Authorฤทัย โลทะกะ
Titleผลของการเสริมใบมะรุมในอาหารต่อการเติบโต การรอด และความต้านทานต่อเชื้อ Vibrio harveyi ของกุ้งขาว Litopenaeus vannamei / ฤทัย โลทะกะ = Effects of drumstick (Moringa oleifera) leaves supplemented diets on growth, survival and resistance against Vibrio harveyi of white shrimp Litopenaeus vannamei / Rutai Lotaka
Imprint 2555
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44844
Descript ก-ฎ, 81 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

ทำการสกัดใบมะรุม (Moringa oleifera) ด้วยตัวทำละลายเอทานอล 95% นำสารสกัดที่ได้มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของ Vibrio harveyi ด้วยวิธี Disc diffusion assay ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดใบมะรุมด้วย 95% เอทานอล สามารถยับยั้งการเจริญของ V. harveyi ได้ที่ความเข้มข้นของสารสกัดใบมะรุม 6.25 mg/ml และสามารถต้านการเจริญของเชื้อได้ดีที่สุดที่ความเข้มข้นของสารสกัดใบมะรุม 800 mg/ml หลังจากนั้นทำการศึกษาผลของอาหารที่เสริมใบมะรุมที่ระดับต่างกัน 4 ระดับ ได้แก่ 0, 1, 5 และ 10 เปอร์เซ็นต์ ในอาหารเลี้ยงกุ้งขาวเพื่อศึกษาผลของใบมะรุมต่อการเติบโต การรอด การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน และความต้านทานต่อเชื้อ V. harveyi ผลการศึกษาหลังจากเลี้ยงกุ้งเป็นระยะเวลา 9 สัปดาห์ พบว่า กุ้งในชุดการทดลองที่เสริมใบมะรุมในอาหารที่ระดับ 5 และ 10 เปอร์เซ็นต์ มีค่าการเติบโตสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P ˂ 0.05) อัตราการรอดของกุ้งขาวในชุดการทดลองที่เสริมใบมะรุมในอาหารที่ระดับ 10 เปอร์เซ็นต์ไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มควบคุม ในขณะที่ค่าการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ได้แก่ ปริมาณเม็ดเลือดรวม และค่าการทำงานของฟีนอลออกซิเดส มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เมื่อสิ้นสุดการทดลองในสัปดาห์ที่ 9 แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P ˂ 0.05) ในการทดลองครั้งที่ 2 เลี้ยงกุ้งด้วยอาหารทดลองเป็นเวลา 6 สัปดาห์ แล้วสุ่มกุ้งเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดโรคด้วย V. harveyi ที่ความเข้มข้นเชื้อ 1 x 10⁷ cfu/ml พบว่า กุ้งในชุดการทดลองที่เสริมใบมะรุมในอาหาร มีค่าอัตราการตายสะสมต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P ˂ 0.05) จากการศึกษานี้ สามารถสรุปได้ว่าการเสริมใบมะรุมในอาหาร ทำให้กุ้งขาวมีความต้านทานต่อการติดเชื้อ V. harveyi ได้
In vitro antibacterial activity of ethanol extract of Moringa oleifera’ s leaves was conducted. Disc diffusion assay was used to assess effect of the extract on Vibrio harveyi. The result showed that ethanol extract could inhibit growth of V. harveyi at 6.25 mg/ml. Effect of M. oleifera’ s leaves powder was studied by supplementing to diets on growth, immune response and disease resistant of white shrimp were investigated in vivo. Shrimp were fed diets containing 0, 1, 5 and 10 percent M. oleifera’ s leaves powder after 9 weeks rearing period. Results showed the final weights and growth performance of shrimp fed diets containing 5 and 10 percent M. oleifera’ s leaves powder were significantly higher than those of the control. Survival rates of shrimp fed diets containing 10 percent M. oleifera’ s leaves powder were not different from the control group. However, shrimp raised on diets supplemented with M. oleifera’ s leaves powder 5 and 10 percent showed slightly improvement in immune parameters, such as Total Hemocyte Count and Phenoloxidase activity after 9 weeks of rearing. In a separate experiment, shrimp were challenged with V. harveyi after 6 weeks of diets testing. The results showed the cumulative mortality of shrimp that fed diets containing M. oleifera’ s leaves powder were significantly lower than that of control group. Base on the present data, M. oleifera’ s leaves powder supplemented diet is a potential prophylactic agent against V. harveyi infection in white shrimp.


SUBJECT

  1. มะรุม
  2. กุ้งขาว
  3. Whiteleg shrimp
  4. Moringa oleifera