function hideloginbutton() { if (window.location.href.indexOf("chula.idm.oclc.org") > -1) { document.getElementById("linkl").style.display = "none"; document.getElementById("linklo").style.display = "block"; } }
Office of Academic Resources
Chulalongkorn University
Chulalongkorn University

Home  /  OAR Recommended Books


การพัฒนาการรู้สภาพภูมิอากาศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับการใช้เกม

การพัฒนาการรู้สภาพภูมิอากาศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับการใช้เกม

การบรรเทาความรุนแรงของปัญหาสภาพภูมิอากาศเป็นหน้าที่ของพลเมืองโลกทุกคน การพัฒนาให้เยาวชนมีการรู้สภาพภูมิอากาศจึงเป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วน จากความเชื่อว่าการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบที่สนับสนุนให้นักเรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเกมสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีความหมายจากประสบการณ์ในสถานการณ์สมมติ จึงนำมาสู่การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับการใช้เกมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการรู้สภาพภูมิอากาศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาต้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นโดยมีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียนจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดน่านที่ได้จากจากการเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากบริบททางการเกษตรของชุมชนเป็นพื้นที่เปราะบางในการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากกิจกรรมทางการเกษตรและได้รับภัยพิบัติที่เป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับการใช้เกมจำนวน 6 แผนที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ 5 ขั้นตอนร่วมกับเกมที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมใน 4 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างความสนใจ การสำรวจและค้นหา การขยายความรู้ และการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบวัดความเข้าใจสภาพภูมิอากาศ และแบบวัดความตระหนักต่อสภาพภูมิอากาศ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีการรู้สภาพภูมิอากาศหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยระดับการรู้สภาพภูมิอากาศเพิ่มจากระดับไม่มีความสนใจในประเด็นสภาพภูมิอากาศเป็นระดับมีความสนใจในประเด็นสภาพภูมิอากาศ นักเรียนมีแนวโน้มในการพัฒนาการรู้สภาพภูมิอากาศไปสู่ระดับมีการแสดงออกของพฤติกรรมภายใต้เงื่อนไขที่สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน การเลือกประเด็นที่นำเสนอในการจัดการเรียนรู้ควรจะนำไปประยุกต์ได้จริงในชีวิตประจำวัน (บทคัดย่อ)

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน 0




Location



Office of Academic Resources, Chulalongkorn University, Phayathai Rd. Pathumwan Bangkok 10330 Thailand

Contact Us

Tel. 0-2218-2929,
0-2218-2927 (Library Service)
0-2218-2903 (Administrative Division)
Fax. 0-2215-3617, 0-2218-2907

Social Network

  line

facebook   instragram