Authorนวรัตน์ ไชยสมพงศ์พันธุ์, ผู้แต่ง
Titleผลของสภาวะขาดน้ำต่อการเจริญและผลผลิตของถั่วเหลืองสายพันธุ์ สจ.5 (Glycine max L. SJ.5) / นวรัตน์ ไชยสมพงศ์พันธุ์ = Effects of water stress on growth and yield of soybean (Glycine max L. SJ.5) / Nawarat Chaisompongpan
Imprint 2526
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73342
Descript ก-ฐ, 90 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนภูมิ

SUMMARY

วิทยานิพนธ์นี้เป็นรายงานผลการศึกษาเรื่อง ผลของสภาวะขาดน้ำต่อการเจริญและผลผลิตของถั่วเหลือสายพันธุ์ สจ. 5 (Glycine max L. SJ.5) โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 6 กลุ่ม โดยให้ถั่วเหลืองได้รับสภาวะขาดน้ำที่ระยะการเจริญต่าง ๆ 3 ระยะ คือ ขาดน้ำระยะออกดอก, ขาดน้ำระยะติดผล, ขาดน้ำระยะ pof billing, ให้ได้รับความชื้นต่ำ (ความชื้อ 22.7%) ตลอดการทดลอง 1 กลุ่ม, ขาดน้ำเป็น cycle 1 กลุ่ม และกลุ่ม control (ความชื้นที่ field capacity) อีก 1 กลุ่ม ดังต่อไปนี้ การทดลองครั้งที่ 1 พบว่า กลุ่มที่ได้รับสภาวะขาดน้ำเป็น cycle มีผลต่อการเจริญและผลผลิตของถั่วเหลืองมากที่สุด คือ ที่อายุ 86 วัน พืชมีความสูง 42.16 เซนติเมตร, พื้นที่ใบ 8.12 ตารางเซนติเมตร, น้ำหนัดสด 2.3 กรัม, น้ำหนักแห้ง 0.59 กรัม, เปอร์เซ็นต์การติดฝัก 16.14%, จำนวนเมล็ด 2.50 เมล็ด/ต้น, น้ำหนักเมล็ด 0.06 กรัม/เมล็ด, ช่วงเวลาที่เมล็ดเจริญเต็มฝัก 46 วัน, อัตราการเจริญของเมล็ด 0.0012 กรัม/เมล็ด/วัน, ปริมาณโปรตีนในเมล็ด 138.67 มิลลิกรัม/น้ำหนักสด 1 กรัม ซึ่งน้อยกว่า control อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับกลุ่มที่ได้รับความชื้นต่ำ มีผลรองลงมา คือ มีความสูง 48.78 เซนติเมตร, จำนวนเมล็ด 6.30 เมล็ด/ต้น, ช่วงเวลาที่เมล็ดเจริญเต็มฝัก 43 วัน, อัตราการเจริญของเมล็ด 0.0025 กรัม/เมล็ด/วัน ซึ่งต่ำกว่า control อย่างมีนัยสำคัญสำหรับการให้สภาวะขาดน้ำที่ระยะการเจริญต่างกันนั้นให้ผลไม่แตกต่างจาก control เปอร์เซ็นต์การแบ่งตัวของเซลล์ที่ใบอ่อนขณะขาดน้ำของทุกกลุ่มยกเว้นที่ได้รับความชื้นต่ำลดลงจากก่อนได้รับสภาวะขาดน้ำประมาณ 50% การทดลองครั้งที่ 2 พบว่า กลุ่มที่ได้รับความชื้อต่ำ มีการเจริญต่ำที่สุด คือ มีความสูง 60.22 เซนติเมตร, พื้นที่ใบ 14.89 ตารางเซนติเมตร ที่อายุ 58 วัน, น้ำหนักสด 1.94 กรัม, น้ำหนักแห้ง 1.07 กรัม ซึ่งต่ำกว่า control อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนกลุ่มที่ได้รับสภาวะขาดน้ำเป็น cycle มีการเจริญต่ำรองลงมา คือ มีความสูง 69.92 เซนติเมตร, น้ำหนักสด 2.69 กรัม, น้ำหนักแห้ง 1.52 กรัม ซึ่งน้อยกว่า control อย่างมีนัยสำคัญในด้านผลผลิต กลุ่มที่ได้รับสภาวะขาดน้ำเป็น cycle มีผลผลิตต่ำที่สุด คือ มีจำนวนเมล็ด 5.00 เมล็ด/ต้น, อัตราการเจริญของเมล็ด 0.0032 กรัม/เมล็ด/วัน, ปริมาณโปรตีนในเมล็ด 84.30 มิลลิกรัม/น้ำหนักสด 1 กรัม, ช่วงเวลาที่เมล็ดเจริญเต็มฝัก 31 วัน ซึ่งต่ำกว่า control อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับกลุ่มที่ได้รับความชื้นต่ำ มีผลรองลงมา คือ มีอัตราการเจริญของเมล็ด 0.0036 กรัม/เมล็ด/วัน, ช่วงเวลาที่เมล็ดเจริญเต็มฝัก 28 วัน, ปริมาณโปรตีนในเมล็ด 76.94 มิลลิกรัม/น้ำหนักสด 1 กรัม ซึ่งน้อยกว่า control อย่างมีนัยสำคัญ แต่จำนวนเมล็ดและน้ำหนักเมล็ดไม่แตกต่างจาก control กลุ่มที่ได้รับสภาวะขาดน้ำช่วงติดผล และช่วง pod filling มีช่วงเวลาที่เมล็ดเจริญเต็มฝัก, จำนวนเมล็ด, น้ำหนักเมล็ด และปริมาณโปรตีนในเมล็ดน้อยกว่า control อย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกันในการทดลองครั้งที่ 2 นี้ เพิ่มการทดลองขึ้นอีก 1 คือ กลุ่มที่คลุกเมล็ดด้วยเชื้อไรโซเปียม ก่อนปลูก พบว่าให้ผลไม่ต่างจาก control ในด้านอื่น แต่อัตราการเจริญของเมล็ดและปริมาณโปรตีนในเมล็ดสูงกว่า control อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งปริมาณโปรตีนในเมล็ดทั้ง 2 ครั้ง ต่ำกว่าปริมาณโปรตีนในเมล็ดของถั่วเหลืองก่อนปลูกประมาณ 50%
An investigation into the effect of water stress on growth and yield of soybean (Glyciue max L. SJ. 5) has been carried out in six different treatments. Three treatments were plants subjected to water stress at different stages of growth ; flowering stage, pos formation stage, and pod filling stage. The fourth treatment was subjected to low soil moisture content (22.7%) throughout the experiment, the fifth one was subjected to cycles of water stress and the last one was control (soil moisture content at field capacity). This research was done at two different seasons. The results were as follows: Experiment I. Plants subjected to cycles of water stress revealed greatest reduction in growth and yield at the age of eighty six days, with 42.16 centimeter in height, 8.12 square centimeter leaf area, 2.3 gram fresh weight, 0.59 gram dry weight, 6.14% pod formation, 46 days pod filling time, 2.50 seeds/plant with 0.06 gram/seed and 138.67 milligram/gram fresh weight of protein content of seed and seed growth rate was 0.0012 gram/seed/day, which were significantly lower than control. Results obtained from plants subjected to low soil moisture content were as follows : 48:78 centimeter in height, 6.30 seeds/plant, 43 days pod filling time, 0.0025 gram/seed/day seed growth rate. These were also significantly different from control but less than plants subjected to cycles of water stress. Plants subjected to water stress at different stages of growth showed no difference from control. Mitotic index of leaf cells during stressing period of all treatment, except plants subjected to low soil moisture content, was about 50% reduced from that before treated. Experiment II. Plants subjected to low soil moisture content showed greatest reduction in growth, with 60.22 centimeter in height, 14.89 scare centimeter leaf area at 58 days after emergence, 1.94 gram fmash wei it, 1.07 gran any veight which were significantly lower than control. Plants subjected to cycles of water stress were less affected, they revealed 69.92 centimeter in height, 2.69 gram fresh weight, 1.52 gram dry weight which were also significantly lower than control. Yield of soybean was most affected by cycles of water stress, with 5.00 seeds/plant, 0.0032 gram/seed/day seed growth rate, 84.30 milligram/gram fresh weight of protein content of seed, 31 days pod filling time. These were significantly lower than control. Plants subjected to low soil moisture content was less affected in yield, with 0.0036 gram/seed/day see growth rate, 28 days pod filling time, 76.94 milligram/gram fresh weight of protein content of seed which were significantly lower than control, but seed number and seed weight were not different from control. Plants subjected to water stress at pod filling stage demonstrated that pod filling time, seed number and protein content of seed were also significantly lower than control. In this experiment II, one morc treatment ; which Rhisobium was mixed with seeds before sowing ; was added. It was found that seed growth and protein content of seed were significantly higher than control but percent pod formation, pod filling time, seed number and seed weight were not different from control. Protein content of seeds in both experiments was about 50% lower than those before planting.


SUBJECT

  1. ถั่วเหลือง -- การปลูก
  2. พืช -- ความต้องการน้ำ
  3. Soybean -- Planting
  4. Plants -- Water requirements