function hideloginbutton() { if (window.location.href.indexOf("chula.idm.oclc.org") > -1) { document.getElementById("linkl").style.display = "none"; document.getElementById("linklo").style.display = "block"; } }
Office of Academic Resources
Chulalongkorn University
Chulalongkorn University

Home  /  OAR Recommended Books


การใช้เศษแก้วในการทำอิฐคอนกรีตเพื่อใช้เป็นทางเลือกในการจัดการเศษแก้วในเกาะสีชัง

การใช้เศษแก้วในการทำอิฐคอนกรีตเพื่อใช้เป็นทางเลือกในการจัดการเศษแก้วในเกาะสีชัง

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการใช้เศษแก้วแทนที่มวลรวม และระยะเวลาบ่มในการผลิตอิฐคอนกรีต รวมทั้งประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ และประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเศษแก้วบนเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี การใช้เศษแก้วแทนที่มวลรวมที่ทำการศึกษา คือ ร้อยละ 0 10 20 30 และ 100 ระยะเวลาบ่มที่ 7 14 และ 28 วัน และมีขนาดอนุภาคอยู่ในช่วง 0.150 ถึง 4.75 มิลลิเมตร จากการศึกษาคุณสมบัติของอิฐคอนกรีตพบว่า การใช้เศษแก้วแทนที่ทรายหยาบร้อยละ 20 บ่มที่ 28 วัน ให้กำลังรับแรงอัดสูงที่สุด (48.49 เมกะปาสคาล) และให้การดูดซึมน้ำต่ำที่สุด (5.35%) ซึ่งมีกำลังรับแรงอัดสูงกว่าอิฐคอนกรีตที่ไม่มีการแทนที่ด้วยเศษแก้ว (ร้อยละ 0) และบ่มที่ 28 วัน ซึ่งมีกำลังรับแรงอัดเท่ากับ 45.06 เมกะปาสคาล (สูงกว่าร้อยละ 7.61) จากการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์โดยโปรแกรมสำเร็จรูป SimaPro 8.3 ใช้วิธี Eco-indicator 99 พิจารณาตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบ การขนส่ง และการผลิต พบว่าอิฐคอนกรีตที่ใช้เศษแก้วแทนที่ทรายหยาบร้อยละ 20 (1.33 Pt) มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าอิฐคอนกรีตทั่วไป (1.56 Pt) และสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ร้อยละ 17.3 (ต่อการใช้งาน 1 ตารางเมตร) และการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ พบว่าจุดคุ้มทุนของการนำเศษแก้วมาใช้ในการผลิตอิฐคอนกรีตเท่ากับ 233,333 ก้อน ระยะเวลาในการคืนทุนเท่ากับ 17 เดือน ดังนั้น เศษแก้วสามารถใช้แทนที่มวลรวมบางส่วนในการผลิตอิฐคอนกรีต และสามารถใช้เป็นวัสดุทางเลือกสำหรับการจัดการเศษแก้วได้ (จากบทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63288

หนังสือเล่มหนึ่งจากหนังสือแนะนำ “วิทยานิพนธ์สิ่งแวดล้อม” เดือน มิถุนายน 2563




Location



Office of Academic Resources, Chulalongkorn University, Phayathai Rd. Pathumwan Bangkok 10330 Thailand

Contact Us

Tel. 0-2218-2929,
0-2218-2927 (Library Service)
0-2218-2903 (Administrative Division)
Fax. 0-2215-3617, 0-2218-2907

Social Network

  line

facebook   instragram