function hideloginbutton() { if (window.location.href.indexOf("chula.idm.oclc.org") > -1) { document.getElementById("linkl").style.display = "none"; document.getElementById("linklo").style.display = "block"; } }
Office of Academic Resources
Chulalongkorn University
Chulalongkorn University

Home  /  OAR Recommended Books


การวิเคราะห์สร้างการเจริญเติบโตของการค้าในภูมิภาคเอเซียแฟซิฟิก

การวิเคราะห์สร้างการเจริญเติบโตของการค้าในภูมิภาคเอเซียแฟซิฟิก

เพื่อศึกษาโครงสร้างการค้าภายในภูมิภาคของกลุ่มประเทศในเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งพิจารณาบทบาทของอัตราการเติบโตในการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Intra-Industy Trade) และการค้าระหว่างอุตสาหกรรม (Inter-Industry Trade) ที่มีผลต่อการเติบโตในมูลค่าการค้ารวม โดยวิเคราะห์ที่มาของการเติบโตในมูลค่าการค้ารวมเปรียบเทียบในช่วงปี 1985-1989 และ 1989-1993 ตลอดจนศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับการค้าภายในอุตสาหกรรมของประเทศไทยกับประเทศ ASEAN โดยการศึกษาในครั้งนี้พิจารณาสินค้าอุตสาหกรรมจำแนกตามระบบ SITC 2 หลัก ของ United Nations ผลการศึกษาพบว่า ทุกกลุ่มประเทศภายในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิกมีการค้าภายในภูมิภาคเป็นส่วนสำคัญในการค้าระหว่างประเทศและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงปี 1985-1993 การค้าส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นการค้าในสินค้าอุตสาหกรรม และการเติบโตของการค้าจากทุกกลุ่มประเทศในภูมิภาคมาจากบทบาทของการเติบโตการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันเป็นหลัก โดยเฉพาะในช่วงปี 1989-1993 การค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันเพิ่มความสำคัญขึ้นจากช่วงปี 1985-1989 มาก กล่าวคือมีบทบาทต่อการค้ารวมมากกว่าการค้าระหว่างอุตสาหกรรมในทุกกลุ่มประเทศโดยเฉพาะกลุ่ม East Asia และ ANZCERTA มีการเติบโตของการค้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป็นผลมาจากการเติบโตของการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันทั้งสิ้น ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อระดับการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันในกรณีของประเทศไทยกับประเทศคู่ค้าในกลุ่ม ASEAN ได้แก่ความคล้ายกันในด้านปัจจัยการผลิต ความซับซ้อนและการใช้เทคโนโลยีในการผลิต ซึ่งทำให้เกิดความหลากหลายในสินค้า และระดับการลงทุนจากต่างประเทศได้สร้างเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศภายในกลุ่ม ASEAN โดยญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญในการสร้างเครือข่ายการลงทุนดังกล่าว ปัจจัยทั้งสามนี้มีผลให้สัดส่วนการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันสูงขึ้น ส่วนอุปสรรคทางการค้าประกอบด้วยอุปสรรคทางธรรมชาติและเชิงนโยบาย โดยสิ่งกีดขวางทางธรรมชาติคือ ระยะทางระหว่างประเทศ ส่งผลให้สัดส่วนการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันต่ำลง ส่วนสิ่งกีดขวางเชิงนโยบายที่สำคัญได้แก่ อัตราภาษีศุลกากรซึ่งในการศึกษานี้พบว่าไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อสัดส่วนการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน ส่วนปัจจัยทางด้านความคล้ายกันของรายได้ต่อหัวก็พบว่าไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อสัดส่วนการค้าภายในอุตสาหกรรมเช่นกัน เนื่องจากการขยายตัวทางการค้าผ่านการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันมีบทบาททวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ดังนั้นนโยบายการลดอุปสรรคทางการค้าในภูมิภาคนี้ ไม่น่าที่จะก่อให้เกิดต้นทุนการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเท่ากับกรณีที่ประเทศมีโครงสร้างทางการค้าพึ่งพิงการค้าระหว่างอุตสาหกรรมเป็นหลัก ดังนั้น กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก ควรดำเนินการร่วมกันในการประสานแผนการลดข้อกีดกันทางการค้าลง เพื่อขยายปริมาณการค้าในภูมิภาคนี้ต่อไป

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “วิทยานิพนธ์จุฬาฯ เกี่ยวกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน 0




Location



Office of Academic Resources, Chulalongkorn University, Phayathai Rd. Pathumwan Bangkok 10330 Thailand

Contact Us

Tel. 0-2218-2929,
0-2218-2927 (Library Service)
0-2218-2903 (Administrative Division)
Fax. 0-2215-3617, 0-2218-2907

Social Network

  line

facebook   instragram