Authorนงพงา บุญปักษ์
Titleผลของภาพสีที่เหมือนจริง ภาพสีที่ไม่เหมือนจริงและภาพขาวดำ ที่มีต่อการสร้างมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่ง / นงพงา บุญปักษ์ = Effects of realistic color pictures, non realistic color pictures and black and white pictures on concept formation for prathom suksa one pupils / Nongpanga Boonpaksa
Imprint 2527
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18390
Descript ก-ฏ, 50 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลของภาพสีที่เหมือนจริง ภาพสีที่ไม่เหมือนจริง และภาพขาวดำ ที่มีต่อการสร้างมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่ง วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2526 โรงเรียนสายน้ำทิพย์ จำนวน180 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย สุ่มอีกครั้งหนึ่งเข้ากลุ่มการทดลอง 3 กลุ่มๆละ 60 คน กลุ่มที่ 1 เสนอด้วยภาพสีที่เหมือนจริง กลุ่มที่ 2 เสนอด้วยภาพสีที่ไม่เหมือนจริง และกลุ่มที่ 3 เสนอด้วยภาพขาวดำ ทั้ง 3 กลุ่มการทดลองจะได้ดูภาพชุดที่ใช้ในการสร้างมโนทัศน์เรื่องเดียวกันแต่ต่างกันเฉพาะสีเท่านั้น โดยจะได้ดูภาพทั้งหมดกลุ่มละ 45 ภาพ เป็นภาพทดลอง 15 ภาพ และภาพทดสอบ 30 ภาพ นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบกลุ่มตัวอย่างประชากรมาทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หลังจากนั้นจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการสร้างมโนทัศน์ของกลุ่มตัวอย่างที่เสนอด้วยภาพสีที่ไม่เหมือนจริง แตกต่างกับกลุ่มตัวอย่างที่เสนอด้วยภาพสีที่เหมือนจริง และกลุ่มตัวอย่างที่เสนอด้วยภาพขาวดำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 .01 π (2,177) = 4.73 กลุ่มตัวอย่างที่เสนอด้วยภาพสีที่เหมือนจริงกับกลุ่มตัวอย่างที่เสนอด้วยภาพขาวดำ มีความสามารถในการสร้างมโนทัศน์ไม่แตกต่างกัน
Purpose of the study The purpose of this research was to study the effects of realistic color, non-realistic color and black and white pictures on concept formation for Prathom Suksa One pupils. Procedures The subjects were one hundred and eighty Prathom Suksa one students of Sai Nam Tip School in academic year of 1983. They were selected by random sampling. The first group was presented with realistic color pictures, the second group with non-realistic color pictures and the last group with black and white pictures. All three subject groups saw the same set of pictures. Each subject group saw only a certain format of color. The fifteen stimulus pictures were presented first, then followed by the thirty test pictures. The subjects were asked to check whether the pictures were represented the concept being presented. Results The results of the study showed that the concept learning ability of the subjects with the non-realistic color pictures was significantly different to the concept learning ability of subjects presented with the realistic color pictures and black and white pictures at the .01 level of confidence. There were no significant differences in the concept learning ability between the subjects presented with the realistic color pictures and black and white pictures.


SUBJECT

  1. จิตวิทยาการเรียนรู้
  2. สื่อการสอน
  3. โสตทัศนวัสดุ