function hideloginbutton() { if (window.location.href.indexOf("chula.idm.oclc.org") > -1) { document.getElementById("linkl").style.display = "none"; document.getElementById("linklo").style.display = "block"; } }
Office of Academic Resources
Chulalongkorn University
Chulalongkorn University

Home  /  OAR Recommended Books


การพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักวิถีชีวิตสีเขียวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของครอบครัว

การพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักวิถีชีวิตสีเขียวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของครอบครัว

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของครอบครัวที่มีวิถีชีวิตสีเขียวจากกรณีศึกษาที่ดีเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นครอบครัวสีเขียวที่เป็นกรณีศึกษาที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ (2) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักวิถีชีวิตสีเขียวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของครอบครัว ใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้วิจัยและครอบครัวทดลอง ผลการวิจัยพบว่า วัตถุประสงค์ข้อ 1 ข้อมูลพื้นฐานของครอบครัวสีเขียว ประกอบด้วย 1) พื้นฐานของครอบครัว ได้แก่ สมาชิกครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันสมาชิกสามารถจัดการพื้นที่ในบ้านให้ใช้ประโยชน์ได้และ สมาชิกมีพื้นความรู้ ความสนใจบางอย่างที่นำมาใช้ในการปฏิบัติตามวิถีชีวิตสีเขียวได้ 2) แรงจูงใจในการมีวิถีชีวิตสีเขียว มาจากปัญหาสุขภาพ ความตระหนักในสิ่งแวดล้อมของโลก และความสนใจในเกษตรกรรม 3) เนื้อหาของวิถีชีวิตสีเขียวที่ปฏิบัติ แบ่งได้เป็น การปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่น และการปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล 4) การเรียนรู้ของครอบครัวในการมีวิถีชีวิตสีเขียวเป็นการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว 5) สุขภาวะของครอบครัว ส่วนใหญ่ดีขึ้นจากเดิมทั้งทางกาย จิตใจ และสังคม และ 6) กระบวนการเรียนรู้ของครอบครัว มี 9 ขั้นตอน อาทิ การเริ่มต้นจากแรงจูงใจด้านปัญหาสุขภาพ การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ การลงมือทำในครอบครัว การเรียนรู้เพิ่มเติมเมื่อพบปัญหาและอุปสรรคจากแหล่งเรียนรู้หรือประสบการณ์ของสมาชิกครอบครัว วัตถุประสงค์ข้อ 2 กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักวิถีชีวิตสีเขียวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของครอบครัว พบว่า ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเรียนรู้เพื่อการเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนแปลง 2) การเรียนรู้เพื่อรับหรือปรับเปลี่ยนวิธีคิดหรือวิธีปฏิบัติและ 3) การเรียนรู้จากผลของการเปลี่ยนแปลงซึ่งในแต่ละขั้นตอนประกอบด้วยปัจจัยและเงื่อนไขที่จะทำให้กระบวนการเรียนรู้ในขั้นนั้นๆ ประสบความสำเร็จหรือเกิดอุปสรรคได้โดยที่ปัจจัย ได้แก่ สมาชิกของครอบครัวเปิดใจในการร่วมกันเรียนรู้ และการสื่อสารที่ดีในครอบครัว เงื่อนไข ได้แก่ ความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในครอบครัว และ การปฏิบัติที่เกิดขึ้นนั้นต้องจริงจังและต่อเนื่อง การวิจัยเรื่องนี้สร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวิถีชีวิตสีเขียวและเนื้อหาของครอบครัวสีเขียวที่มาจากวิธีการตามหลักวิชา และกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักวิถีชีวิตสีเขียวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของครอบครัว ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการนำไปใช้ทั้งในชีวิตประจำวันและส่งเสริมการเรียนรู้ต่อกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะที่เป็นครอบครัว ตลอดจนผู้สนใจกลุ่มอื่น ๆ ต่อไปได้ (บางส่วนจากบทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58088




Location



Office of Academic Resources, Chulalongkorn University, Phayathai Rd. Pathumwan Bangkok 10330 Thailand

Contact Us

Tel. 0-2218-2929,
0-2218-2927 (Library Service)
0-2218-2903 (Administrative Division)
Fax. 0-2215-3617, 0-2218-2907

Social Network

  line

facebook   instragram