Authorบุญเรือง เนียมหอม, ผู้แต่ง
Titleการวิเคราะห์เนื้อหาหนังสือภาษาไทยเกี่ยวกับการเมืองที่จัดพิมพ์ขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2516 ถึงวันที่ 26 มกราคม 2518 / บุญเรือง เนียมหอม = A content analysis of Thai books on politics published from October 14, 1973 to January 26, 1975 / Boonruang Niamhom
Imprint 2519
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72513
Descript ก-ฏ, 272 แผ่น

SUMMARY

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาของหนังสือภาษาไทยเกี่ยวกับการเมืองที่จัดพิมพ์ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ถึงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 จำนวน 94 เล่มเพื่อศึกษาแนวโน้มของความคิดเห็นทางด้านการเมืองหลังวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งออกมาในรูปหนังสือ วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีอ่านหนังสือที่เป็นตัวอย่างประชากรจำนวน 94 เล่มโดยแยกหนังสือออกตามประเภทผู้จัดพิมพ์และผู้แต่งรวม 6 กลุ่มด้วยกันการอ่านหนังสือเพื่อสำรวจและวิเคราะห์เนื้อหาตามตารางวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาทางด้านลัทธิการเมือง 4 ลัทธิและหัวข้อเนื้อหาทางการเมือง 41 ข้อคือลัทธิประชาธิปไตยประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาทางการเมือง 11 ข้อ ลัทธิฟาสซิสม์ประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาทางการเมือง 9 ข้อ ลัทธิสังคมนิยมประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาทางการเมือง 6 ข้อและลัทธิคอมมิวนิสม์ประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาทางการเมือง 15 ข้อ การวิเคราะห์เนื้อหาใช้วิธีขีดรอยคะแนนลงในตารางวิเคราะห์รวมรอยคะแนนเป็นความถี่แล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าความถี่เฉลี่ยและหาค่าร้อยละของจำนวนหนังสือที่บรรจุเนื้อหาแต่ละเรื่อง สรุปผลการวิจัย 1. เมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มของความคิดเห็นทางด้านการเมืองของหนังสือซึ่งแบ่งตามประเภทผู้จัดพิมพ์พบว่าหนังสือกลุ่มที่จัดพิมพ์โดยนิสิตนักศึกษาทั้งหมด 39 เล่มมีหนังสือ 2 กลุ่มที่เป็นหนังสือแปลและผู้แต่งไม่ใช่นักวิชาการรวม 29 เล่มคิดเป็นร้อยละ 74.36 เน้นเนื้อหาทางการเมืองลัทธิคอมมิวนิสม์ส่วนหนังสืออีกกลุ่มที่ผู้แต่งเป็นนักวิชาการจำนวน 10 เล่มหรือร้อยละ 25.64 เน้นเนื้อหาทางการเมืองลัทธิประชาธิปไตยสำหรับหนังสือที่ผู้จัดพิมพ์ไม่ใช่นิสิตนักศึกษาทั้งหมด 55 เล่มมีหนังสือกลุ่มหนึ่งที่ผู้แต่งเป็นนักวิชาการจำนวน 31 เล่มคิดเป็นร้อยละ 56.37 เน้นเนื้อหาทางการเมืองลัทธิประชาธิปไตยและอีก 24 เล่มหรือร้อยละ 43.63 ที่เป็นหนังสือแปลและผู้แต่งไม่ใช่นักวิชาการเน้นเนื้อหาทางการเมืองลัทธิคอมมิวนิสม์ 2. จากหนังสือกลุ่มที่ผู้จัดพิมพ์เป็นนิสิตนักศึกษาจำนวน 39 เล่มมีหนังสือที่ผู้แต่งเป็นนักวิชาการจำนวน 10 เล่มเน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องอำนาจการปกครองของรัฐเกิดขึ้นจากการยินยอมของประชาชน ความถี่เฉลี่ย 11.4 รองลงมาคือเรื่องหลักเสรีภาพและหลักความเสมอภาค ความถี่เฉลี่ย 10.2 และ 6.9 ตามลำดับหนังสือที่ผู้แต่งไม่ใช่นักวิชาการจำนวน 17 เล่ม เน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องทฤษฎีจักรวรรดินิยม ความถี่เฉลี่ย 4.71 รองลงมาคือเรื่องทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุงและทฤษฎีการต่อสู้ระหว่างชนชั้นความถี่เฉลี่ย 4.41 และ 4.05 ตามลำดับส่วนหนังสือแปลจำนวน 12 เล่มเน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุงความถี่เฉลี่ย 8.67 รองลงมาคือเรื่องทฤษฎีจักรวรรดินิยมและทฤษฎีการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ความถี่เฉลี่ย 5.87และ4.67 ตามลำดับ
3. จากหนังสือกลุ่มที่ผู้จัดพิมพ์ไม่ใช่นิสิตนักศึกษาทั้งหมด 55 เล่มมีหนังสือจำนวน 31 เล่มที่ผู้แต่งเป็นนักวิชาการเน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องหลักเสรีภาพมากที่สุดความถี่เฉลี่ย 8.42 รองลงมาคือเรื่องอำนาจการปกครองของรัฐเกิดขึ้นจากการยินยอมของประชาชนและหลักความเสมอภาค ความถี่เฉลี่ย 5.29 และ 3.61 ตามลำดับ หนังสือที่ผู้แต่งไม่ใช่นักวิชาการจำนวน 19 เล่มเน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องทฤษฎีจักรวรรดินิยม ความถี่เฉลี่ย 3.89 รองลงมาคือหลักการแห่งระบอบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง ความถี่เฉลี่ย 3.47และ 2.67 ตามลำดับส่วนหนังสือแปลจำนวน 5 เล่มเน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องการปฏิบัติของ วี.ไอ.เลนิน ความถี่เฉลี่ย 6.0 รองลงมาคือเรื่องรัฐและการสูญสิ้นไปของรัฐและทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง ความถี่เฉลี่ย 5.8 และ 5.0 ตามลำดับ 4. เมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มของความคิดเห็นของหนังสือซึ่งแบ่งออกตามประเภทของผู้แต่งพบว่าหนังสือที่ผู้แต่งเป็นนักวิชาการมีเนื้อหาเกี่ยวกับลัทธิประชาธิปไตยมากที่สุดหนังสือที่ผู้แต่งไม่ใช่นักวิชาการมีเนื้อหาเกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสม์มากที่สุดและหนังสือแปลมีเนื้อหาเกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสม์มากที่สุด 5. เมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มของความคิดเห็นจากลักษณะเนื้อหาและจุดประสงค์ของหนังสือทั้งหมด 94 เล่มพบว่าหนังสือจำนวน 41 เล่มคิดเป็นร้อยละ 43.62 มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสม์และวิเคราะห์วิจารณ์ระบบสังคมตามแนวปรัชญาของคาร์ล มาร์กซ์ หนังสือจำนวน 27 เล่มหรือร้อยละ 28.72 มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ลัทธิประชาธิปไตยพร้อมกับวิเคราะห์ปัญหาการเมืองของไทยหนังสือจำนวน 14 เล่มหรือร้อยละ 14.89 มีเนื้อหาว่าด้วยลัทธิต่าง ๆ แสดงความคิดเห็นเป็นกลางหนังสือจำนวน 6 เล่มหรือร้อยละ 6.38 มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่สนับสนุนลัทธิสังคมนิยมและอีก 6 เล่มหรือร้อยละ 6.38 มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสม์
The major purpose of this study was to analyze the content of Thai books on politics published from October 14, 1973 to January 26, 1975. Methods and Procedures: The research was conducted by reading a group of ninety-four books divided according to the publishers and authors. A content analysis table was constructed which consisted of four main categories of political ideologies, namely, democracy, fascism, socialism and communism, and of forty-one sub-categories. The collected data were thereafter analyzed on mean and percentage basis. Conclusions: 1. Of thirty-nine books published by students, twenty-nine (73.36%) emphasized communism, and ten (25.64%) democracy. Of fifty-five books published by non-students, thirty-one (56.37%) emphasized democracy, and twenty-four (43.63%) communism. 2. Of thirty-nine books published by students, ten were written by scholars who concentrated on government by consent (mean=11.4), freedom (mean=10.2) and equality (mean=6.9). Seventeen books written by non-scholars emphasized imperialism (mean=4.71), Mao’s theory of revolution (mean=4.41) and the theory of class struggle (mean=4.05). Twelve translated books emphasized Mao’s theory of revolution (mean=8.67), imperialism (mean=5.87) and the theory of class struggle (mean=4.67). 3. Of fifty-five books published by non-students, thirty-one were written by scholars dealing with freedom (mean=8.42), government by consent (mean=5.29) and equality (mean=3.61). Nineteen books written by non-scholars emphasized imperialism (mean=3.89), common ownership (mean=3.47) and Mao’s theory of revolution (mean=2.67). Five translated books principally discussed Lenin’s theory of revolution (mean=6.0), the withering away of the state (mean=5.8) and Mao’s theory of revolution (mean=5.0). 4. A comparison of book content as categorized by types of authors showed that books written by scholars mostly discussed democracy, while those by non-scholars, as well as translated ones, mainly concentrated on communism. 5. Concerning writing styles and objectives, of the total of ninety-four books, forty-one (43.62%) aimed at publicizing communism, analyzing and discussing social systems from Marx’s theory of historical materialism. Twenty-seven books (28.72%) were written to publicize democracy as well as to analyze Thai political problems. Fourteen books (14.89%) objectively talked about different political theories. Six books (6.38%) were in favor of publicizing socialism whereas another six (6.38%) were anti-communist.


SUBJECT

  1. วรรณกรรมการเมืองไทย
  2. การเมืองในวรรณกรรม
  3. การวิเคราะห์เนื้อหา
  4. history
  5. politics

LOCATIONCALL#STATUS
Thailand and ASEAN Information Center (6th Floor) : Thesis[TAIC] 12096 CHECK SHELVES
Thailand and ASEAN Information Center (6th Floor) : Thesis[TAIC] 12096 CHECK SHELVES
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ CHECK SHELVES
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ LIB USE ONLY
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ CHECK SHELVES
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ CHECK SHELVES
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ LIB USE ONLY