แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านกระแสลมของอาคารต่อสภาพแวดล้อมเมือง
แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านกระแสลมของอาคารต่อสภาพแวดล้อมเมือง

แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านกระแสลมของอาคารต่อสภาพแวดล้อมเมือง

การขยายตัวของอาคารประเภทต่างๆ ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเดิม โดยเฉพาะการเคลื่อนที่ของกระแสลมในพื้นที่ซึ่งมีอาคารสูงค่อนข้างมาก และทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการบดบังลมหรือการเกิดช่องลมแรง ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้พื้นที่ งานวิจัยนี้จึงมุ่งประเด็นในเรื่อง การศึกษาผลกระทบของรูปทรงและทิศทางการวางอาคารต่อสภาพแวดล้อมเมืองหรือพื้นที่โดยรอบอาคาร ขอบเขตการศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งตามความหนาแน่นหรืออัตราส่วนพื้นที่ปกคลุมดิน 6 ระดับ (GCR10-60%) ผลการจำลองด้วยโปรแกรมการคำนวณพลศาสตร์ของไหล (CFD) พบว่า พื้นที่ซึ่งมีความหนาแน่นของพื้นที่คลุมดินมาก หรือ GCR 30-60% ได้รับผลกระทบจากการออกแบบและทิศทางการวางอาคารต่างๆค่อนข้างน้อย ในขณะที่การสร้างอาคารบางรูปแบบ บนพื้นที่ซึ่งมีความหนาแน่นของพื้นที่คลุมดินน้อย หรือ GCR 10-30% ทำให้เกิดลมแรงหรือเกิดพื้นที่อับลมมาก และเป็นบริเวณกว้าง พื้นที่กรณีศึกษา GCR = 60% และ GCR = 40% สามารถสร้างอาคารที่มีรูปแบบและทิศทางหลากหลายกว่าพื้นที่อื่นๆ ซึ่งหมายความว่าในสภาพแวดล้อมเมืองที่หนาแน่นอยู่แล้ว อาคารใหม่ที่เพิ่มเติมเข้าไปจะไม่มีส่งผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับการตั้งอาคารใหม่ลงบนพื้นที่ข้างเคียงที่มีความหนาแน่นน้อย ผลการศึกษาได้นำมาสู่การประเมินผลกระทบของกระแสลมต่อสภาพแวดล้อมเมือง สามารถพิจารณารูปแบบและทิศทางการวางอาคารเบื้องต้นให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้พื้นที่โดยรอบมีเปอร์เซ็นต์ acceptable period ของกระแสลมในปริมาณมาก และก่อผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด โดยไม่เสียประโยชน์ด้านการใช้ที่ดิน รวมถึงสามารถลดขั้นนตอนการยื่นเสนอรายงาน และสร้างมาตรฐานในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะประเด็นด้านกระแสลม (จากบทคัดย่อ)

วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์ http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55227

หนังสือเล่มหนึ่งจากหนังสือแนะนำ “วิทยานิพนธ์สิ่งแวดล้อม” เดือน มิถุนายน 2563

updated by Sumal Chausaraku

views 919