Authorสฤทธิ์เดช พัฒนเศรษฐพงษ์
Titleรายงานวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพเรือขุดแร่ดีบุก ในโครงการศึกษาประสิทธิภาพการทำเหมืองแร่ในทะเล / สฤทธิ์เดช พัฒนเศราฐพงษ์, ขวัญชัย ลีเผ่าพันธุ์, ภิญโญ มีชำนะ
Imprint [ม.ป.ท.] : สภาการเหมืองแร่, 2532
Edition พิมพ์ครั้งที่ 1
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2277
Descript 154 หน้า : ภาพประกอบ, แผนที่, แผนภูมิ ; 26 ซม

SUMMARY

ข้อมูลจากการทำงานของเรือขุดแร่ดีบุกนอกชายฝั่งทะเลในเขตท้องที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดพังงา ได้ถูกรวบรวมศึกษาและวิเคราะห์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเรือขุดแร่แบบต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางในการออกแบบเรือขุดแร่ดีบุกที่เหมาะสมกับสภาพการทำงานภายในประเทศ จากการศึกษาพบว่า เรือขุดแร่แบบ Bucket Dredge ใช้จำนวนแรงม้าของเครื่องยนต์ติดตั้งบนเรือขุดน้อยกว่าแบบของเรือขุดแบบ Suction Cutter ถึง 3 เท่า และขนาดของลำตัวเรือขุดมีส่วนสัมพันธ์กับขนาดของเรือขุดแร่แบบต่าง ๆ เห็นได้ชัดเจน นอกจากนั้น พื้นที่ผิวจิ๊กต่ออัตราแร่ป้อน (ตารางเมตร/ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง) พบว่า เป็นแนวทางที่ใช้ในการพิจารณาจำนวนจิ๊กชุดที่ 1 บนเรือขุดได้ การทำงานของเรือขุดนั้น ส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพรวมเพียง 70% ของที่ออกแบบว้า และเรือขุดแร่แบบบักเก็ตจะขุดดินทรายได้ 80-160 ลูกบาศก์เมตร/แรงม้า/เดือน และเรือขุดดัดแปลง (Modified Suction Cutter Dredge) ขุดดินทรายได้ 55-70 ลูกบาศก์เมตร/แรงม้า/เดือน และเรือดัน (Suction Boat) ขุดดินทรายได้ 7-15 ลูกบาศก์เมตร/แรงม้า/เดือน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของเรือขุดเฉลี่ยประมาณ 15-27 บาท/ลูกบาศก์เมตร โดยที่เรือขุดดัดแปลงมีค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 10-16 บาท/ลูกบาศก์เมตร เรือดันมีค่าใช้จ่ายประมาณ 22-30 บาท/ลูกบาศก์เมตร ในรายงานได้มีการพิจารณาแนวทางการออกแบบเรือขุดแร่ดีบุกในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ขนาดของลำตัวเรือขุด ระบบเครื่องยนต์ต้นกำลัง การวางเครื่องจักร การเลือกประเภทของเรือขุดแร่ อุปกรณ์ควบคุมการขุดแร่ ระบบการลดแรงกระแทกและการแต่งแร่บนเรือขุด


SUBJECT

  1. เรือขุด
  2. เหมืองแร่ในทะเล -- ไทย
  3. ดีบุก

LOCATIONCALL#STATUS
Engineering Library : StackTC188 ส363 CHECK SHELVES