Authorสุรพงษ์ โสธนะเสถียร
Titleรามเกียรติ์ : การแปลความหมายทางการเมือง / สุรพงษ์ โสธนะเสถียร = Ramkien : a political interpretation / Surapongse Satansathien
Imprint 2526
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25832
Descript ก-ฒ, 548 แผ่น : แผนภูมิ

SUMMARY

วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้ก็เพื่อศึกษาความหมายของรามเกียรติ์ในทางการเมือง โดยวิธีการตีความหรือแปลความทางการเมืองถึงสาระและพฤติกรรมของตัวละครภายในรามเกียรติ์ฉบับพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 เอง, โดยการเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในทางประวัติศาสตร์, โดยการเปรียบเทียบกับฉบับวาลมิกิ และสำนวนท้องถิ่นของไทยทุกภาค, และโดยการเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ผลจากการวิจัยปรากฏว่า เนื้อหาของรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 นั้น มีความแนบแน่นกับรัฐศาสตร์ในฐานะที่เป็นทฤษฎี (ปรัชญา), การปฏิบัติ, และในฐานะสื่อทางการเมือง ในฐานะที่เป็นทฤษฎีพบว่า รามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 แฝงด้วยสังกัปทางการเมืองที่สามารถแสดงถึงความคาดหวัง และใช้อธิบายสังคมทางการเมืองเยี่ยงปรัชญาการเมืองทั่วไป ไม่ว่าในด้านพื้นฐานทางสังคมวิทยาทางการเมืองที่เกี่ยวกับชนชั้น ครอบครัวและความเชื่อ ในด้านการเมืองและการบริหารที่เน้นโครงสร้างและหน้าที่ของรัฐ และในด้านปรัชญาจำแนกให้เห็นถึงอิทธิพลของชนชั้นนำโดยเฉพาะราชาที่เหนือชนชั้นอื่นอย่างเด็ดขาด ทั้งในแง่ของสถานภาพและระบบความสัมพันธ์ ในฐานะที่เป็นการปฏิบัติพบว่า รามเกียรติ์ผูกพันกับวรรณคดี เนื่องจากรวบรวมความคิดจากวรรณคดีเล่มอื่น ในยุคสมัยพระองค์ การชำระวรรณคดีจึงสร้างความชอบธรรมต่อการปกครองได้เช่นเดียวกับการชำระพงศาวดาร และโดยเฉพาะหลักปฏิบัติทางการเมืองในรามเกียรติ์สอดคล้องกับปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เป็นจริงในสังคม โดยสามารถเชื่อมโยงภารกิจในสมัยพระองค์ที่เกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อขึ้นครองราชย์ และหลังครองราชย์แล้ว ในฐานะที่เป็นสื่อการเมือง รามเกียรติ์เป็นคู่มือที่เป็นเครื่องมือให้แก่พระองค์รวมทั้งเป็นการถ่ายทอดความคิดให้กับสังคม รามเกียรติ์จึงอาจใช้เพื่อกล่อมเกลาสังคมทางการเมืองได้ ทั้งนี้เพราะมีความบิดเบนในสาระของรามเกียรติ์ฉบับพระองค์ เมื่อเทียบกับฉบับวาลมิกิและสำนวนท้องถิ่นไทย ผลของกระบวนการกล่อมเกลาสังคมการเมืองดังกล่าวอาจสะท้อนให้เห็น แม้จะเป็นสมัยปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะพบความสัมพันธ์ระหว่างสาระในรามเกียรติ์กับเหตุการณ์ปัจจุบัน ในเชิงสหสัมพันธ์ทางคุณภาพ มากกว่าในเชิงเหตุผล
The major purposes of this dissertation were to investigate the status of Ramkien and identify its political aspects and meanings. The conventional method was used in doing this research by means of political interpretation of the contexts and the behavior of the actors within the Ramkien as composed under the patronage of King Rama I per se; comparing with the Thai historical events, with the Valmiki and local Thai Ramkien versions, and with the latter day events. The results of the analysis of the Ramkien King Rama I’s version, indicated that its contents had a significant relationship to political science in the aspects of theory (philosophy) , practice, and the political vehicle. It was found that Ramkien, according to theory, was latent with political concepts which projected expectancies and described politics and society as other political and social philosophies did. It not only was connected in the political sociological bases to social class, family and belief, or even to the political and executive systems, stressing the structure and function of the state but also to the political philosophy expressed, absolutely, in the elite influence over others by the facets of the stratification and relationship system. In practice, the study isolated the collective idea in Ramkien from other contemporary literatures. The literary revision, thus, created the legitimacy to rule in the same way as the chronological revision. Moreover, the political pragmatic principles of Ramkien were congruent with real political phenomena in Thai society, especially during King Rama I’s period, in the preparation for ascendency to the throne and after being on the throne. As the political vehicle, the findings obtained from Ramkien the instrumental manual for King Rama I to transmit the guidelines by political socialization. Consequently, it appeared that the distortion of its contents in the version of King Rama I, constrasts with Valmiki and Thai local Ramkien rituals. Such results are still reflected even now because of the qualitative findings which are correlated, rather than having a causal relationship between the Ramkien contents and the present events.


SUBJECT

  1. วรรณคดีไทย -- แง่การเมือง
  2. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต

LOCATIONCALL#STATUS
Political Science Library : Thesisวด 2 CHECK SHELVES