![]() |
ข้อเสนอแนะจากกล่องรับความคิดเห็น สถาบันวิทยบริการ ประจำเดือน กรกฎาคม 2549
คำถาม ควรติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิด ในบริเวณที่จัดไว้ในห้องอ่านหนังสือ เพื่อความปลอดภัยในทรัพย์สินของทุกคนที่เข้ามาใช้บริการ รวมทั้งทรัพย์สินของทางสถาบันฯด้วย
คำตอบ สถาบันฯ ขอขอบคุณในข้อเสนอแนะที่ได้รับ และขอเรียนให้ทราบว่า สถาบันฯ ได้เสนอของบประมาณ ปี พ.ศ. 2550 จากมหาวิทยาลัย เพื่อติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด โดยครอบคลุมจุดบริการต่างๆ ของสถาบันฯ ทั้งหมด ซึ่งหากได้รับการจัดสรรงบประมาณ สถาบันฯ จะสามารถดำเนินการติดตั้งระบบ
ดังกล่าว ให้แล้วเสร็จไม่เกินเดือน เมษายน 2550.
คำถาม สอบถามหน้าที่ของงานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
คำตอบ งานบริการตอบคำถาม ฝ่ายบริการผู้อ่าน สถาบันวิทยบริการ จุฬาฯ มีหน้าที่ประการหนึ่งคือ แนะนำวิธีการค้นหาข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ โดยมีแนวทางหลักในการสืบค้นผ่านฐานข้อมูล ดังนี้
- ทรัพยากรสารสนเทศในสถาบันวิทยบริการ (http://www.car.chula.ac.th)
- ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดในเครือข่ายจุฬาลิเน็ต (http://library.car.chula.ac.th)
- ทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา คือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย 24 แห่งของรัฐ (ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรมในโครงการ ThaiLis)
- สืบค้นจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ
สำหรับประชาคมจุฬาฯ สถาบันฯ ได้ให้บริการฐานข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัย ครอบคลุมสาขาวิชาต่างๆ ด้วย ในกรณีที่มีความประสงค์จะตรวจสอบรายการหนังสือจากห้องสมุดอื่น ท่านสามารถสอบถามที่เคาน์เตอร์บริการตอบคำถามได้ หากมีการตรวจสอบเป็นจำนวนมาก โดยยังไม่ทราบแหล่งข้อมูลที่ชัดเจนขอแนะนำให้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่ CU Cyber Zone ชั้น 2
สำหรับบุคคลภายนอก ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่อำนวยความความสะดวกในการใช้ห้องสมุดทางออนไลน์ ผู้ใช้บริการโปรดตรวจสอบข้อมูลจากฐานข้อมูลห้องสมุดก่อนมาใช้บริการ หากต้องการร้องขอให้ตรวจสอบหนังสือบางรายการจากห้องสมุดอื่น ท่านสามารถสอบถามที่เคาน์เตอร์บริการตอบคำถามได้ หากมีการตรวจสอบเป็นจำนวนมาก โดยยังไม่ทราบแหล่งข้อมูลที่ชัดเจน ท่านจะสะดวกกว่าจากการใช้อินเทอร์เน็ตที่บ้านหรือที่ทำงานของท่าน และขอแนะนำบริการรวบรวมบรรณานุกรม ซึ่งจะนัดหมายให้มารับผลการสืบค้นได้ในภายหลัง
อย่างไรก็ตามสถาบันฯ ยินดีให้บริการต่างๆ ในขอบข่ายที่จะบริการให้ได้เสมอ ขอให้มีการติดต่อสื่อสารทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการอย่างเป็นกัลยาณมิตร และขออภัยถ้าการบริการที่ผ่านมาทำให้เข้าใจไม่ตรงกัน.
- พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 8 ฉบับ บนชั้นหนังสือ
- The Presentation of self in everyday life
คำตอบ รายการที่ 1 พบที่ชั้นหนังสือชั้น 5 หมวด 342.593 พป 371 รายการที่ 2 พบที่ชั้นหนังสือชั้น 5 หมวด 301.12 G612P
หากท่านไม่พบหนังสืออื่นๆ ในครั้งต่อไป โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่และกรอกแบบฟอร์มช่วยค้นหาหนังสือไว้ จะสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
วันที่ติดบอร์ด 4 กรกฎาคม 2549
คำถาม ควรปรับปรุงในเรื่องการเปลี่ยนภาษาไทยของเครื่องคอมฯ OPAC ให้ใช้แบบที่คุ้นเคยทั่วไป จะมีปัญหาจาก ( ? ตามข้อความของผู้เสนอแนะ ) สำหรับบุคคลที่เพิ่งเคยเข้ามาใช้ และอีกอย่างข้อเสียคือเมื่อพิมพ์คำใดๆ ลงไปแล้วมักจะมีเสียงของปุ่มด้วย ทำให้เกิดความรำคาญแก่บุคคลรอบข้างที่เข้ามาใช้ห้องสมุด ขอฝากตรงนี้ด้วย ขอบคุณค่ะ
คำตอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการตามชั้นต่างๆ มีความหลากหลาย โดยเราจะพยายามจัดหาเครื่องให้บริการให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ขณะนี้มีเครื่องที่ให้บริการ OPAC เหลือเพียงไม่ถึง 10 เครื่องในสถาบันวิทยบริการ (นอกนั้นเป็นรูปแบบของ WebOPAC) และการเกิดเสียงเวลากดปุ่มนั้นเป็นความประสงค์ของบรรณารักษ์ที่กำหนดไว้ เพื่อแจ้งผู้ใช้ให้ทราบว่ามีการพิมพ์ผิดเกิดขึ้น ซึ่งได้มีการขอให้ทางเราตั้งค่าเสียงไว้สำหรับเตือนผู้ใช้เวลามีการใช้ปุ่มที่ไม่ถูกต้องค่ะ
.
คำถาม การเปลี่ยนแปลงหน้าเว็บไชต์ของสถาบันฯ ทำให้เกิดความไม่สะดวก ไม่ทราบการปรับปรุงจะเสร็จสิ้นเมื่อใด ทำไมจึงใช้ระยะเวลานานมาก เพราะขณะนี้เปิดเทอมแล้วก็ยังปรับปรุงไม่เสร็จ
คำตอบ Web Site ของสถาบันฯ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายเดือนกรกฎาคม นี้ เหตุที่ต้องใช้เวลาในการปรับปรุงเพิ่มอีก 1 เดือน เพราะ Webmaster ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้วย จึงต้องมีการศึกษาและกำหนด Security ไว้ให้อย่างรัดกุม
.
คำถาม การสืบค้นในกรณีใช้คำสำคัญ ทำไม่ได้เลย การจำกัดการสืบค้นก็ยังมีปัญหา เคยสอบถามไปยังฝ่ายระบบแล้วก็ยังไม่มีคำตอบ
คำตอบ กรณีการสืบค้นด้วยคำสำคัญนั้น ฝ่ายระบบฯ ได้ดำเนินการส่งจดหมาย electronic ไปยังบริษัท Innovative Interfaces Inc., มาตั้งแต่เกิดปัญหา และไม่ได้นิ่งนอนใจที่จะติดตาม (Follow up) ทุกสัปดาห์ ขณะนี้ได้รับทราบว่าปัญหานี้ได้ส่งมอบให้กับ OPAC Specialist โดยตรงจาก Helpdesk แล้ว ดังนั้นฝ่ายระบบฯ ต้องขออภัยในความไม่สะดวกและจะเร่งดำเนินการติดตามอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น จึงขอแนะนำให้เข้าใช้การสืบค้นแบบหัวเรื่อง (Subject Heading) ในระยะนี้ก่อน โดยที่ผลลัพธ์ของการสืบค้น จะได้ตรงตามความต้องการและถูกต้องมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งบรรณารักษ์ได้วิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร หนังสือ ได้ทำรายการหลักฐาน (Authority Files) หรือรายการโยงสำหรับผู้ที่ไม่ทราบว่ามีหัวเรื่องอะไรช่วยในการสืบค้นไว้เป็นอย่างดี ตลอดจนมีการปรับปรุงหัวเรื่องใหม่ๆ ตลอดเวลาเพื่อช่วยผู้ใช้ในการสืบค้นให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด