Authorทิพย์วัลย์ เรืองขจร
Titleปัญหาการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 วิชาพลศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลในเขตการศึกษา 3 / ทิพย์วัลย์ เรืองขจร = Problems in implementing lower secondary school curriculum 2521 B.E. : physical education of the governmental schools in educational region 3 / Tipawan Ruangkajorn
Imprint 2524
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18506
Descript [15], 154 แผ่น

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 วิชาพลศึกษา ของโรงเรียนรัฐบาลในเขตการศึกษา 3 โดยใช้แบบสอบถามกับครูพลศึกษาที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนรัฐบาลในเขตการศึกษา 3 จำนวน 143 คน โดยแบ่งเป็นครูพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมระดับจังหวัดจำนวน 69 คน และระดับอำเภอจำนวน 74 คน ได้รับแบบสอบถามคืนจากครูพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมระดับจังหวัดร้อยละ 96 และ ระดับอำเภอร้อยละ 97 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบปัญหาระหว่างครูพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมระดับจังหวัดกับครูพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมระดับอำเภอโดยการทดสอบค่าซี ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมระดับจังหวัดมีปัญหาในการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นวิชาพลศึกษาด้านต่างๆ มากในด้านต่อไปนี้ การสอนให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นวิชาพลศึกษา การสอนให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ของวิชาตะกร้อ 1 และวิชาตะกร้อ 2 สำหรับครูพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมระดับอำเภอนั้น นอกจากจะมีปัญหามากในด้านการสอนให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นวิชาพลศึกษาแล้ว ยังมีปัญหามากในด้านการสอนให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ของวิชายืดหยุ่น 2 อีกด้วย 2. ครูพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมระดับจังหวัดและระดับอำเภอมีปัญหาในการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นวิชาพลศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านต่างๆดังนี้ คือ การสอนให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ของวิชากรีฑา 1 วิชากรีฑา 2 วิชากระบี่ 1 วิชาบาสเกตบอล 1 และวิชาตะกร้อ 1
The purpose of this study was to investigate the problems in implementing lower secondary school curriculum 2521 B.E. : physical education of the governmental schools in educational region 3. Questionnaires were sent to 69 physical education instructors in the provincial area, and 74 in the amphur area, 96 and 97 percents of questionnaires were returned, respectively. The obtained data were analyzed in terms of percentages, means, and standard deviations. A z-test was employed to determine the significant difference. It was found that: 1. The problems most encountered by implementing the lower secondary school : physical education curriculum in the provincial area were concerning the difficulties in teaching and conducting physical education according to the stated objectives and also the problems concerning teaching course of takraw 1 and 2. However, problems most encountered by physical education instructors in the amphur area, in addition to having difficulties in teaching and conducting the physical education according to the stated objectives, they also had problems in the teaching course of stunt and tumbling 1 and 2. 2. There was a significant difference at the .05 level between the opinions of the physical education in structors in the provincial and the amphur area on problems of implementing the lower secondary school: physical education curriculum in the area of the teaching and conducting physical education according to the stated objectives in the course of track and field 1 and 2, krabi 1, basketball 1, and takraw 1.


SUBJECT

  1. พลศึกษา -- หลักสูตร