function hideloginbutton() { if (window.location.href.indexOf("chula.idm.oclc.org") > -1) { document.getElementById("linkl").style.display = "none"; document.getElementById("linklo").style.display = "block"; } }
34 วิธีพักผ่อนของคน productive
ได้หยุดพักและชาร์จแบตเต็มที่แต่ยังทำงานได้ดีอะไรที่ทำให้คน productive ต่างจากคนอื่น ๆ? คนส่วนใหญ่ตอบว่า “วิธีทำงาน” โดยที่ไม่รู้เลยว่าจริง ๆ แล้วคน productive ยังมีบางสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นด้วยนั่นคือ “วิธีพักผ่อน” ร่วมค้นพบเคล็ดลับการใช้เวลาในวันหยุดของคน productive ที่ไม่เคยต้องหอบงานกลับไปทำที่บ้าน พวกเขาทำอะไรถึงพักได้อย่างเต็มที่ แต่ยังทำผลงานได้ยอดเยี่ยมจนไม่มีใครตามทัน
- ตื่นนอนแต่เช้าในวันเสาร์อาทิตย์
- ลงทุนซื้อหมอนดี ๆ
- เพิ่มทักษะการตลาดด้วยการท่องเที่ยว
- วิธีเลือกกินอาหารส่งผลต่อความสามารถในการหาเงินของคุณ
- คนที่หาเงินเก่งจะนอนหลับเต็มอิ่ม
- ทำงานด้วยความรู้สึกเหมือนกำลัง “เล่นเกม”
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “การพักผ่อน” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน 0
LOCATION | CALL# | STATUS |
---|---|---|
Chula Business School Library | 613.79 ค282ส 2562 | CHECK SHELVES |
Central Library (4th Floor) | 613.79 ค282ส 2562 | CHECK SHELVES |
Central Library (4th Floor) | 613.79 ค282ส 2562 | CHECK SHELVES |
คลายเครียดใน 30 วิ
ความกังวล ความเครียด ความกดดัน ความคาดหวังของสังคม สิ่งเหล่านี้ล้วนถาโถมเข้ามาสู่ชีวิตคนเราในปัจจุบัน ทำให้อาจส่งผลถึงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่าง อาทิ ขี้กลัว เครียดง่าย หวาดระแวง วิตกจริต หรือในบางกรณีแสดงปัญหาทางจิตใจออกมาเป็นโรคต่าง ๆ ทางร่างกาย ทำให้สูญเสียบุคลิกภาพและความมั่นใจรวมทั้งความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันที่ด้อยประสิทธิภาพลงไปอีกด้วย
หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจกับกลไกการทำงานของร่างกายมนุษย์ซึ่งเป็นต้นเหตุของความกังวลและความเครียด ปัญหาที่ไม่เข้าใครออกใคร ดังนั้นเมื่อเราเข้าใจกลไกการทำงานและวิธีป้องกันอย่างเป็นระบบแล้ว จะทำให้เราสามารถป้องกันและรักษาอาการที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “การพักผ่อน” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน 0
LOCATION | CALL# | STATUS |
---|---|---|
Central Library (5th Floor) | 155.9042 น415ค | CHECK SHELVES |
Central Library (5th Floor) | 155.9042 น415ค | CHECK SHELVES |
ความลับของอวัยวะทั้งห้า
คุณเคยรู้สึกอ่อนเพลีย แม้นอน 6-8 ชั่วโมงก็ยังไม่สดชื่นขึ้นบ้างไหม นอกจากนี้ บางคนอาจวิงเวียนศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกายเรื้อรัง รักษาแล้วแต่ก็ยังกลับมาเป็นซ้ำ ความผิดปกติที่แสดงออกมาเหล่านี้ คือสัญญาณที่ร่างกายพยายามสื่อสารว่า "คุณทำงานหนักและใช้ชีวิตโดยหลงลืมดูแลสุขภาพ" อยู่นั่นเอง ธรรมชาติได้ออกแบบให้ร่างกายมนุษย์มีระบบจัดการกับอาการผิดปกติเหล่านี้อยู่ ถ้าร่างกายอยู่ในภาวะที่มีสมดุลทั้งด้านกายภาพและจิตใจ แค่นอนให้เพียงพอ แบ่งเวลาพักผ่อนสักหน่อย ร่างกายก็ฟื้นคืนความสดชื่นได้เอง
"ความลับแห่งอวัยวะทั้งห้า" ได้แนะนำแบบฝึกที่ช่วยให้คุณเข้าใจการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายดียิ่งขึ้น เพื่อรับฟังสัญญาณของอาการอ่อนเพลียได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมถึงช่วยให้คุณรู้ว่าควรฟื้นฟูร่างกายของตนเองอย่างไร เพียงเรียนรู้ที่จะสังเกต ทำความเข้าใจ แล้วเลือกดูแลสุขภาพให้เหมาะสมกับตัวเอง อาการเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าก็หายขาดได้ ร่างกายที่แข็งแรงสดใสเหมือนตอนหนุ่มสาวก็คืนกลับมาได้อย่างน่าอัศจรรย์...
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “การพักผ่อน” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน 0
LOCATION | CALL# | STATUS |
---|---|---|
Central Library (4th Floor) | 613.792 ฟ499ค 2562 | CHECK SHELVES |
Central Library (4th Floor) | 613.792 ฟ499ค 2562 | CHECK SHELVES |
ฝึกสมองให้สมองไม่เหนื่อย
สมองต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เคยหยุดพัก ไม่เว้นแม้แต่ตอนที่เราหลับใหลจึงไม่แปลกที่สมองจะเหนื่อยล้า และทำงานได้ไม่เต็มที่ อิชิกาวะ โยชิกิ จะแนะนำเทคนิคง่ายๆ ตั้งแต่การกิน การทำสมาธิ ไปจนถึงการนอนหลับเพื่อช่วยให้สมองหายจากความเหนื่อยล้า และกลับมาทำงานอย่างกระปรี้กระเปร่า
หนึ่งในกิจกรรมที่ดีที่สุดต่อสมองคือการทำอาหาร
เทคนิค 5 นาทีที่ช่วยให้สมองไม่ล้า ไม่เบลอ ไม่เหนื่อย
แขม่วท้องระหว่างเดินทางไปทำงาน
ล้างมือด้วยสบู่แล้วสมองจะทำงานได้ดีขึ้น
เคล็ดลับการนอนที่สมองได้พักผ่อนจริง ๆ
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “การพักผ่อน” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน 0
LOCATION | CALL# | STATUS |
---|---|---|
Central Library (4th Floor) | 612.82 อ715ฝ 2562 | CHECK SHELVES |
Central Library (4th Floor) | 612.82 อ715ฝ 2562 | CHECK SHELVES |
พักผ่อนศาสตร์ : ศาสตร์แห่งการพักให้ได้พัก [อย่างแท้จริง] = The art rest : how
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกผิดเมื่อนั่งแช่อยู่หน้าทีวีเฉยๆ ทั้งที่ควรลุกขึ้นมาปั่นงานหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนขี้เกียจ เมื่อแวะไปชงชาที่ห้องครัวและคุยกับเพื่อนระหว่างเวลางาน ขอให้คุณยกมือขึ้น! รู้หรือไม่ว่า เวลาเฉลี่ยที่คนเราควรพักผ่อนต่อวันคือ 5 ชั่วโมง ถ้ามีคนพูดถึง การพักผ่อน แล้วคุณยังคิดว่ามันคือการนอนคุณอาจต้องปรับความเข้าใจของตัวเองเสียใหม่ การนอนเป็นเรื่องหนึ่ง การพักผ่อนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งคุณให้ความสำคัญกับการนอนมากเท่าไหร่ ก็ควรจะต้องให้ความสำคัญกับการพักผ่อนมากในระดับเดียวกัน เพราะการพักผ่อนที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่เพียงพอจะส่งผลต่อชีวิตของคุณอย่างมหาศาล ทั้งสุขภาพกายและใจ ประสิทธิภาพในการทำงานอัตราการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ รวมไปถึงอายุขัย การพักผ่อนนั้นอาจหมายรวมได้ตั้งแต่ การอ่านหนังสือ ดูซีรีส์ ไปจนถึงการไม่ทำอะไรเลย หลากหลายความคิดความเชื่อเกี่ยวกับการพักผ่อนถูกตีแผ่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ และเราขอบอกว่า มันเป็นเรื่องใหญ่จริง ๆ ดูทีวีทำให้สมองไม่พัฒนาจริงหรือ? อ่านหนังสือยากๆ ก่อนนอนเนี่ยนะ มันช่วยให้พักได้ยังไง? ไปวิ่งจนเหงื่อแตกและปวดเมื่อยไปทั้งตัวน่ะหรือที่เรียกว่าได้พัก? แล้วพักอย่างไรล่ะ ถึงเรียกว่าได้พักจริง ๆ
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “การพักผ่อน” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน 0
LOCATION | CALL# | STATUS |
---|---|---|
Central Library (5th Floor) | 158 ฮ853พ 2563 | CHECK SHELVES |
Central Library (5th Floor) | 158 ฮ853พ 2563 | CHECK SHELVES |
Energize ความลับของมนุษย์พลังสูง
เทคนิคบริหารพลังสำหรับคน 4 แบบทำอย่างไรให้มีแรงเหลือใช้ตลอดวันผลงานล่าสุดจากผู้เขียน The Power of When
- ทำไมคนเราถึงไม่ควรเข้านอนแต่หัวค่ำ
- งานยาก ๆ ควรเก็บไว้ทำตอนไหน
- ช่วงเวลาไหนที่เหมาะจะคุยเรื่องสำคัญกับหัวหน้า
- ทำไมคุณถึงไม่ควรดื่มกาแฟในตอนเช้าหลังตื่นนอน
- ต้องกินมื้อเย็นตอนกี่โมงจึงจะดีที่สุด
- การอาบน้ำเย็นในตอนเช้าจะเปลี่ยนชีวิตของคุณอย่างไร
หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “การพักผ่อน” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน 0
Collection |