function hideloginbutton() { if (window.location.href.indexOf("chula.idm.oclc.org") > -1) { document.getElementById("linkl").style.display = "none"; document.getElementById("linklo").style.display = "block"; } }
Office of Academic Resources
Chulalongkorn University
Chulalongkorn University

Home  /  OAR Recommended Books


ภาษา การสื่อสาร และโรคซึมเศร้า : การสำรวจเบื้องต้นเพื่อความเข้าใจโรคซึมเศร้าและผู้มีภาวะซึมเศร้าในสังคมไทย

ภาษา การสื่อสาร และโรคซึมเศร้า : การสำรวจเบื้องต้นเพื่อความเข้าใจโรคซึมเศร้าและผู้มีภาวะซึมเศร้าในสังคมไทย

โครงการวิจัยนี้ ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประจำปี พ.ศ. 2559 เป็นการวิจัยเชิงบูรณาการระหว่างวิจัยเชิงปริมาณกับวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยข้ามสาขาระหว่างภาษา การสื่อสาร และจิตวิทยา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงสำรวจอุบัติการณ์ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยไทย กรณีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำรวจภาษาที่ใช้สื่อสารเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในวาทกรรมสาธารณะและวาทกรรมของนักศึกษาที่มีภาวะซึมเศร้า เพื่อค้นหาลักษณะทางภาษาที่บ่งชี้สัญญาณของโรคซึมเศร้า สำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องมือสื่อสารโรคซึมเศร้าที่เหมาะสมต่อไป วิธีวิจัยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ CES-D แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า แบบประเมินโรคซึมเศร้า ใช้ข้อมูลการบันทึกชีวิตประจำวันต่อเนื่องเป็นเวลา 2 เดือน และการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ด้านอุบัติการณ์ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอัตราร้อยละ 23.3 ซึ่งสูงกวาอัตราร้อยละ 4 ของประชากรไทยที่เข้าข่ายภาวะซึมเศร้าตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลกปี ค.ศ. 2017 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และพบว่านักศึกษาเพศชายมีอัตราเข้าข่ายภาวะซึมเศร้ามากกว่าเพศหญิงซึ่งเป็นอุบัติการณ์ที่ต่างจากที่อื่น ด้านภาษาซึมเศร้าของนักศึกษา พบว่ามีลักษณะเด่นที่การใช้คำบ่งชี้บุคคลที่เป็นผู้พูดหรือสรรพนามบุรุษที่ 1 ที่เน้นการกผู้รับซึ่งบ่งชี้ว่าผู้พูดเป็นผู้รับสภาพและเป็นผู้ถูกกระทำ การใช้ศัพท์ที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกทางลบ... ซึ่งสอดคล้องกับวาทกรรมการแพทย์ที่เผยแพร่ในสาธารณะ... ด้านการวิเคราะห์เรื่องเล่า พบว่ามีแบบเรื่องของเรื่องเล่าโรคซึมเศร้าที่แสดงให้เห็นบริบทชีวิตของนักศึกษาที่ส่วนใหญ่มีประสบการณ์เป็นโรคซึมเศร้าก่อนที่จะเข้ามหาวิทยาลัย ปมเกี่ยวกับคนในครอบครัว เรื่องเพื่อนและแฟน เรื่องการเรียน จนทำให้เป็นโรคซึมเศร้า เมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัยก็ยังต้องเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้าควบคู่ไปด้วย ส่วนวาทกรรมในสื่อสาธารณะ พบว่ามีการสื่อสารที่ทำให้เห็นว่าการสื่อความหมายเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าต่างมุมมองกัน ระหว่างมุมมองทางการแพทย์และวาทกรรมสื่อมวลชน... การศึกษาวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า การสื่อสารโรคซึมเศร้าในสังคมไทยควรเน้นการให้ข้อมูลเชิงประสบการณ์ที่หลากหลาย และควรให้ความรู้เชิงมิติทางสังคมที่จะทำให้เข้าใจบริบทชีวิตที่เป็นปัจจัยไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ การดูแลปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยไทยควรที่จะต้องพิจารณาและตระหนักถึงความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในบริบทครอบครัวและบริบทเฉพาะของสถาบันการศึกษาด้วย เพื่อให้มีระบบการดูแลและให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตแก่นักศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนต่อไป

หนังสือเล่มหนึ่งจากหลายเล่มในนิทรรศการหนังสือแนะนำ “จะซึม จะเศร้า ก้าวผ่านได้” จัดแนะนำ ชั้น 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดือน กันยายน 2563


LOCATIONCALL#STATUS
Arts LibraryR118 จ215ภCHECK SHELVES
Arts LibraryR118 จ215ภCHECK SHELVES
Central Library (4th Floor)616.8527 จ285ภ 2563DUE 01-02-22 BILLED
Central Library (4th Floor)616.8527 จ285ภ 2563CHECK SHELVES



Location



Office of Academic Resources, Chulalongkorn University, Phayathai Rd. Pathumwan Bangkok 10330 Thailand

Contact Us

Tel. 0-2218-2929,
0-2218-2927 (Library Service)
0-2218-2903 (Administrative Division)
Fax. 0-2215-3617, 0-2218-2907

Social Network

  line

facebook   instragram