Authorเพียรฤดี ธีรพรสกุล, 2519-
Title"ธุรกิจการเมือง" กับการควบคุมสื่อมวลชน : ศึกษากรณีสถานีโทรทัศน์ไอทีวี / เพียรฤดี ธีรพรสกุล = Political business and media control : a case study of ITV / Phianruedee Theerapornsakul
Imprint 2547
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23496
Descript ก-ฎ, 179 แผ่น : แผนภูมิ

SUMMARY

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาให้ทราบว่า ธุรกิจการเมืองเข้ามาควบคุมสื่อมวลชน หรือไม่ อย่างไร โดยศึกษาเฉพาะกรณีสถานีโทรทัศน์ไอทีวีซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์เสรี ในช่วงปีพ.ศ. 2543-2544 ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาซน) ได้เข้ามาถือหุ้นใน บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)ในสัดส่วนที่สูง และได้มีการเลิกจ้างพนักงานฝ่ายข่าวของบริษัทจำนวน หนึ่ง สมมติฐานในการศึกษามีว่า “นักธุรกิจที่เข้ามาเล่นการเมือง หรือ นักธุรกิจการเมืองใช้อำนาจ และอิทธิพลเข้าควบคุม เปลี่ยนแปลงการทำงานของสื่อมวลชนในสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ทำให้ส่งผล ต่อเนื้อหาข่าวสารที่จะนำเสนอต่อมวลชนในสังคม” โดยวิธีการต่างๆ,ในการศึกษาคือ การค้นคว้า เอกสารชั้นต้นและชั้นรอง และการสัมภาษณ์เจาะลึกบุคคลที่มีส่วนร่วมและทราบเหตุการณ์รวมไปถึงนักวิชาการต่างๆ
การศึกษาพบว่า การเข้ามาเล่นการเมืองของกลุ่มทุนธุรกิจในปัจจุบัน ทำให้ธุรกิจกับ การเมืองเกี่ยวพันกันมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มีผู้นำบริษัทเป็นบุคคลคนเดียวกับผู้นำทางการเมือง การที่บริษัทชินคอร์ปเข้ามาถือหุ้นในไอทีวี ได้ทำให้เกิดการผูกขาดสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ทุกช่องยกเว้นไอทีวีเป็นของรัฐบาล หรืออยู่ในความควบคุมของรัฐบาลอยู่แล้ว ยกเว้นไอทีวีที่เป็นของเอกซนเพียงสถานีเดียว และเมื่อบริษัทชินคอร์ปได้เข้ามาบริหารสถานีโทรทัศน์ไอทีวีก็ได้แทรกแซง ควบคุม และกำหนดทิศทางในการเสนอข่าวสารของไอทีวีไปในทางที่เป็นคุณแก่นักธุรกิจการเมืองที่มีอำนาจบริหารประเทศ โดยอาศัยอำนาจจากการถือหุ้นตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
The study has the objective of discovering whether “political business" has come to control the mass media in the particular case of ITV, Thailand’s only “independent television” station during 2000-2001 .The period was when Shin Corporation Public Company gained substantial share ownership in ITV Public Company during which some of the station’s journalists had their employment terminated. It hypothesized that “Political businesspersons”, businesspersons seeking political office, exerted power and influence to control and change the method of working of journalists in ITV station such that the media content was affected. Documentary research into primary and secondary sources and in-depth interviews of relevant respondents were the research methods used in the study.
The study found that today when business groups seek political office, business and politics become more closely connected, especially in the case studied where Shin Corporation Public Company’s leadership coincided with the national political leadership. The fact that Shincorp gained a significant amount of shares in ITV made for the monopolization of television as a type of mass media because all TV stations were already government-owned or government-controlled except for ITV, which was privately owned. It was also found that when Shincorp took control of the management of ITV, it intervened in the station's operations by exerting shareholding power such that the direction of ITV’s information dissemination benefited political businesspersons with national governing powers. The study's hypothesis was thus confirmed.


SUBJECT

  1. สถานีโทรทัศน์ ไอทีวี
  2. ธุรกิจกับการเมือง
  3. สื่อมวลชน -- แง่การเมือง
  4. ITV Public Company Limited
  5. Business and politics
  6. Mass media -- Political aspects

LOCATIONCALL#STATUS
Political Science Library : Thesisวป 718 LIB USE ONLY
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis471795 LIB USE ONLY