function hideloginbutton() { if (window.location.href.indexOf("chula.idm.oclc.org") > -1) { document.getElementById("linkl").style.display = "none"; document.getElementById("linklo").style.display = "block"; } }
Office of Academic Resources
Chulalongkorn University
Chulalongkorn University

Home  /  OAR Recommended Books


การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย

การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะความเข้มแข็งของครอบครัว วิธีและปัจจัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย 2) พัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย 3) เสนอแนวทางการใช้กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย ระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาแบบพหุกรณีศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารและสื่อ แบบสัมภาษณ์ และประเด็นสนทนากลุ่ม โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะของบริบทสังคมไทยที่มีในครอบครัวนำไปใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหาของทุกวัตถุประสงค์ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย (1) เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 1: ศึกษาเอกสารและสื่อจำนวน 12 รายการ และสัมภาษณ์เชิงลึก ครอบครัวที่มีความเข้มแข็งจำนวน 15 ครอบครัว (2) เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 2: สัมภาษณ์ครอบครัวที่มีความเข้มแข็ง 15 ครอบครัวเดิม และการสนทนากลุ่มครั้งที่ 1 (3) เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 3: สนทนากลุ่มครั้งที่ 2 และสรุปแนวทางการใช้กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย โดยผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ที่ 1 มี 3 ส่วน คือ 1.1) ลักษณะความเข้มแข็งของครอบครัว มี 9 ประการ ดังนี้ (1) มีสัมพันธภาพที่ดี (2) รู้บทบาทหน้าที่ของตน (3) การยึดมั่นคำสัญญา เชื่อใจ และมีความเชื่อ (4) มีการสื่อสารระหว่างกันและกันในด้านบวก (5) มีทุนทางสังคม (6) มีความสามารถในการพึ่งตนเอง (7) มีความสามารถในการจัดการปัญหา (8) มีหลักคำสอนศาสนายึดเหนี่ยวจิตใจในครอบครัว (9) มีลักษณะความเป็นพ่อแม่ต้นแบบและเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต 1.2) วิธีการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย มี 6 ประการ ดังนี้ (1) การพูดคุย สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (2) การทำตัวเป็นแบบอย่าง (3) การปรับตัว การปรับวิธีคิด การปรับความเชื่อ และความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง (4) การเรียนรู้ในครอบครัว (5) การปลูกฝังให้เป็นครอบครัวคุณธรรม (6) การเรียนรู้ทักษะชีวิตและทักษะการอยู่ร่วมกันกับคนอื่น 1.3) ปัจจัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย มี 8 ปัจจัย ดังนี้ (1) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (2) ปัจจัยด้านการดำเนินชีวิต (3) ปัจจัยด้านสัมพันธภาพ (4) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจของครอบครัว (5) ปัจจัยด้านสุขภาพของครอบครัว (6) ปัจจัยด้านการสื่อสารทัศนคติเชิงบวก (7) ปัจจัยด้านคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมการเรียนรู้ (8) ปัจจัยด้านความมีศาสนา 2. ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ที่ 2 คือ กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย มี 6 ขั้นตอน ดังนี้ 2.1) ทำความเข้าใจและยอมรับซึ่งกันและกัน 2.2) วางเป้าหมาย 2.3) กำหนดแนวทางปฏิบัติร่วมกัน 2.4) ปฏิบัติตามแนวคิดร่วมกัน 2.5) ร่วมพูดคุยกันหลังปฏิบัติ 2.6) ทบทวนและปรับพัฒนา 3. ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ที่ 3 คือ แนวทางการใช้กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย ประกอบด้วย ความเชื่อพื้นฐาน ปัจจัยสนับสนุน วิธีการ และเงื่อนไขการใช้ และผู้วิจัยเสนอระดับการใช้ ประกอบด้วย 3.1) ระดับนโยบาย แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ (1) นโยบายการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในครอบครัว และ (2) นโยบายส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว และ 3.2) ระดับปฏิบัติการ แบ่งเป็นระดับ 4 ส่วน คือ (1) บุคคล/ตนเอง (2) ครอบครัว (3) โรงเรียน (4) ชุมชน (บทคัดย่อ)

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “ครอบครัว” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน 0




Location



Office of Academic Resources, Chulalongkorn University, Phayathai Rd. Pathumwan Bangkok 10330 Thailand

Contact Us

Tel. 0-2218-2929,
0-2218-2927 (Library Service)
0-2218-2903 (Administrative Division)
Fax. 0-2215-3617, 0-2218-2907

Social Network

  line

facebook   instragram