Authorจตุรงค์ พูลทวี
Titleการคัดเลือกราเอคโตไมคอร์ไรซาที่ทนโลหะหนัก / จตุรงค์ พูลทวี = Selecton for heavy metal-tolerant ectomycorrhizal fungi / Jaturong Pooltavee
Imprint 2552
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18135
Descript ก-ฒ, 119 แผ่น : ภาพประกอบ

SUMMARY

งานวิจัยนี้ได้คัดเลือกราเอคโตไมคอร์ไรซาสายพันธุ์ที่ทนทานต่อโลหะหนัก ได้แก่ สังกะสี ทองแดง ตะกั่ว และแคดเมียม และศึกษาการเจริญของกล้าไม้ยางนาที่มีราเอคโตไมคอร์ไรซาในภาวะที่มีโลหะหนัก เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการปลูกสร้างสวนป่าในบริเวณที่ปนเปื้อนโลหะหนักใน อนาคต โดยราเอคโตไมคอร์ไรซาที่แยกได้จากแหล่งตามธรรมชาติของประเทศไทยอยู่ในกลุ่ม Gasteromycetes ประกอบด้วย 3 สกุล คือ Astraeus Pisolithus และ Scleroderma รวมทั้งหมด 43 ไอโซเลต เมื่อทดสอบการเจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อแข็ง modified Melin-Norkrans (MMN) pH 4.3 ที่ใส่ ZnSO₄, CuSO₄, Pb(NO₃)₂ และ CdSO₄เปรียบเทียบการเจริญโดยวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของโคโลนีทุกสัปดาห์ และหาน้ำหนักแห้งของเส้นใยราเมื่อครบ 4 สัปดาห์ นำค่าน้ำหนักแห้งมาสร้างกราฟเพื่อหาค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งการเจริญร้อยละ 50 (EC₅₀) พบว่า Scleroderma sp. ไอโซเลต Ssp42 มีค่า EC₅₀ ทนทานต่อ ZnSO₄ ที่ความเข้มข้น 7.5 มิลลิโมลาร์ Pisolithus sp. ไอโซเลต Psp32 มีค่า EC50 ทนทานต่อ CuSO4 ที่ความเข้มข้น 7.1 มิลลิโมลาร์ Pisolithus albus ไอโซเลต Pa33 มีค่า EC₅₀ ทนทานต่อ Pb(NO₃)₂ ที่ความเข้นข้น 5.8 มิลลิโมลาร์ และ Astraeus asiaticus ไอโซเลต Aa11 มีค่า EC50 ทนทานต่อ CdSO4 ที่ความเข้มข้น 0.047 มิลลิโมลาร์ จากนั้นทดสอบ การเจริญของกล้าไม้ยางนาร่วมกับราเอคโตไมคอร์ไรซาที่ผ่านการคัดเลือกในวัสดุ ปลูกที่ใส่โลหะหนัก พบว่าทุกชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของการเจริญทุกด้าน ทั้งความสูงของลำต้น เส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับคอราก น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของส่วนเหนือดิน (ลำต้นและใบ) และส่วนใต้ดิน (ราก) และไม่พบการติดเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซา ที่รากของกล้าไม้ยางนาทุกชุดการทดลอง
This study was to select ectomycorrhizal fungi which were tolerant to heavy metals including zinc, copper, lead and cadmium and to examine the growth of Dipterocarpus alatus Roxb. seedlings inoculated with ectomycorrhizal fungi when exposed to heavy metals in order to use as future trends in remedial plantings on heavy metal-contaminated sites. Forty-three ectomycorrhizal fungal isolates of Gasteromycetes including Astraeus sp., Pisolithus sp. and Scleroderma sp. collected from several natural sites of Thailand were tested for heavy metals tolerance on modified Melin-Norkrans (MMN) agar, pH 4.3 supplemented with ZnSO₄, CuSO₄, Pb(NO₃)₂ and CdSO₄. The colony diameter and the mycelia dry weight of each isolate were determined every week and 4 weeks after inoculation respectively to compare the fungal growth and also analyse the effective concentration of heavy metals inhibiting growth by 50%, EC₅₀. The results exhibited that Scleroderma sp. isolate Ssp42 showed high zinc tolerance with the EC₅₀ value of 7.5 mM. High copper tolerance with the EC₅₀ value of 7.1 mM was detected in Pisolithus sp. isolate Psp32. Pisolithus albus isolate Pa33 showed high lead tolerance with the EC₅₀ value of 5.8 mM. Whereas, Astraeus asiaticus isolate Aa11 showed high cadmium tolerance with the EC50 value of 0.047 mM. The most four ectomycorrhizal fungal isolates tolerant of each heavy metal were inoculated in Dipterocarpus alatus Roxb. seedlings and then grown in substrate culture with addition of heavy metal. The results showed that there was no statistically significant differences between inoculated and uninoculated seedlings in terms of height, root collar diameter, fresh and dry matter of shoot and root. Furthermore, the ectomycorrhizal infection on the seedlings was not observed in all treatments.


SUBJECT

  1. เชื้อรา
  2. โลหะหนัก
  3. Heavy metals
  4. Fungi
  5. ราเอคโตไมคอร์ไรซา
  6. ectomycorrhizal fungi

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis521915 LIB USE ONLY