Authorทัศนีย์ เดชะตุงคะ
Titleการสร้างชุดการสอนเรื่องเรื่อง "ไกรทอง" สำหรับห้องเรียนแบบศูนย์การเรียนชั้นประถมปีที่ห้า / ทัศนีย์ เดชะตุงคะ = Construction of instructional packages on "Kraitong" for prathom suksa five, learning center classroom / Tassanee Thejatungka
Imprint 2521
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18844
Descript ก-ฎ, 182 แผ่น

SUMMARY

ความมุ่งหมาย เพื่อสร้างชุดการสอนเรื่อง “ไกรทอง” สำหรับห้องเรียนแบบศูนย์การเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า และเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการสอนที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ การดำเนินการวิจัย นำเนื้อหาเรื่อง “ไกรทอง” ตอนพิฆาตจระเข้ มาสร้างเป็นชุดการสอนตามระบบการผลิตชุดการสอนแผนจุฬา จำนวน๒ ชุด โดยใช้สื่อการสอนในรูปสื่อประสมและนำชุดการสอนทั้ง ๒ ชุดไปทดลองหาประสิทธิภาพกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนคลองหนองใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยมีขั้นการทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ขั้นการทอลองแบบกลุ่มเล็ก และขั้นการทดลองภาคสนามกับนักเรียน ๔๐ คน ในการทดลองผู้วิจัยให้นักเรียนทำแบบสอบถามก่อนเรียน ทำแบบฝึกหัดประจำศูนย์กิจกรรม และแบบสอบหลังเรียน หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ และทดสอบหาความแตกต่างของผลการสอบก่อนและหลังเรียนโดยใช้ค่าที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญ.๐๑ ผลการวิจัย ชุดการสอนที่สร้างขึ้นทั้ง ๒ ชุด มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือมีประสิทธิภาพ ๘๒.๐๖/๘๑.๐๐ และ ๘๑.๑๘/๘๑.๓๓ ตามลำดับ ผลการสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .๐๑ แสดงว่าการเรียนด้วยชุดการสอนช่วยให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น
Purposes : The purposes of this study were two folds : to construct two Learning Center Classroom Instructional Packages on “ Kraitong” for Prathom Suksa Five, and to determine the efficiency of the packages based on 80/80 criterion. Procedures : The content of “ Kraitong” on the episode of “Killing” the Crocodile” was picked out to construct two instructional packages using Chulalongkorn University Plan which consist of various types of multi-media. In order to find the efficiency of these packages, the experiment was try-out with prathom Suksa Four students of Clong Nong Yai school, Bangkok, on one-to-one testing, small group testing and field testing with 40 students respectively. The students were given pre-test and post-test before and after studying the packages including excercises. The data was computed to determine the efficiency of each package based on 80/80 criterion and to find the significant difference of the pre-test and post-test scores at the .01 level using t-test. Results : The result of this study indicated that the two packages were efficient at 82.06/81.00 and 81.18/81.33 respectively. The pre-test and post-test scores yielding a significant difference at the .01 level, indicated that the students knowledge was increased by these two packages.


SUBJECT

  1. ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน