AuthorKanungrat Chansuriya
TitleAnalyse du discours des guides de voyage en Francais sur la Thailande / Kanungrat Chansuriya = การศึกษาและวิเคราะห์วาทกรรมในหนังสือคู่มือท่องเที่ยวประเทศไทยที่เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส / คนึงรัตน์ จันทร์สุริยา
Imprint 2004
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6964
Descript [14], 325 leaves

SUMMARY

Le but de cette etude est d'identifier les traits specifiques du discours touristique que contiennent les guides de voyage sur la Thailande. Pour le cadre methodologique, nous appuyons principalement sur la theorie de la communication, la theorie de l'organisation sequentielle de la textualite, la theorie de l'heterogeneite enonciative et la theorie des actes de langage. Nous analyserons les rapports entre le message linguistique et le message visuel d'apres les theories pour l'interpretation des images. Notre etude se divise en quatre parties dont la premiere sera consacree aux caracteristiques generales des guides de voyage portees sur les trois categories d'informations. La deuxieme partie sera centree sur les differents types d'intertextes attestes, le but est d'illustrer la co-presence de discours de l'autre dans le discours de soi-meme. La troisieme partie se consacre a la strategie interactive entre le redacteurauteur et le lecteur du guide de voyage qui evoque a une apparence entremelee entre un fait monologique et un fait dialogique dans le discours des guides de voyage. Dans la quatrieme partie, notre analyse porte sur les aspects non-verbaux en nous penchant sur les signes iconiques. Pour le resultat de cette recherche nous constatons que les traits caracteristiques des guides de voyage sur la "Thailande" se composent comme les suivants: l'heterogeneite de types de texte, differents types de texte: informatif, descriptif, narratif, injonctif et argumentatif, l'heterogeneite enonciative, la prise en compte de l'interlocuteur (le lecteur) et la supplementarite de representation des icones. Ces traits sont dominants dans une oeuvre touristique, ils identifient les proprietes des guides de voyage.
ศึกษาและวิเคราะห์วาทกรรมในหนังสือคู่มือท่องเที่ยวประเทศไทยที่เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส ในการวิจัยได้อาศัยแนวทฤษฎีว่าด้วยกระบวนการสื่อสาร ทฤษฎีไวยกรณ์ตัวบท ทฤษฎีว่าด้วยวาทกรรมเชิงปฏิบัติศาสตร์และการวิเคราะห์ภาพ ในการศึกษาค้นคว้าได้ใช้หนังสือคู่มือท่องเที่ยวประเทศไทยที่เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1987 ถึง ค.ศ. 2001 มีจำนวน 5 เล่ม โดยคำนึงถึงความหลากหลายและปริมาณ ซึ่งจะสามารถแสดงลักษณะเฉพาะของหนังสือคู่มือท่องเที่ยวประเทศไทย หัวข้อในการศึกษาแบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่คือ บทที่หนึ่ง เป็นการศึกษาลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของหนังสือคู่มือท่องเที่ยวประเทศไทย โดยมีเนื้อหาหลักที่แบ่งออกเป็นสามประเภทกล่าวคือ การให้เนื้อหาด้านภูมิศาสตร์และสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย การให้เนื้อหาด้านสังคมและวัฒนธรรมของประเทศไทย และการให้คำแนะนำหรือข้อควรปฏิบัติสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งทั้งสามส่วนนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างเนื้อหาของหนังสือคู่มือท่องเที่ยวประเทศไทย บทที่สอง เป็นการศึกษาสัมพันธบทของวาทกรรมประเภทต่างๆ ได้แก่ การยกคำอ้างอิงหรือการใช้วาทกรรมอื่นๆ ที่เป็นของผู้อื่นมาเสริม หรือมาประกอบเข้ากับคำพูดของตนเพื่อจะได้วาทกรรมที่เป็นหนึ่งเดียวคือ วาทกรรมของหนังสือคู่มือท่องเที่ยวประเทศไทย บทที่สาม เป็นการศึกษาการสร้างปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสารระหว่างผู้ส่งสาร (ผู้เขียน) และผู้รับสาร (ผู้อ่าน) กล่าวคือ ผู้เขียนเสนอข้อมูลความรู้แก่ผู้อ่านซึ่งยังไม่รู้จักประเทศไทย วาทกรรมที่ปรากฏมีลักษณะสื่อสารทางเดียว แต่เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้อ่าน ผู้เขียนจึงใช้กลวิธีในการสร้างปฏิสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกว่าอยู่ในสถานการณ์สื่อสาร และบทที่สี่ เป็นการศึกษาการใช้อวัจนภาษาในหนังสือคู่มือท่องเที่ยว ได้แก่ การใช้ภาพประกอบและการใช้สัญลักษณ์ ซึ่งต่างเป็นส่วนสำคัญในการสื่อความหมาย และดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน ผลการวิจัยนี้พบว่า วาทกรรมในหนังสือคู่มือท่องเที่ยวประเทศไทยมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ 4 ประการคือ การใช้องค์ประกอบหลากหลายด้านตัวบท การใช้สัมพันธบทของวาทกรรมประเภทต่างๆ การสร้างปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร และการให้ความสำคัญด้านอวัจนภาษามาช่วยเสริม ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการสื่อสารของหนังสือคู่มือท่องเที่ยวประเทศไทย เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล ลักษณะเฉพาะดังกล่าวนี้ทำให้ทราบถึงวิธีการสร้างหนังสือคู่มือท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสด้านการท่องเที่ยว และสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางสำหรับการศึกษาวาทกรรมที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในงานประเภทอื่นๆ


SUBJECT

  1. French language -- Discourse analysis
  2. ภาษาฝรั่งเศส -- วจนะวิเคราะห์
  3. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
  4. อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis470279 LIB USE ONLY
Arts Library : Thesisวพ. French LIB USE ONLY