function hideloginbutton() { if (window.location.href.indexOf("chula.idm.oclc.org") > -1) { document.getElementById("linkl").style.display = "none"; document.getElementById("linklo").style.display = "block"; } }
กล่องงี่เง่า = La caja tonta de Laura y Manolo
โดย Isabel Cordova, เขียน ; ปนัดดา วรรณสิน,แปล
เมื่อเด็กๆอยากจะอวดกับเพื่อนว่าดูหนังสยองขวัญแล้วไม่เห็นจะกลัวเลย แต่กลับกังวลจนนอนไม่หลับ หลับแล้วก็ยังฝันร้ายอีก แต่ของแบบนี้ จะยอมบอกเพื่อน หรือพ่อแม่ได้ยังไงกันนะ เพื่อนจะล้อรึเปล่า ผู้ใหญ่จะยอมปิดทีวีไหม แล้วถ้ามีเรื่องอื่น ๆ ที่น่ากลัวกว่าบรรดาตัวร้ายในทืวีล่ะ จะทำยังไง งานนี้เด็ก ๆ ได้รวมตัวกันแล้ว เหลือแต่ผู้ใหญ่แล้วล่ะ ว่าอยากชนะเด็กให้ได้ หรือจะยอมเห็นปัญหาดี
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “วรรณกรรมสำหรับเด็ก” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน 0
LOCATION | CALL# | STATUS |
---|---|---|
Central Library (4th Floor) | 863.64 ก364ก 2564 | CHECK SHELVES |
โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง = Madogiwa no Totto-Chan
โดย Tetsuko Kuroyanagi, เขียน ; ผุสดี นาวาวิจิต, แปล
ดิฉันดีใจมากที่ผู้อ่านชาวไทยสนใจ เรื่อง โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง ดิฉันตั้งใจมานานแล้วว่า จะเขียนเรื่องเกี่ยวกับโรงเรียนประถมศึกษา และคุณครูใหญ่ที่แสนวิเศษ ให้คนทั่วไปได้รับรู้ ในขณะที่ดิฉันยังจําเรื่องเหล่านั้นได้ แต่ไม่เคยคาดคิดเลยว่าจะมีคนอ่านเรื่องของดิฉันมากมายเช่นนี้ ฉบับภาษาญี่ปุ่นได้พิมพ์แล้ว 6 ล้านเล่ม แปลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อจําหน่ายในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศอื่น ๆ นอกจากนั้น ยังพิมพ์ในประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และเกาหลี ส่วนโปแลนด์และฟินแลนด์ กําหนดพิมพ์เรื่องนี้ ใน ค.ศ. 1985 ดิฉันจะดีใจที่สุด ถ้าท่านผู้อ่านได้อ่านฉบับภาษาไทย สํานวนแปลของคุณผุสดี นาวาวิจิต และรู้จักเด็กญี่ปุ่นและชาวญี่ปุ่นมากขึ้นอีก แม้เพียงเล็กน้อย เพราะเราทุกคนเป็นเพื่อนกัน
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “วรรณกรรมสำหรับเด็ก” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน 0
LOCATION | CALL# | STATUS |
---|---|---|
Central Library (4th Floor) | 895.635 ค689ต 2561 | CHECK SHELVES |
บรัดเล่ย์ เด็กเกเรหลังห้องเรียน = There
โดย หลุยส์ ซัคเกอร์ ; ฤทัยรัช จันทร์เพ็ญ, แปล
บรัดเล่ห์ ชอล์กเกอร์ส คือเด็กที่มักจะสร้างปัญหาในโรงเรียน เขาไม่สนใจที่ครูสอน ไม่ทำการบ้าน และชอบรังแกเพื่อน จนใครๆ ต่างก็ไม่ชอบเขา ยกเว้นเพียงคาร์ล่า ครูที่ปรึกษาคนใหม่ของโรงเรียนที่รู้ว่าเขาไม่ใช่ตัวปัญหา และไม่ใช่เด็กเกเรอย่างที่ทุกคนเข้าใจ เธอรู้ดีว่าเขาเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ ถ้าเขามีความเชื่อมั่นมากพอ แต่เมื่อคุณเป็นเด็กที่มีคนเกลียดมากที่สุดในโรงเรียน การเชื่อมั่นในตัวเองนั้นกลับกลายเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเสียเหลือเกิน...
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “วรรณกรรมสำหรับเด็ก” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน 0
LOCATION | CALL# | STATUS |
---|---|---|
Central Library (4th Floor) | 813.6 ซ122บ 2566 | CHECK SHELVES |
เจ้าชายน้อย ฉบับมังงะ = Manga hoshi no oujisama
โดย อองตวน เดอ แซงแต็กซูเปรี ; ไดซาบุโระ โอคุโมโตะ, เรียบเรียง ; ยามาชิตะ โคเฮ, ภาพประกอบ ; วรพร สิงขรอาจ, แปล
จากวรรณกรรมเจ้าชายน้อยเรื่องคลาสสิกที่ครองใจคนทั่วโลก สู่การ์ตูนมังงะลายเส้นน่ารักที่ทุกคนจะเข้าใจและซาบซึ้งไปกับเรื่องราวอันงดงาม วรรณกรรมที่ไม่ได้แค่มุ่งเน้นความสนุกสนาน หรือสั่งสอนศีลธรรมอันดีให้กับเด็ก แต่ยังมีคุณค่าสำหรับผู้ใหญ่และแฝงนัยยะเอาไว้หลายประเด็น ได้รับการแปลมากกว่า 500 ภาษา มียอดขายสะสมกว่า 200 ล้านเล่มทั่วโลก ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ ละครเวที ละครเพลง แอนิเมชั่น อีกมากมาย นักวาดและนักเขียนเล่มนี้ใส่ใจเป็นพิเศษในทุก ๆ รายละเอียด ปรับเปลี่ยนถ้อยคำทุกตัวอักษรให้เป็นสไตล์การ์ตูนมังงะน่ารักสดใสอ่านง่ายและไม่ซ้ำฉบับใดมาก่อน ช่วยให้เราเข้าใจความคิดของผู้เขียนต้นฉบับผ่านภาพประกอบ 4 สีตลอดทั้งเล่ม ที่ทำให้คุณเข้าใจบางฉากบางตอนได้ลึกซึ้งกว่าเดิม ถือเป็นเจ้าชายน้อยในรูปแบบใหม่ ที่ทั้งบอกเล่าเรื่องราว และถ่ายทอดความรู้สึกได้เป็นอย่างดี เพื่อฉลองการครบรอบเจ้าชายน้อย 80 ปี
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “วรรณกรรมสำหรับเด็ก” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน 0
LOCATION | CALL# | STATUS |
---|---|---|
Central Library (4th Floor) | 843.91221 ซ761จม 2567 | CHECK SHELVES |
ความสุขของกะทิ ตอน เธอคือของขวัญ
โดย งามพรรณ เวชชาชีวะ
เธอคือของขวัญ ภาคพิเศษอันเป็นส่วนเพิ่มที่เข้ามาเติมเต็มความสุขของกะทิให้งดงามยิ่งขึ้น ช่องว่างที่เว้นไว้ถูกใส่รายละเอียดอันละมุมละไมลงไป อบอุ่นงดงาม เป็นตอนพิเศษที่ผู้เขียนบรรจงสร้างขึ้นเพื่อให้โลกของกะทิสวยงามสมบูรณ์ยิ่งขึ้นกว่าเดิม จักรวาลความสุขของกะทิ คลี่คลายและตอกย้ำรายละเอียดทั้งหมดที่เกี่ยวพันกับเด็กหญิงผมสั้นหน้าม้าคนนั้น พูดถึงตัวละคร ฉาก อาหารจากปลายจวักของยาย ของใช้เมื่อวันวาน ตลอดจนบทสนทนาสุดพิเศษ ครั้งแรกระหว่างกะทิกับผู้สร้างสรรค์เธอขึ้นมา ร่วมด้วยเรื่องราวสนุก ๆ น่ารัก ยิ้มเศร้า ครบถ้วน เหมาะสมกับชื่อ จักรวาลความสุขของกะทิ และอีกหลายเรื่องที่เชื่อเหลือเกินว่าเมื่ออ่านจนจบแล้วคุณจะยิ้มตามและชื่นชอบ
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “วรรณกรรมสำหรับเด็ก” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน 0
LOCATION | CALL# | STATUS |
---|---|---|
Central Library (4th Floor) | 895.913 ง337คธ 2559 | CHECK SHELVES |
Central Library (4th Floor) | 895.913 ง337คธ 2559 | CHECK SHELVES |
เด็กเล่าเรื่องมหาภารตะ = The Mahabharatha : a child
โดย สังหิตา อรณี, เขียนเรื่องและวาดรูป ; ปรีชา ช่อปทุมมา, แปล
มหาภารตะ มหากาพย์ยิ่งใหญ่ของอินเดียที่เล่าสืบต่อกันมา แม้เป็นเรื่องสงครามการรบพุ่ง แต่พ้นจากเรื่องสงครามการยุทธ์ดังกล่าว มหาภารตะก็เป็นดั่งวิถีชีวิต วัฒนธรรม หลักดำเนินชีวิต กระทั่งการบริหาร บ้านเมือง รวมถึงพิธีกรรมต่างๆ ตลอดจนความเชื่อฤกษ์ยามดวงดาว สิ่งละอันพันละน้อยเหล่านี้บอกเล่าซ้ำๆ ในบทสวดตามอาศรม จนถึงเรื่องเล่ากลางลานบ้าน พิธีกรรม เหตุการณ์ การกระทำ ของตัวละครที่เป็นสิ่งคุ้นเคยสำหรับเด็กอินเดีย แต่อาจจะไม่ใช่ เรื่องเข้าใจง่ายนักสำหรับเด็กไทย กระนั้น ความสนุก ฉากสงคราม การรบ การแปลงร่าง ตัวละครต่างๆ เหตุการณ์อันตื่นตา ก็ยังคง สนองความใคร่รู้และจินตนาการเหนือจริงให้เด็กของเราได้อย่างดี ด้วยเหตุที่การแปลนับเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรม วิถีชีวิต วิธีคิดของชาติอื่นๆ สำนักพิมพ์จึงได้ทำคำอธิบายท้ายเล่มไว้ เพื่อประโยชน์ในการขยายความ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วัฒนธรรม ประเพณีโบราณของชาวอินเดีย ซึ่งจะช่วย ให้อ่านหนังสือเล่มนี้ได้สนุกและรู้ความเป็นมาของเหตุการณ์ต่างๆ ในเรื่องได้ง่ายขึ้น สิ่งสำคัญ การเล่าเรื่องมหาภารตะ ทำให้ผู้อ่านได้เห็นเหตุและผลแห่ง การกระทำ คำพูด วิธีคิดของตัวละคร เรื่องเล่านี้มิได้บอกกล่าวอย่างตัดสินว่า ใครถูก ใครผิด ใครดี ใครเลว แต่ให้ผู้อ่านได้เห็นมิติต่างๆ ของตัวละคร ในการกระทำ คำพูด การตัดสินใจ และผู้เขียนก็มิได้สรุปใดๆ แต่ให้ผู้อ่านได้คิดใคร่ครวญ กุศโลบายเหล่านี้เองจึงทำให้มหาภารตะเป็นหนังสือที่ไม่เคยพ้นกาลสมัย แต่เป็นปัจจุบันเสมอ เพราะหยิบมาอ่านครั้งใด ในบริบทใด ก็ย่อมเกิดสภาวะ “เห็น” และเกิดปัญญาทุกครั้ง ด้วยว่าทุกบรรทัด ทุกถ้อยคำในหนังสือเล่มนี้ล้วนสำคัญ
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “วรรณกรรมสำหรับเด็ก” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน 0
LOCATION | CALL# | STATUS |
---|---|---|
Central Library (4th Floor) | 891.2 อ322ด 2564 | DUE 12-06-25 |
Collection |