function hideloginbutton() { if (window.location.href.indexOf("chula.idm.oclc.org") > -1) { document.getElementById("linkl").style.display = "none"; document.getElementById("linklo").style.display = "block"; } }
Office of Academic Resources
Chulalongkorn University
Chulalongkorn University

Home  /  OAR Recommended Books


ความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ

ความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นปึกแผ่นของประชากรต่างรุ่นในครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือรวมถึง 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความเป็นปึกแผ่นของประชากรต่างรุ่นในครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ และ 3)เพื่อศึกษารูปแบบโครงสร้างและความสัมพันธ์ในครอบครัวในอนาคตของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ โดยอาศัยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำคัญดังนี้ 1) ระดับความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือ จากมิติของความเป็นปึกแผ่นใน 4 มิติ คือ ความเป็นปึกแผ่นเชิงหน้าที่ ความเป็นปึกแผ่นเชิงความรู้สึก มิติความเป็นปึกแผ่นเชิงบรรทัดฐาน และความเป็นปึกแผ่นเชิงปฏิสัมพันธ์ร่วม พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาเผ่าประชากรต่างรุ่นในครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือโดยรวมมีระดับความเป็นปึกแผ่นมาก โดยกลุ่มชาติพันธุ์ม้งมีระดับสูงที่สุด 2) ปัจจัยทางด้านทุนทางสังคม ในส่วนของ จำนวนบุตรในครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัว และลักษณะรูปแบบโครงสร้างครอบครัว ปัจจัยทางด้านความเป็นชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน ปัจจัยทางด้านทุนทางเศรษฐกิจ และสถานภาพการทำงาน มีผลต่อระดับความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือโดยรวม และในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ 3) แนวโน้มโครงสร้างครอบครัวในด้านจำนวนบุตรของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือจากอดีตสู่อนาคต พบว่ามีแนวโน้มที่ลดลง 4) ปัจจัยทางด้านความเป็นชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน ปัจจัยทางด้านทุนทางสังคม ในส่วนของ ลักษณะรูปแบบโครงสร้างครอบครัว ปัจจัยทางด้านมิติความสัมพันธ์ระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัว ปัจจัยทางด้านทุนมนุษย์ในส่วนของระดับการศึกษา มีผลต่อจำนวนบุตรในปัจจุบันและความต้องการจำนวนบุตรที่จะมีในอนาคตในครอบครัวของกลุ่มาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือโดยรวม และในแต่ละกลุ่มชาตพันธุ์ 5) ภาพอนาคตของครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือสอดคล้องกันทุกกลุ่มชาติพันธุ์ตั้งแต่ ปัจจัยด้านทุนทางสังคมที่ให้ความสำคัญกับการสมรสการสร้างครอบครัวซึ่งยังคงยึดถือปฏิบัติเป็นจารีตประเพณีที่สำคัญ รวมทั้งความต้องการในการอยู่ร่วมกันหลายรุ่นในครอบครัว ในส่วนปัจจัยความสัมพันธ์และความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัวในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการปฏิสัมพันธ์ลดลง แต่ยังคงมีความเชื่อเรื่องกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดาที่ยังเหนียวแน่นจากรุ่นสู่รุ่น ส่วนในด้านของปัจจัยทุนมนุษย์ในอนาคตจะมีการย้ายถิ่นมากขึ้นเนื่องจากมีความต้องการในการทำงานที่มีความมั่นคงทางรายได้ รวมไปถึงการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาเพื่อพัฒนาตนเองที่เพิ่มมากขึ้น (บางส่วนจากบทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59469




Location



Office of Academic Resources, Chulalongkorn University, Phayathai Rd. Pathumwan Bangkok 10330 Thailand

Contact Us

Tel. 0-2218-2929,
0-2218-2927 (Library Service)
0-2218-2903 (Administrative Division)
Fax. 0-2215-3617, 0-2218-2907

Social Network

  line

facebook   instragram