Authorประยงศรี พัฒนกิจจำรูญ
Titleการศึกษาระบบจัดหมู่หนังสือที่ใช้ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย / ประยงศรี (โรจน์วณิช) พัฒนกิจจำรูญ = A study of library classification schemes used in academic libraries in Thailand / Prayongsri (Rodvanich) Pattanakitchamroon
Imprint 2519
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23927
Descript ก-ฒ, 277 แผ่น

SUMMARY

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ก็เพื่อศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของการจัดหมู่หนังสือที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ระบบจัดหมู่หนังสือที่ใช้อยู่ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยรวมทั้ง การปฏิบัติงาน ปัญหา และอุปสรรคของการใช้ระบบดังกล่าวของบรรณารักษ์ฝ่ายทำบัตรรายการและจัดหมู่หนังสือ แนวโน้มของการเปลี่ยน สาเหตุ ตลอดจนวิธีดำเนินการเปลี่ยนระบบจัดหมู่หนังสือจากระบบหนึ่งมาใช้อีกระบบหนึ่ง วิธีดำเนินการวิจัย ใช้การค้นคว้าจากหนังสือ วารสาร และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดหมู่หนังสือแต่ละระบบ รวมทั้งการดำเนินงานเปลี่ยนระบบจัดหมู่หนังสือในต่างประเทศ ส่งแบบสอบถามไปยังหัวหน้าบรรณารักษ์ หัวหน้าฝ่าย และบรรณารักษ์ฝ่ายทำบัตรรายการและจัดหมู่หนังสือของห้องสมุดมหาวิทยาลัย 12 แห่ง รวมทั้งสิ้น 94 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนรวม 80 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 85.11 รวมทั้งได้สัมภาษณ์ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนระบบจัดหมู่หนังสือ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ได้ดำเนินการเปลี่ยนระบบจัดหมู่หนังสือเสร็จสิ้นไปแล้ว และที่กำลังดำเนินการอยู่ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 12 แห่ง มี 7 แห่ง ที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน 4 แห่ง จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมของดิวอี้ และอีก 1 แห่ง จัดหมู่หนังสือด้วยระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวน 5 ใน 7 แห่ง ที่ใช้ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันได้เปลี่ยนมาจากระบบจัดหมู่หนังสือที่ห้องสมุดใช้อยู่เดิม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระบทศนิยมของดิวอี้ นอกจากนี้ห้องสมุด 1 ใน 4 แห่ง ที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมของดิวอี้ในปัจจุบันมีโครงการจะเปลี่ยนไปใช้ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันในอนาคต การดำเนินงานเปลี่ยนระบบจัดหมู่หนังสือของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทยทั้ง 5 แห่ง เป็นวิธีการเปลี่ยนระบบจัดหมู่หนังสือเพียงบางส่วน บรรณารักษ์ฝ่ายทำบัตรรายการ และจัดหมู่หนังสือ ดำเนินการเปลี่ยนระบบจัดหมู่หนังสือเก่าพร้อมกันไปกับการทำบัตรรายการหนังสือใหม่ ส่วนใหญ่ไม่พิมพ์บัตรรายการหนังสือใหม่ แต่ใช้วิธีการเปลี่ยนสัญลักษณ์ของหนังสือในบัตรรายการให้เป็นระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน มีห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวน 2 แห่งที่ได้ดำเนินการเปลี่ยนระบบจัดหมู่หนังสือเสร็จสิ้นไปแล้ว ส่วนห้องสมุดอีก 3 แห่งกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการเปลี่ยน
ปัญหาที่สำคัญของบรรณารักษ์ฝ่ายทำบัตรรายการและจัดหมู่หนังสือคือ ความบกพร่องของบรรณารักษ์ในกรณีที่ขาดความรู้พื้นฐานบางสาขาที่ต้องทำหน้าที่จัดหมู่หนังสือ และขาดความเข้าใจเรื่องระบบจัดหมู่หนังสือที่ใช้อยู่ในห้องสมุดดีเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ซึ่งไม่มีคำอธิบายวิธีใช้ประกอบแต่อย่างใด ปัญหาที่สำคัญของฝ่ายทำบัตรรายการและจัดหมู่หนังสือของห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ได้แก่ การไม่มีหนังสือคู่มือที่ใช้ประกอบการให้เลขหมู่หนังสือภาษาไทย กับหนังสือหัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทยมีน้อย และล้าสมัย ส่วนปัญหารองลงมาได้แก่บุคลากรไม่เพียงพอ และสถานที่ทำงานคับแคบ ข้อเสนอแนะ 1. สถาบันที่ผลิตบรรณารักษ์ควรปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการสอนวิชาการจัดหมู่หนังสือ ในระดับปริญญาตรี เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดความเข้าใจในระบบจัดหมู่หนังสือและกรขาดความรู้พื้นฐานในบางสาขาวิชาที่จะต้องทำหน้าที่จัดหมู่หนังสือ 2. บรรณารักษ์ฝ่ายทำบัตรรายการและจัดหมู่หนังสือของห้องสมุดมหาวิทยาลัยและหอสมุดแห่งชาติ ควรจะได้ร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อจัดทำหนังสือคู่มือเพื่อใช้ประกอบการให้เลขหมู่หนังสือไทย อีกทั้งสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ควรจะได้สนับสนุนบรรณารักษ์ของห้องสมุดประเภทต่าง ๆ ร่วมมือกันจัดทำหนังสือหัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทยขึ้นใหม่อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้ทัดเทียมกับหนังสือดังกล่าวที่เป็นภาษาต่างประเทศ 3. ข้อมูลจากการวิจัย ตลอดจนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในครั้งนี้จะใช้เป็นแนวทางสำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้ร่วมกันพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดหมู่หนังสือของบรรณารักษ์ฝ่ายทำบัตรรายการและจัดหมู่หนังสือให้ลดน้อยลง และช่วยให้การดำเนินงานของฝ่ายทำบัตรรายการและจัดหมู่หนังสือมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
The objectives of this thesis were to study the history and development of library classification from the ancient time up to the present time, the library classification schemes used in the academic libraries in Thailand including the performance of catalogers and classifiers and their problems and obstacles in using the schemes as well as the trends, causes and methods of transferring the classification from one scheme to another. The research methods used in this thesis are documentary research through books, periodicals and other printed materials concerning the history and development of each library classification scheme as well as the methods of reclassification in foreign countries; the distribution of 94 questionnaires to head librarians, heads of the cataloging and classification departments and catalogers and classifiers of 12 academic libraries, of which 80 (85.11%) were answered and returned; and the interviews with the people whose responsibility involves the reclassification of certain academic libraries. Research results conclude as follows : There are 12 academic libraries in Thailand; seven use the Library of Congress Classification, four use the Dewey Decimal Classification, and the other one uses the National Library of Medicine Classification. Five out of seven libraries which presently use the Library of Congress Classification have been reclassified from their previous classification schemes, most of which are of the Dewey Decimal Classification. One out of four which use the Dewey Decimal Classification in planning to change to the library of Congress Classification in the future. The type of reclassification of the five academic libraries was of the partial reclassification. The catalogers and classifiers classification of new books. Almost all of them did not reproduce new catalog cards. They merely changed the call number of each card into that of the Library of Congress Classification. Two Libraries have already completed their projects, and the other three are on the process of reclassifying. The major problem encountered by most of the catalogers and classifiers is the incompetence in their work. That is to say, they often lack the basic knowledge in the subject fields as well as the thorough understanding of the classification scheme used in their libraries, especially that of the Library of Congress Classification which has no explanatory notes attached. The main problems faced by the cataloging and classification departments are the lack of a catalog for searching classification numbers for Thai books and the fact that the Thai Subject Heading Handbooks available are very few and out-of-date. Other problems include the shortage of staff and the inadequacy of office area. The main recommendations are as follows: 1. The Library Schools in Thailand should accord some improvements in the curriculum and the teaching methods of the library classification course in the Bachelor’s Program in order to help solve the problems of inadequate understanding in the library classification scheme and the lack of basic knowledge in the subject fields required in classifying books. 2. The catalogers and classifiers of academic libraries and those of the Thai National Library should cooperate to great extent in producing a catalog comparable to the Library of Congress: National Union Catalog. The Thai Library Association should encourage all types of librarians to prepare a complete Thai Subject Headings Handbook to conform with those of foreign counterparts. 3. The data, ideas and recommendations given in this thesis should serve as a guideline for consideration by all academic libraries so as to diminish the problems of library classification encountered by catalogers and classifiers and, hence, to help facilitate the work.


SUBJECT

  1. หนังสือ -- การวิเคราะห์

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ IN REPAIR
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ CHECK SHELVES
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ CHECK SHELVES
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ LIB USE ONLY