คำถามและข้อเสนอแนะ ศูนย์วิทยทรัพยากร ประจำเดือน ธันวาคม 2553

ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม 2554

คำถาม     Hello, this is the person who has just called you. My name is Yoshiaki Tatewaki. I am a student at The University of Tokyo, majoring Russian studies.

To make a research for Thai-Russia relations I would like to know the person who is responsible for the information center of Russian studies, which is going to be opened at the main library of Chulalongkorn University in July. I would like to contact him or her. My phone number is 086-074-9351

Waiting for reply.
Yoshi

คำตอบ      Dear Mr Yoshi,

The project of setting up the Russian Studies Information Center at the Center of Academic Resources, Chulalongkorn University is in the process. If you need more information or any help with your research, please contact The Centre for Russian Studies of Chulalongkorn University at CRS@Chula.ac.th.

With best regards,
Porntip Aueapaikul
Head of International Information Center
Center of Academic Resources

 

ข้อเสนอแนะ      สวัสดีครับ webmaster ผมชื่อสุทัศน์ ปึงศิริพัฒนา เป็นนิสิตคณะอักษรศาสตร์ภาควิชาปรัชญาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอแนะนำรายชื่อหนังสือเพื่อให้ห้องสมุดจัดหาไว้ในห้องสมุดครับ

รายชื่อหนังสือข้างล่างนี้ส่วนใหญ่จะถูกอ้างอิงถึงบ่อยๆ ครับ บางเล่มที่ผมไม่แน่ใจว่าห้องสมุดมีหรือไม่ก็จะวงเล็บต่อท้ายไว้ครับ
และบางเล่มอาจจะหาเป็นหนังสืออีเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยครับ ซึ่งถ้าห้องสมุดสั่งเป็นหนังสืออีเล็กทรอนิกส์ได้ผมจะขอขอบคุณอย่างสูงครับ

  1. Anscombe, G. E. M. (1957), Intention (Oxford: Blackwell).
  2. (Dancy, J. ed.) (1997), Reading Parfit (Oxford: Blackwell).
  3. Darwall, S. (1983), Impartial Reason (Ithaca, NY: Cornell University Press).
  4. Hursthouse, R., Lawrence, G., and Quinn, W. (eds.) (1995), Virtue and Reasons (Oxford: Clarendon Press).
  5. Korsgaard, C. M. (1996), Creating the Kingdom of Ends (Cambridge: Cambridge University Press).
  6. Nagel, T. (1970), The Possibility of Altruism (Princeton: Princeton University Press).
  7. Raz, J. (ed.) (1978), Practical Reason (Oxford: Oxford University Press).
  8. Scanlon, T. (1999), What we Owe to Each Other (Cambridge, Mass.: Harvard University Press). (ไม่แน่ใจว่าห้องสมุดมีหรือไม่)
  9. Schueler, G. F. (1995), Desire: Its Role in Practical Reason and the Explanation of Action (Cambridge, Mass.: MIT Press).
  10. Stout, R. (1996), Things that Happen because they Should (Oxford: Oxford University Press).
  11. Williams, B. A. O. (1995), Making Sense of Humanity (Cambridge: Cambridge University Press). (ไม่แน่ใจว่าห้องสมุดมีหรือไม่)
  12. Harrison R. (ed.), Rational Action (Cambridge: Cambridge University Press),

 

คำตอบ      เรียน คุณสุทัศน์ ข้อแนะนำรายชื่อหนังสือที่ส่งไปนั้น ทางหอสมุดกลางรับทราบแล้วและจะได้พิจารณาและแจ้งผลให้ทราบต่อไป
ขอส่งความสุขปีใหม่แด่คุณสุทัศน์ค่ะ

ทิพวรรณ
webmaster

 

คำถาม     มีรายการสืบค้นวิทยานิพนธ์ ดังต่อไปนี้ ผู้แจ้งเขียนมาเฉพาะชื่อผู้แต่ง ดังนี้

  1. ผกา วัฒนบุญยงเจริญ
  2. มาณวิกา พรหมมานอก
  3. ชฎาทิพย์ ชยางกูร
  4. วรวรรณ วิมลกาญจนา
  5. พัชราภรณ์ คำสิงห์
  6. รัตน์เกล้า อาณานุการ
  7. พนิดา เอกภูธร
  8. ธรรมรัตน์ อัจฉริยวิทิต
  9. วรวุฒิ กายวิจิตร
  10. ชาติญา แสงตาล

ซึ่งทุกเล่ม(10 รายการ) เหล่านี้โชว์ที่หน้า web site ว่ามีอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ทำไมไม่มีข้อมูลอยู่ที่ หอสมุดกลาง ค่ะ

คำตอบ     ทางฝ่ายวิเคราะห์ฯ ได้ตรวจสอบทั้ง 10 รายการแล้ว พบว่าเป็น เอกสาร การวิจัย ประกอบการศึกษาหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต ของคณะรัฐศาสตร์ ซึ่งเข้าใจว่าไม่ใช่วิทยานิพนธ์และไม่ได้ผ่านมาทางบัณฑิตวิทยาลัย ทาง CL จึงไม่มีเอกสารพวกนี้

ข้อมูลเพิ่มเติมจากหัวหน้าฝ่ายพัฒนาทรัพยากรฯ แจ้งว่าได้สอบถามจากบัณฑิตวิทยาลัยแล้ว ความว่า นิสิตระดับปริญญาโทและเอก (ทุกคณะ) ที่เลือกทำแผน ข สอบรวบยอด เมื่อนิสิตสอบเสร็จแล้วจะไม่ได้ส่งตัวเล่มงานค้นคว้าวิจัยอิสระให้บัณฑิตวิทยาลัย นิสิตจะส่งให้กับหลักสูตร ซึ่งบางหลักสูตรส่งเอกสารให้กับห้องสมุดคณะเผยแพร่ บางหลักสูตรให้บริการเองโดยไม่ได้ส่งให้กับห้องสมุดคณะ และหลักสูตรไม่ได้ส่งตัวเล่มมาให้กับทางหอสมุดกลางค่ะ

จากคำถามของผู้ใช้ทั้ง 10 รายการเป็นเอกสารการวิจัยที่นิสิตแผน ข ทำ
ขอแนะนำให้ผู้ใช้ไปใช้ที่ห้องสมุดคณะตามที่มีรายการแจ้งไว้ใน OPAC ค่ะ

 

ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2553

ข้อเสนอแนะ     ควรจะscan วิทยานิพนธ์ทั้งหมดให้เป็น PDF ดังที่หอสมุดม.ธรรมศาสตร์ได้จัดทำแล้ว เพราะ hard copy นั้น ต้องมาใช้ที่ห้องสมุดและในขณะที่มีคนอื่นใช้ ก็จะพลาดโอกาสในการใช้ ไฟล์วิทยานิพนธ์มีน้อยมาก ห้องสมุดควร outsource ให้มีการจัดจ้างทำรวดเร็ว การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย+การค้นคว้าจะได้ทวีความรวดเร็วยิ่งขึ้น

จาก อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ

 

คำตอบ     ศูนย์วิทยทรัพยากร ขอเรียนให้ข้อมูลเพิ่มเติมจากข้อเสนอแนะที่อาจารย์ได้กรุณาเสนอแนะผ่านแบบฟอร์มสำรวจความคิดเห็น ในเรื่องการสแกนวิทยานิพนธ์เพื่อการทำเป็น PDF ว่า ศูนย์วิทยทรัพยากรได้มีความตั้งใจในการจัดให้บริการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ ให้ครอบคลุมผลงานทั้งหมดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านระบบออนไลน์ในทุกฉบับ แต่ด้วยข้อจำกัดที่ว่า ในระยะแรกบัณฑิตวิทยาลัยได้อนุญาตให้ศูนย์วิทยทรัพยากรเผยแพร่วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มที่มีผลการประเมินในระดับดีและดีมากเท่านั้น (ซึ่งขณะนี้เราทำย้อนหลังถึงปีการศึกษา 2538 แล้ว) ต่อมาจากการประชุม ครั้งที่ 5/2552 วันที่ 13 สิงหาคม 2552 คณะกรรมการบริหารบัณฑิตวิทยาลัยมีมติเห็นชอบให้ศูนย์วิทยทรัพยากรสามารถเผยแพร่วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มของนิสิตที่สำเร็จการศึกษาทั้งหมดตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป

จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศและฝ่ายระบบสารสนเทศ