Chula-ASEAN Corner Talk ครั้งที่ 2 ปัญหาสวัสดิการไรเดอร์ในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม

Chula-ASEAN Corner Talk ครั้งที่ 2 ปัญหาสวัสดิการไรเดอร์ในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม

การเสวนางานวิจัยเกี่ยวกับชีวิตไรเดอร์ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 โดย อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ นักวิจัยจากสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงงานวิจัยที่มีการศึกษากลุ่มอาชีพไรเดอร์ 435 คนในประเทศไทย หนึ่งในแรงงานในธุรกิจแพลตฟอร์มส่งอาหาร ที่ปัจจุบันแม้ธุรกิจส่งสินค้าและอาหารจะเติบโตและยิ่งกลายเป็นบริการสำคัญตั้งแต่การแพร่ระบาดของ Covid-19 แต่ก็ยังมีช่องโหว่ทั้งความคลุมเครือในด้านการกำกับดูแลโดยรัฐ เกิดข้อพิพาทและปัญหาการจัดสวัสดิการและหลักประกันทางสังคม ทั้งจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและจากบริษัทแอพพลิเคชันผู้ว่าจ้าง และในส่วนของ จากการเสวนาได้เผยให้เห็นข้อมูลวิจัยที่พบว่ามีผู้เข้ามาทำอาชีพแรงงานส่งอาหารนี้อย่างตั้งใจและจำเป็น เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวและได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค Covid-19 นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่เข้ามาร่วมลงทุนแข่งขันในธุรกิจนี้ด้วย ซึ่งแม้ธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลจะดูมีการขยายการลงทุนและมีจำนวนแรงงานเพิ่มขึ้น แต่การเก็บข้อมูลงานวิจัยก็ได้เผยให้เห็นสถิติและสภาพการทำงานที่ท้าทายของอาชีพไรเดอร์ทั้งข้อดีและส่วนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งในเรื่องของชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่นแต่ชั่วโมงการทำงานของแรงงานที่มากเกินมาตรฐานทั่วไป โดยจากกลุ่มตัวอย่างมีชั่วโมงการทำงานโดยเฉลี่ย 9-10 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ยจากผลสำรวจอาจยังไม่สะท้อนความเป็นจริงเท่าที่ควรเพราะมีไรเดอร์ที่ทำเป็นอาชีพเสริมอยู่ด้วย แต่เมื่อดูจากแนวโน้มชั่วโมงการทำงานพบว่าเกือบ 45 % ทำงานโดยเฉลี่ย 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ยังพบปัญหาสภาพการทำงานที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุอย่างมาก พบว่าไรเดอร์ทั้งประเทศกว่าร้อยละ 33.5 เคยประสบอุบัติเหตุจากการทำงานเพราะต้องประสบปัญหา อาทิ การต้องรีบตอบสนองผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว การใช้งานโทรศัพท์ขณะขับขี่ และเส้นทางที่ไม่คุ้นชิน ซึ่งในกลุ่มตัวอย่างไรเดอร์ที่ประสบอุบัติเหตุร้อยละ 40 นั้นได้รับบาดเจ็บสาหัส เกิดภาระรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองและการเข้าถึงสวัสดิการและหลักประกันทางสังคมที่ไม่เป็นธรรม เพราะบางครั้งการเกิดอุบัติเหตุของพวกเขาถูกอ้างว่าไม่อยู่ใน “เงื่อนไข” การได้รับค่ารักษาและการชดเชยจากประกันอุบัติเหตุที่บริษัทตั้งไว้ เช่น ไรเดอร์ที่ประสบอุบัติเหตุขณะเดินทางหลังจากเพิ่งส่งอาหารเสร็จ แพลตฟอร์มตีความว่าไม่ได้อยู่ในขณะทำงานบนแพลตฟอร์ม และความสัมพันธ์ในการจ้างงานรูปแบบนี้ถูกตีความเป็นแรงงานนอกระบบอีกด้วย
งานวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่ควรได้รับการแก้ไข โดยจากการสำรวจความต้องการของกลุ่มตัวอย่างไรเดอร์ส่วนใหญ่ เช่น ต้องการที่จะเข้าถึงบริการและสาธารณสุขคือหลักประกันสุขภาพ ที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยไม่นำมาเป็นเงื่อนไขในการจูงใจให้ต้องทำงานมากขึ้น ด้านความมั่นคงทางรายได้ บริษัทแพลตฟอร์มควรเพิ่มค่าตอบแทนให้แก่ไรเดอร์มากขึ้น มีการประกันรายได้ขั้นต่ำ มีจำนวนรอบการวิ่งต่อวันที่เหมาะสม โดยไม่นำการแบ่งพื้นที่การทำงานมาเป็นปัจจัย เนื่องจากไรเดอร์แต่ละพื้นที่มีต้นทุนในการประกอบอาชีพไม่ต่างกัน และในส่วนของภาครัฐก็ควรออกนโยบายหรือกฎหมายเพื่อจัดระเบียบแรงงานบนแพลตฟอร์มให้อยู่ภายใต้การคุ้มครองแรงงาน มีคำจำกัดความความสัมพันธ์การจ้างงานที่ชัดเจนและสอดคล้องครอบคลุมกับลักษณะของการทำงานในปัจจุบันอย่างเท่าเทียม โดยไม่เลือกปฏิบัติ

Chula-ASEAN Corner 2ndTalk Rider welfare issues in the platform economy Chulalongkorn University, July 12, 2022. Chula-ASEAN Corner 2ndTalk present the research of Rider welfare issues in the platform economy. Akkanut Wantanasombut, a researcher at Chulalongkorn University's Institute of Asian Studies, described his research results on 435 food riders in the food delivery service business in Bangkok and some provinces in Thailand. The food delivery business in Thailand was growing in the raging pandemic, meanwhile, the entailing issues in social welfare, unfair employment, deputing between platforms and food riders, and vague labor laws emerged. The statistics from this research show that 45% of food riders tend to work overtime for more than 60 hours per week; 33.5 % ever get into accidents while working due to attempts at shortening delivery time, usage of applications and GPS on mobile when riding, and unfamiliarity with maps, etc. These issues lead to self-compensated medical care resulting from the ambiguous relationship between the platform companies and food riders, and the riders’ status also worsens the issues because they are not part of the formal labor system. The research result reflects the food rider’s needs from the company and government in better social welfare, health insurance, and minimum income guarantee as the baseline of their payment and benefit regardless of their service areas as each area has different costs of operation. For the part of the government, the service riders need laws or policies to protect and regulate the labor in platform businesses equal and indiscrimination to other occupations.

Chula-ASEAN Corner Talk ครั้งที่ 2 ปัญหาสวัสดิการไรเดอร์ในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม
Chula-ASEAN Corner Talk ครั้งที่ 2 ปัญหาสวัสดิการไรเดอร์ในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม

updated by Chanapat Ekkawat

views 1004