Authorอุกฤษฏ์ ปัทมานันท์, ผู้แต่ง
Titleสหรัฐอเมริกากับนโยบายเศรษฐกิจไทย : 1960-1970 / อุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ = The United States of America and Thai Economic Policy (1960-1970) / Ukrist Pathmanand
Imprint 2526
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73835
Descript [13], 234 แผ่น

SUMMARY

จากการศึกษาสหรัฐอเมริกากับนโยบายเศรษฐกิจไทย (1960-1970) นี้ จะเห็นได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์โลก ในประเด็นความขัดแย้งระหว่าง อุดมการเสรีประชาธิปไตยและลัทธิคอมมิวนิสต์ ได้เกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างสอง อภิมหาอำนาจ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต และเนื่องด้วยกับคอมมิวนิสต์ได้ขยายตัวจากดินแดนในทวีปยุโรป มาสู่บริเวณ ตอนริมของทวีปเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติในจีน ภายใต้การนำของเหมา เชตุง ใน ปี 1949, สงครามเกาหลี 1950 สหรัฐอเมริกาได้ปรับนโยบายของตนจากนโยบาย โดดเดี่ยวตัวเอง (Isolationism) ก้าวเข้ามายุ่งเกี่ยวกับเวทีการเมืองระหว่างประเทศมากขึ้น ในแง่ของการต่อต้านคอมมิวนิสต์ และด้วยผลของการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์โลก ดังกล่าว สหรัฐอเมริกา ได้เข้ามามีบทบาทในนโยบายทางเศรษฐกิจไทยด้วย เพื่อตอบสนองนโยบายต่อต้าน คอมมิวนิสต์และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย การเข้ามามีบทบาทนี้ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในรัฐบาลชุดจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมา ทั้งในแง่บทบาททางความคิดของผู้นำระดับสูง, นโยบาย ระดับชาติ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรก) , กระบวนงานปฏิบัติงานทางเศรษฐกิจระดับชาติ คือ สภาพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรก, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักงบประมาณ การเข้ามามีบทบาทอย่างมากของสหรัฐในนโยบายเศรษฐกิจไทยนี้ เป็น เหตุผลของการเมืองภายในด้วย เนื่องจากกลุ่มผู้นำประเทศ ภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นำเอานโยบายนี้มาใช้เพื่อ การได้รับการยอมรับจากประชาชน และการสะสมความมั่งคั่งของคน อีกทั้งเพื่อทำลายฐานอำนาจของกลุ่มราชครู ซึ่งเป็นศัตรูทางการเมืองด้วย
The study of "the United States of America and the New Economic Policy (1960-1970)" shows us the conflicts between democratic and communist blocs which cause the confrontation between two super powers: the United States of America and the Soviet Union Communism penetrated into Europe and then expanded to the fringe of Asia. The consequences of this expansion were the Chinese revolution under the leadership of Mao Tse Tung in 1949, Korian War in 1950 and so on. Hence, the United States tried to conform its foreign policy to be more concerned about international issues instead of the former isolationism. This new policy concentrated in anti-communism activities. Because of the changes of the international situation the United States was pushed to play an important role in Thai policy-making procedures such as economic policy and political policy. Therefore, the Thai economic policy turned to response to the United States anti-communism activities as well as the United States economic interest. The domination of the United States on the Thai government was fully seen during the government of Sarit Thanarat. The domination was projected in the leader's ideology, national policy (First National Economic Plan), national economic planing unit (the National Economic and Social Development Board), the Board of Investment and the Budget Bureau. The effort to play domestic politic efficiently was one of the reasons that Sarit let the United States intervene in the Thai economic. From American support Sarit did not have only economic but also political power so that he could crush his political opponents, Rajakru clique, and also he was very well recognized by the people under his martial law and absolute regime.


SUBJECT

  1. ความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา -- ไทย
  2. ไทย -- นโยบายเศรษฐกิจ
  3. ไทย -- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ -- สหรัฐอเมริกา
  4. สหรัฐอเมริกา -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ไทย
  5. Thailand -- Economic policy
  6. Thailand -- Foreign economic relations -- United States
  7. United States -- Foreign economic relations -- Thailand
  8. politics
  9. politics
  10. economics

LOCATIONCALL#STATUS
Thailand and ASEAN Information Center (6th Floor) : Thesis[TAIC] 39079 CHECK SHELVES
Political Science Library : Thesisวค 42 LIB USE ONLY