Page 3 - Cover Page Newsletter
P. 3

1


                                  ปรากฏการณ์ดาวศุกร์สว่างที่สุดในรอบครึ่งแรกของปี


                                                                                              ทัชชา พรรณรักษ์


                       สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ประกาศเชิญชวนทุกท่าน ชมดาวศุกร์ทางทิศตะวันตก ในคืนวันนี้ (10

               ก.ค. 2566) ช่วงเวลา 19.00 - 21.09 น. ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่เราสามารถเห็นดาวศุกร์ได้สว่างที่สุดในรอบครึ่งแรก
               ของปี เนื่องจากโคจรมาอยู่ในระยะที่เหมาะสม โดยสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าทั่วประเทศ (หากท้องฟ้ามีทัศน

               วิสัยดี) และหากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ จะเห็นดาวศุกร์เป็นเสี้ยวคล้ายดวงจันทร์


                       ดาวศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ล าดับที่ 2 ในระบบสุริยจักรวาล เปรียบเสมือนเป็นฝาแฝดของโลก

               เนื่องจากมีองค์ประกอบทั้งด้านขนาด มวล และแรงโน้มถ่วงใกล้เคียงกัน  แต่ที่พื้นผิวของดาวศุกร์ร้อนกว่าเรามาก

               เนื่องจากมีภูเขาไฟกว่า 1,000 ลูกที่พร้อมปะทุตลอดเวลา ส่งผลให้มีเมฆที่เกิดจากกรดก ามะถันปกคลุมอยู่ทั่ว โดย
               มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง 470 องศาเซลเซียส



               ดาวศุกร์กับชื่อเรียกอื่น ๆ
               คนไทยมีชื่อเล่นไว้เรียกดาวศุกร์์ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ดังนี้

                   •  ดาวรุ่ง/ดาวประกายพรึก คือ ดาวศุกร์ที่พบบนฟากฟ้าทางทิศตะวันออก ในเวลารุ่งเช้า

                   •  ดาวประจ าเมือง คือ ดาวศุกร์ที่พบบนฟากฟ้าทางทิศตะวันตก ในเวลาหัวค่ า



                       เนื่องจากดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่มีแสงสว่างท้องฟ้า สามารถพบเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นประจ า
               ในเวลาเดิม ๆ จึงได้รับการตั้งชื่อจากชาวโรมันว่า วีนัส (Venus) ซึ่งเป็นชื่อของเทพีที่เป็นตัวแทนของความรักและ

               ความงาม โดยในส่วนของไทย เราตั้งชื่อดาวศุกร์ตามชื่อของ “พระศุกร์” เทพประจ าวันศุกร์ มีความโดดเด่นด้าน

               ความสวยงาม ความรัก ศิลปะ ซึ่งพระศุกร์ถือเป็นเทพศุภเคราะห์ คือให้คุณ ให้วาระดี วาระมงคล


                       CURef ขอเชิญทุกท่านร่วมชมปรากฏการณ์ดาวศุกร์สว่างที่สุดกันค่ านี้ ภาวนาให้ฝนไม่ตก ฟ้าเปิด เพราะ

               ถ้าพลาดครั้งนี้แล้ว เจอกันครั้งใหม่วันที่ 18 กันยายน 2566 เวลา 03.25 ทางทิศตะวันออกเลยน้าาาา


               อ่านบทความวิจัยเกี่ยวกับดาวศุกร์เพิ่มเติมได้ที่

               1. Venus, the Planet: Introduction to the Evolution of Earth’s Sister Planet
               https://link-springer-com.chula.idm.oclc.org/article/10.1007/s11214-023-00956-0
   1   2   3   4   5   6   7   8