Authorศมกมล ลิมปิชัย
Titleบทบาทของระบบธุรกิจเทปเพลงไทยสากลต่อการสร้างสรรค์ผลงานเพลง / ศมกมล ลิมปิชัย = The impact of the tape cassette business on creativity of Thai popular songs / Samakamon Limpichai
Imprint 2532
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45335
Descript ก-ฎ, 247 แผ่น

SUMMARY

ธุรกิจเทปเพลงไทยสากลเป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในช่วงระยะ 10 ปีที่ผ่านมา การดำเนินธุรกิจดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการสร้างสรรค์ผลงานเพลงของศิลปินเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้ว่าศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานเพลงในปัจจุบันซึ่งตกอยู่ภายใต้วัฎจักรของระบบธุรกิจนั้นไม่มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการสร้างสรรค์งานและเป็นผลให้เพลงที่ออกมานั้นไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรเพราะมีลักษณะเป็น “ธุรกิจสินค้า” มากกว่า “ธุรกิจศิลป์” การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายจะศึกษาถึงประวัติความเป็นมา วิวัฒนาการและสภาพการดำเนินธุรกิจเทปเพลงไทยสากลในปัจจุบัน ตลอดจนลักษณะการสร้างสรรค์ผลงานเพลงของศิลปิน ทั้งนี้โดยมีสมมติฐาน 2 ข้อ คือ หนึ่ง “การแข่งขันกันในการดำเนินธุรกิจเทปเพลงไทยสากลเป็นผลให้การสร้างสรรค์ผลงานเพลงของศิลปินมุ่งหวังผลทางด้านการตลาดมากกว่าคำนึงถึงคุณค่าของานศิลปะ” สอง “ลักษณะที่เป็นธุรกิจของเทปเพลงไทยสากลมีส่วนทำให้การสร้างสรรค์ผลงานเพลงที่ออกมามีลักษณะซ้ำซากและลอกเลียนแบบกันเป็นส่วนใหญ่”
ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยอาศัยแบบสอบถามเพื่อสำรวจความคิดเห็นของศิลปินเกี่ยวกับลักษณะของการสร้างสรรค์ผลงานเพลง ผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์ผลงานเพลงของศิลปินนั้นจำต้องเป็นไปตามแนวทางที่ผู้ผลิตวางไว้และตามทิศทางของตลาด ทั้งนี้เป็นเพราะธุรกิจเทปเพลงไทยสากลที่ได้เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนศิลปินให้มีความพร้อมในการสร้างสรรค์งานมากขึ้น แต่ทว่าขณะเดียวกันก็เป็นการบั่นทอนจินตนาการของศิลปินที่ไม่อาจสร้างงานตามความต้องการของตนได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าศิลปินมุ่งสร้างงานออกมาขายเพื่อความอยู่รอดและผลประโยชน์ที่จะได้รับมากกว่าสร้างงานตามครรลองแห่งศิลปะ ด้วยเหตุนี้สมมติฐานที่ 1 จึงเป็นจริงด้วยเหตุผลที่กล่าวมา นอกจากนั้น จะสังเกตเห็นว่าจากการที่ศิลปินพยายามสร้างสรรค์ผลงานที่คาดว่าจะได้รับความนิยมและขายได้นั้นทำให้ศิลปินต้องคอยสังเกตดูว่าในขณะนั้นผู้ฟังนิยมฟังเพลงแนวใดเพื่อที่จะได้สร้างงานในลักษณะเดียวกัน ฉะนั้นทำให้เทปเพลงที่ออกมาจำนวนมากมีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ดังนั้นสมมติฐานที่ 2 จึงเป็นจริง ในการปรับปรุงระบบธุรกิจเทปเพลงไทยสากลควรอย่างยิ่งที่ทั้งผู้ผลิต ศิลปินและผู้ฟังจะต้องร่วมมือกันกล่าวคือ ผู้ผลิตนั้นจะต้องมีความรับผิดชอบในการผลิตผลงานด้วยการส่งเสริมศิลปินให้มีโอกาสพัฒนาฝีมือและความสามารถ ศิลปินควรตระหนักถึงหน้าที่ของตนในการสร้างงานที่เป็น “ศิลปะ” ไม่ใช่ “สินค้า” และ ผู้ฟังควรจะมีวิจารณญาณในการฟังเพลงที่มีคุณค่าทางสุนทรียภาพ
Thai popular song cassette business has played an important role during the past decade. This business has had an enormous impact on the creativity of song artists. As these artists are confined within the circle of commercial system, a number of their songs lack standard and quality. Their works have become more like “commercial products” rather than “artistic products.” This thesis is aimed to study the history, development, and the present situation of the Thai popular song tape cassette business as well as the ways and means of the artists’ creativity. The hypothesis proposes that: firstly, the competition has resulted in artists aiming to gain profit from the market rather than giving attention to the qualitative value of songs; secondly, commercialism has caused most songs to become monotonous and imitative. In this thesis, the researcher collected materials and data from questionnaires in order to accumulate different views of artists concerning the creativity of their songs and the present situation in tape cassette business circle. The outcome of the research indicates that the production of songs rely on the concept which has been set by producers and due to the direction of the market. The circumstances which have affected the artists and their imagination stem from the fact that the business system of Thai popular song tape cassette demands artists to be constantly ready to create work. Moreover, many artists are encouraged to create in order to survive and profit instead of pursuing the ethics of art. Therefore, the first hypothesis is proven correct. Because artists attempt to create song s which are expected to be widely accepted, they have to observe the kind of popular songs which appeal to the audience so that they could follow the trend. As the result, most Thai popular song tape cassettes have little difference from one another, hereby, proving the second hypothesis to be true. In order to improve the Thai popular song tape cassette business system, producers, artists, and audience should all co-operate according to the following: the producers must take responsibility by encouraging artists to improve their skill and virtuosity; the artists should be aware of their role in creating “art” not “commodity”; the audience should have value judgement in what kind of songs they consume.


SUBJECT

  1. เพลง
  2. ธุรกิจเทปเพลง
  3. เพลงไทยสากล
  4. แบบจำลองของเดอเฟลอร์
  5. เทปคาสเซ็ต

LOCATIONCALL#STATUS
Communication Arts Library : Thesis124 (CD) LIB USE ONLY