แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล : กรณีศึกษาการทำธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล : กรณีศึกษาการทำธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย

แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล : กรณีศึกษาการทำธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาแนวคิดเบื้องต้นในการจัดเก็บภาษีเงินได้ในเศรษฐกิจดิจิทัล เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ปริมาณธุรกิจดิจิทัลและการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลของผู้ใช้งานหรือลูกค้ามีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ซึ่งก่อให้เกิดรายได้จำนวนมาก ทว่าประเทศไทยไม่สามารถจัดเก็บภาษีเงินได้กับธุรกิจในเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการปรากฏตัวทางกายภาพของนิติบุคคลในประมวลรัษฎากร จึงทำให้ประเทศไทยขาดรายได้จากการจัดเก็บภาษีในส่วนดังกล่าว ดังนั้น การพิจารณาแนวคิดในการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นยิ่ง การแก้ไขปัญหานี้สำหรับธุรกิจดิจิทัลนั้น ประเทศไทยต้องมีการปรับปรุงจุดเกี่ยวโยงและหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีเงินได้ โดยใช้วิธีการตามข้อเสนอล่าสุดคือ ข้อเสนอแนวทางร่วมกันซึ่งเกิดจากการบูรณาการข้อเสนอขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา แนวทางร่วมกันซึ่งกำหนดจุดเกี่ยวโยงตามข้อเสนอนี้จะทำให้ประเทศไทยมีเขตอำนาจในการจัดเก็บภาษีจากรายได้ส่วนที่เคยจัดเก็บไม่ได้ซึ่งมีจุดเกี่ยวโยงกับประเทศไทย การกำหนดมาตรการจัดเก็บภาษีของประเทศไทยจำต้องพิจารณาทั้งการใช้มาตรการระยะสั้นและระยะยาว โดยจากการศึกษาแนวคิดของต่างประเทศและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกำหนดมาตรการดังกล่าวนั้น มาตรการเพื่อจัดเก็บภาษีระยะสั้นไม่เหมาะสมกับประเทศไทยเพราะอาจก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบโดยเฉพาะประเด็นการถูกตอบโต้ทางการค้าระหว่างประเทศจากประเทศคู่ค้า ดังนั้นประเทศไทยควรรอใช้มาตรการตามข้อเสนอแนวทางร่วมกันซึ่งเป็นมาตรการระยะยาว โดยอาศัยความร่วมมือที่ทำให้เกิดเป็นข้อตกลงระดับพหุภาคีหรือเรียกกันว่าเครื่องมือระดับพหุภาคี(บทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73078

หนังสือแนะนำ “วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์” เดือน กันยายน 2564

updated by Sumal Chausaraku

views 804