function hideloginbutton() { if (window.location.href.indexOf("chula.idm.oclc.org") > -1) { document.getElementById("linkl").style.display = "none"; document.getElementById("linklo").style.display = "block"; } }
Office of Academic Resources
Chulalongkorn University
Chulalongkorn University

Home  /  OAR Recommended Books


โอกาสและศักยภาพในการค้าภาคอุตสาหกรรมของไทยในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

โอกาสและศักยภาพในการค้าภาคอุตสาหกรรมของไทยในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงรูปแบบการค้าของประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมไปถึงประโยชน์เนื่องจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคนี้ โดยมีรายละเอียดการศึกษาเป็นข้อ ดังนี้ 1. โครงสร้างการค้าระหว่างไทยกับเอเปก 2. ปัจจัยกำหนดการค้าระหว่างไทยกับเอเปก และ อธิบายโครงสร้างการค้าของไทยกับประเทศในเอเปก และ 3. โอกาสและแนวโน้มการค้าของไทยกับเอเปก ข้อมูลที่ใช้ในด้านการค้าระหว่างประเทศมีแหล่งที่มาจาก United Nations Statistic Office, “Commodity Trade Statistic” UN, และ “Foreign Trade Statistics of Asia and the Pacific” ESCAP ส่วนข้อมูลด้านแรงงานและทุน ได้มาจาก Balassa’s Factor Proportion Data โดยข้อมูลเหล่านี้จะใช้ในการวิเคราะห์ดัชนีการค้าต่าง ๆ และ model ค่าดัชนีการค้าที่ใช้ในการวิเคราะห์ในครั้งนี้ได้แก่ Intra-Industry Trade (IIT), Revealed Comparative Advantage (RCA), Trade Intensity Index (TII), Trade Complemetary Index (TCI), และ Trade Bias Index (TBI) ซึ่งเป็นดัชนีใช้ในการวัดการค้าระหว่างประเทศในรูปแบบต่าง ๆ และใช้ 3 model ในการวิเคราะห์คือ 1. การวัดสัดส่วนของการใช้ปัจจัยการผลิต 2. ปัจจัยที่มีผลต่อ Intra-Industry Trade และ 3. ปัจจัยที่มีผลต่อความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (RCA) รูปแบบการค้าของประเทศไทย กับประเทศพัฒนาแล้วในภูมภาคเอเชียแปซิฟิก จะเป็นไปในลักษณะที่สอดคล้องกับ Factor Proportion Model สำหรับการค้าระหว่างไทยกับ ASEAN หรือ NICs จะเป็นในลักษณะ Intra-Industry Trade โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าระหว่างไทยกับอาเซียน นอกจากนั้นการศึกษาพบว่าประเทศไทยมี trade intensity กับกลุ่มประเทศอาเซียนมากที่สุด เนื่องจากตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันและมีสถานะหลาย ๆ อย่างคล้าย ๆ กัน เช่น วัฒนธรรม ศาสนา และ ภาษาเป็นต้น การเพิ่มขึ้นของการค้าระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้นถ้าประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคมารวมกลุ่มกันโดยมีการกำหนดให้เกิดการค้าและการลงทุนอย่างเสรี หากประเทศในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจ จะทำให้ประเทศสมาชิกได้รับประโยชน์จากการค้าเสรีมากขึ้น

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “วิทยานิพนธ์จุฬาฯ เกี่ยวกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน 0




Location



Office of Academic Resources, Chulalongkorn University, Phayathai Rd. Pathumwan Bangkok 10330 Thailand

Contact Us

Tel. 0-2218-2929,
0-2218-2927 (Library Service)
0-2218-2903 (Administrative Division)
Fax. 0-2215-3617, 0-2218-2907

Social Network

  line

facebook   instragram