Page 5 - Cover Page Newsletter
P. 5

3


                   “แอสปาร์แตม” ปลอดภัยหรือไม่ ท าไม WHO เตรียมประกาศให้เป็นสารก่อมะเร็ง


                                                                                           ปณิธี เปรมสัตย์ธรรม


                       เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ส านักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า องค์การอนามัยโลก (World Health

               Organization หรือ WHO) เตรียมบรรจุสารให้ความหวานแทนน้ าตาลที่นิยมใช้กันทั่วโลกอย่าง แอสปาร์แตม
               (#Aspartame) เป็นหนึ่งในสารที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง



                       แอสปาร์แตม เป็นสารให้ความหวานแทนน้ าตาลที่ไม่ให้พลังงานและมีความหวานมากกว่าน้ าตาลซูโครส
               (น้ าตาลทราย) ประมาณ 180 - 200 เท่า ถูกน ามาเป็นส่วนประกอบในอาหารส าเร็จรูปและเครื่องดื่มกว่า 5,000

               ชนิด ตั้งแต่น้ าอัดลม น้ าผลไม้ ไปจนถึงหมากฝรั่ง ในวงการแพทย์มักใช้แอสปาร์แตมผสมเครื่องดื่มหรือท าอาหารให้

               ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน


                       แต่ล่าสุด องค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง หรือ IARC ขององค์การอนามัยโลก ได้เผยแพร่

               ผลงานวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งและประเมินอันตรายของสารให้ความหวานแทนน้ าตาลของแอสปาร์แตมออกมา ว่า
               อาจเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์



                       อย่างไรก็ตาม ในรายงานไม่ได้มีค าแนะน าเกี่ยวกับปริมาณแอสปาร์แตมที่ปลอดภัยต่อร่างกาย
               ขณะเดียวกันแหล่งข่าวระบุว่า การประกาศเตรียมบรรจุแอสปาร์แตมให้เป็นสารที่อาจก่อโรคมะเร็ง มีเป้าหมายเพื่อ

               กระตุ้นให้เกิดการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องมากขึ้น และเพื่อให้หน่วยงานที่ก ากับดูแล ผู้บริโภค และผู้ผลิต ได้ข้อสรุปที่

               ชัดเจนร่วมกัน ตลอดจนสร้างแรงกดดันให้กับผู้ผลิตในการปรับปรุงสูตรหรือเปลี่ยนมาใช้สารชนิดอื่นเพื่อความ
               ปลอดภัย



                       ทั้งนี้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารแอสปาร์แตมมากมาย  ยกตัวอย่างเมื่อปี 2022
               มีการศึกษาในฝรั่งเศสโดยเก็บข้อมูลผู้ใหญ่ 100,000 คน พบว่า ผู้ที่บริโภคสารให้ความหวานแทนน้ าตาลในปริมาณ

               มาก ซึ่งรวมถึงแอสปาร์แตม มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งมากกว่าผู้ที่บริโภคสารเหล่านี้ในปริมาณที่น้อยกว่า และหาก

               ย้อนไปในช่วงต้นทศวรรษที่ 2000 มีการศึกษาจากสถาบัน Ramazzini ในอิตาลีที่รายงานว่า แอสปาร์แตมมีส่วน
               เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งในหนูที่น ามาใช้ในการทดลองดังกล่าว
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10