ. 1873-1954
  14. วรรณคดีฝรั่งเศส -- ประวัติและวิจารณ์

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesisวพ. French LIB USE ONLY
Arts Library : Thesisวพ. French CHECK SHELVES