Authorปิยมาภรณ์ อุตมัง
Titleผลการลื่นไถลของวัสดุพอลิเมอร์สำหรับการไหลเคลือบเส้นลวด / ปิยมาภรณ์ อุตมัง = Slip effects of a polymeric material for wire-coating flows / Piyamabhorn Uttamung
Imprint 2554
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47126
Descript ก-ญ, 86 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนภูมิ

SUMMARY

การจำลองการไหลเคลือบเส้นลวดของของไหลวิสโคอีลาสติกได้ถูกนำมาพิจารณาสำหรับกรณีการบวมตัวที่มีแรงลาก กรณีของดายแบบเพรชเชอร์ทูลลิ่ง และกรณีของดายแบบทิวบ์ทูลลิ่ง โดยการประยุกต์ใช้สมการเนเวียร์-สโตกส์ และสมการองค์ประกอบแพนเทียนแทนเนอร์สำหรับตัวแบบของการไหลแบบช้าๆ การคำนวณตำแหน่งผิวอิสระทั้งแบบมีผลกระทบของความเร็วลื่นไถลและไม่มีผลกระทบของความเร็วลื่นไถลได้ถูกวิเคราะห์ในระบบพิกัดทรงกระบอก การคำนวณผลเฉลยเชิงตัวเลขหาได้จากระเบียบวิธีชิ้นประกอบเซมิอิมพลิซิทเทย์เลอร์กาเลอร์คินเพรชเชอร์คอร์เรคชัน (Semi-implicit TGPC) ตามเวลา ผลเฉลยสำหรับการไหลอย่างช้าๆ ที่ไม่มีการบีบอัดตัวใน 2 มิติได้นำมาเสนอโดยละแรงโน้มถ่วงของโลก ผลที่ได้จากการจำลองการไหลเคลือบเส้นลวดนำไปเปรียบเทียบกับกรณีที่ไม่พิจารณาผลกระทบของการลื่นไถลที่ผนังดาย และในงานวิจัยนี้ใช้วิธี เกรเดียนต์รีคัฟเวอรีความเร็วและวิธีสายกระแสอัพวิน/เพ็ทโทรฟ-กาเลอร์คิน (SUPG) เข้าช่วยทำให้ผลเฉลยที่ได้นั้นมีความราบเรียบ และมีการปรับโครงข่ายของโดเมนที่ใช้ในการศึกษาหลังจากคำนวณค่าความเร็ว เพื่อทำนายเส้นทางผิวอิสระ พบว่าการลื่นไถลที่ผนังดายมีผลทำให้อัตราการบวมตัว ความเค้นเฉือน อัตราเฉือน อัตรายืด และความดันลดมีค่าลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาเดียวกันที่ไม่มีผลกระทบของการลื่นไถล
The simulation of viscoelastic fluid for wire-coating flow has been considered for die-swell with drag, pressure- and tube-tooling cases via application of Navier-Stokes and Phan-Thien/Tanner constitutive equations for the creeping flow model. The computation of free surfaces after die with and without slip velocity at die wall is analyzed in a axisymmetric coordinate system. Numerical solutions are computed by a time marching semi-implicit Taylor-Galerkin pressure-correction finite element method (Semi-implicit TGPC). The solutions for axisymmetry incompressible creeping flow in the absence of body forces are presented. The wire-coating simulations are compared with the results of no slip input. This research uses the velocity gradient recovery and the streamline-upwind/Petrov-Galerkin (SUPG) techniques to stabilize the converge solutions. The mesh beyond die is re-localized after velocity field and free surface calculations in order to predict free surface path. The slip velocity at die-wall reduces the swelling ratio, shear stress, shear rate, extensional rate and pressure drop when compare with the same problems with no-slip condition.


SUBJECT

  1. ลวด
  2. วัสดุวิสโคอิลาสติก
  3. กระบวนการเคลือบผิว
  4. Wire
  5. Viscoelastic materials
  6. Coating processes

LOCATIONCALL#STATUS
Science Library : Thesisวพ.2554 / 6175 CHECK SHELVES