Authorจำรัส น้อยแสงศรี
Titleความคิดเห็นเกี่ยวกับวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม ในภาคการศึกษา 9 / จำรัส น้อยแสงศรี = Mathayom suksa three students' opinions concerning social studies in educational region nine / Chamras Noisaengsri
Imprint 2519
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18263
Descript ก-ซ, 75 แผ่น

SUMMARY

วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประมัธยมศึกษาปีที่สาม ที่มีต่อวิชาสังคมศึกษาในด้าน วิธีการสอนของครู ประโยชน์ และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการ เรียนการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการเสนอแนะการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม ของโรงเรียน ครู และผู้เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนต่อไป วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย 3 แบบ คือ แบบมาตราส่วนประเมินค่า และแบบให้ตอบโดยอิสระ แล้วนำไปสอบถามกับตัวอย่างประชากรซึ่ง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม ในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนราษฎร์ ทั้งชายและหญิงในภาคการศึกษา 9 เป็นนักเรียนชาย 200 คน นักเรียนหญิง 200 คน รวมทั้งหมด 400 คน นำข้อมูลที่หามาได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติโดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ แล้วนำมาเสนอในรูปตารางและความเรียง ผลการวิจัย นักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า เนื้อหาของหลักสูตรยังคงศึกษาส่วนมากน่าสนใจมาก และควรเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับการเมือง การปกครอง ปัญหาบ้านเมือง พรรคการเมือง จิตวิทยา ปัญหาวัยรุ่น ปัญหาสังคม ปัญหาระหว่างประเทศ ประวัติภูมิศาสตร์ และ บทบาทของนักเรียนเกี่ยวกับการเมือง เป็นต้น สำหรับวิธีการสอบนั้น นักเรียนชอบวิชาที่ครูขยายความรู้เพิ่มเติมเนื้อหาในแบบเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเอาเหตุการณ์ปัจจุบันเกี่ยวข้องในบทเรียน ใช้อุปกรณ์ประกอบการสอน จัดทัศนะศึกษา และเชิญวิทยากรมาบรรยาย นักเรียนไม่ชอบวิธีการสอบที่ครูอธิบายและแสดงความคิดเห็นแต่ผู้เดียว ครูบรรยายตามแบบเรียน และอ่านบทเรียนแล้วให้นักเรียนดูตาม นักเรียนส่วนใหญ่เสนอแนะว่า การสอบของครูควรให้มีเป็นอุปกรณ์ประกอบการสอนทุกครั้ง ควรปรับปรุงวิธีการสอนให้ใหม่อยู่เสมอ และควรมีวุฒิและประสบการณ์ทางการสอนเพื่อสามารถฝึกฝนนักเรียนให้มีทักษะทุก ๆ ด้านอย่างมีประสิทธิภาพ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของวิชาในหมวดสังคมศึกษาในชีวิตประจำวัน นักเรียนเห็นว่า วิชาหน้าที่พลเมืองมีประโยชน์มากที่สุด เพราะสามารถนำไปใช่ในชีวิตประจำวันได้รองลงมาคือวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ส่วนวิชาศีลธรรมนั้นนักเรียนเห็นว่ามีประโยชน์น้อยที่สุด
Purpose: The purpose of this research was to study the opinions of the mathayom suksa three students concerning the curriculum, methods of teaching, the value of social studies and recommendation of social studies curriculum, methods of instruction to meet the students' needs. Procedure: The data were collected through three types of questionnaires; rating scale, multiple choice and open-end. The questionnaires were sent to two hundred male students and two hundred female students in the government schools and private schools in five provinces of educational region nine. The obtained data were analyzed statistically by means of arithmetic mean, standard deviation and percentage, and then presented by tables and explanation. Findings: The majority of students' opinions showed that the content of the social studies-curriculum of mathayom suksa three was very interesting, but the information concerning; politics, controversial issues, state govern-ments, political parties, psychology, the problems of adolescent, social problems, the international problems, historical geography and the students' political roles should be added. In the students' opinions the method of teaching they liked were as follows: adding information in the text by teacher's explanation especially the relevant current events, using teaching aids, arranging field-trips and invitng resourse persons to the class. The students also expressed the lecture methods and the teacher-centered techniques of instruct-ion as the preference. The majority of students suggested that the teachers should be able to use effective teaching aids and should improve their teaching techniques continuously. Moreover the social studies teachers should be well trained and have some teaching experience so that they were able to train the students effectively. The students' opinions on the value of social studies subjects were that, civics was the most valuable because of its application to everyday life, geography and history were rated as secondary. Ethics was considered as the least valuable subject.


SUBJECT

  1. สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน