ความนำ

ระบบประกันคุณภาพ

          ระบบประกันคุณภาพของสำนักงานวิทยทรัพยากร ดำเนินการโดยคณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพ ซึ่งดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการอีก 3 ชุด (ประธานของคณะกรรมการแต่ละชุดเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง) ได้แก่ (1) คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพภายใน (2) คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลกิจกรรม 5 ส และจัดกิจกรรม Big Cleaning Day (3) คณะกรรมการจัดการความรู้

 คณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพ

          เพื่อให้การดำเนินการประกันคุณภาพ และการพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงและวางระบบควบคุมภายในของสำนักงานวิทยทรัพยากร เป็นไปตามนโยบายคุณภาพของสำนักงานฯ ด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น คณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพ ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น พัฒนาเว็บไซต์ จัดทำแผน/รายงานการบริหารความเสี่ยงและตัวชี้วัดระบบคุณภาพ กิจกรรมประกวดโครงการพัฒนาคุณภาพงาน สำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ ฯลฯ

 คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพภายใน

          เพื่อทำหน้าที่วางแผนและตรวจสอบคุณภาพงานบริการและผลผลิตของสำนักงานฯ บันทึกและติดตามการแก้ไขการให้บริการและสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด เพื่อรักษาและพัฒนามาตรฐานคุณภาพของสำนักงานฯ พร้อมจัดทำรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพภายใน ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพภายในเสนอต่อผู้อำนวยการสำนักงานฯ

คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลกิจกรรม 5 ส และจัดกิจกรรม Big Cleaning Day

          เพื่อทำหน้าที่ธำรงรักษามาตรฐาน 5ส ของสำนักงานวิทยทรัพยากร และรณรงค์ในการสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ตรวจสอบพื้นที่ในสำนักงานฯ เสนอแนะการปรับปรุงพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งประสานงานการจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ดังนั้น คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลกิจกรรม 5 ส และจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น จัดทำ Fan Page บ้านนี้มี 5ส จัดกิจกรรม Big Cleaning Day

 คณะกรรมการจัดการความรู้

เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนและกำหนดเป้าหมายการจัดการความรู้ และดำเนินงานให้เกิดการพัฒนาระบบบริหารเพื่อการจัดการองค์ความรู้ภายในสำนักงานวิทยทรัพยากร สนับสนุน ส่งเสริม และดำเนินการเพื่อให้มีการเผยแพร่องค์ความรู้ โดยใช้เทคโนโลยีและช่องทางการสื่อสารหลากหลายรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้บุคลากรของ สำนักงานวิทยทรัพยากร ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์การทำงาน และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงาน ด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น คณะกรรมการจัดการความรู้ ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น พัฒนาเว็บไซต์ KM จัดบรรยายความรู้เรื่องการจัดการความรู้ โครงการถอดความรู้และการจัดทำคลังความรู้ กิจกรรมอาศรมวิทยทรัพยากร กิจกรรม Expert Talk กิจกรรม Morning Talk ฯลฯ

ทำไมต้องประกันคุณภาพ

สถาบันวิทยบริการ (ชื่อเดิม) ปัจจุบันคือ สำนักงานวิทยทรัพยากร ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนวิชาการ ตระหนักในความสำคัญของคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการทางวิชาการ อันเป็นหน้าที่หลักของสำนักงานฯ เพื่อประกันว่าคุณภาพของบริการหรือสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ของสำนักงานฯ จะเป็นไปตามที่ผู้รับบริการต้องการและได้รับความพึงพอใจ โดยใช้มาตรฐานประกันคุณภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับหน่วยงานด้านบริหารและสนับสนุน หรือ CU-QA 84.3

ปณิธานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการสถาปนาขึ้นด้วยพระปรีชาญาณของพระมหาธีรราชเจ้า และ แรงศรัทธาของประชาชนชาวไทย ถวายเป็นพระราชานุสรณ์แห่พระปิยมหาราช ผู้ทรงปรารถนา ให้ปวงชนชาวไทยมีโอกาสได้เล่าเรียนเสมอกัน เพื่อยังประโยชน์แก่ชาติไทย ไม่มีเวลาเสื่อมสูญ

มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีจุดมุ่งหมายที่เป็นหลักคือ การบุกเบิก แสวงหา ทะนุบำรุง และถ่ายทอด ความรู้ กับการเสริมสร้างคุณธรรมให้กับบัณฑิตมหาวิทยาลัยเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสติและปัญญา ความรู้ ที่นับว่าสำคัญยิ่งคือ ความรู้เพื่อความเจริญของบุคคลและสังคมอันได้แก่ ความรู้รอบใน สรรพวิทยาการ ที่อำนวยประโยชน์แก่การดำเนินชีวิต

ส่วนคุณธรรมที่ผู้เรียนผู้รู้พึงมี และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องปลูกฝังคือ ความรู้จักตนเอง ใฝ่รู้อยู่เสมอ คิดริเริ่ม สร้างสรรค์ รอบคอบ ไตร่ตรองเหตุผล รับผิดชอบ เห็นการณ์ไกล มีศีลธรรม และเสียสละ เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม”