Authorวัยญา ยิ้มยวน
Titleการวิเคราะห์อภิมานของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคิดวิจารณญาณ / วัยญา ยิ้มยวน = A meta-analysis of factors related to critical thinking / Waiya Yimyuan
Imprint 2547
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/553
Descript ก-ฐ, 156 แผ่น : แผนภูมิ

SUMMARY

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคิดวิจารณญาณและอธิบายความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลจากงานวิจัยที่เกี่ยวกับการคิดวิจารณญาณ งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์เป็นงานวิจัยเชิงทดลองและเชิงสหสัมพันธ์ที่ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2525 ถึง พ.ศ. 2547 จำนวน 57 เล่ม รวบรวมข้อมูลจากตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย 17 ตัวแปร โดยใช้แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย แล้วนำข้อมูลมาสังเคราะห์ตามวิธีของ Glass ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 90 ค่า แบ่งเป็นปัจจัยด้านการเรียนการสอน 36 ค่า ปัจจัยด้านผู้เรียน 38 ค่า ปัจจัยส่วนบุคคลและการอบรมเลี้ยงดู 16 ค่า จากนั้นนำค่าที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลด้วย F-test แล้ววิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยวิธี stepwise ผลการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคิดวิจารณญาณสูงสุด คือ ปัจจัยด้านการเรียนการสอน ([r-bar] = .366) ประกอบด้วย 3 ปัจจัยย่อย คือ สื่อการสอน ([r-bar] = .429) สิ่งแวดล้อมในการเรียนการสอน ([r-bar] = .287) รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้เรียน ([r-bar] = .334) ประกอบด้วย 5 ปัจจัยย่อย คือ ความสามารถในการแก้ปัญหา ([r-bar] = .514) ความสามารถทางการพยาบาล ([r-bar] = .427) ความสามารถในการอ่าน ([r-bar] = .423) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ([r-bar] = .356) ทักษะทางปัญญา ([r-bar] = .243) อันดับสุดท้าย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลและการอบรมเลี้ยงดู ([r-bar] = .237) ประกอบด้วย 3 ปัจจัยย่อย คือ ทัศนคติ ความเชื่อและพฤติกรรม ([r-bar] = .281) การอบรมเลี้ยงดู ([r-bar] = .265) สถานภาพส่วนบุคคล ([r-bar] = -.093) สรุปโดยรวมแล้ว ทั้ง 3 ปัจจัยหลักมีความสัมพันธ์กับการคิดวิจารณญาณเป็นไปในทิศทางบวก ระดับต่ำ ([r-bar] = .310) 2. ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยทั้ง 4 ตัว ได้แก่ สาขาวิชาที่ผลิตงานวิจัย เนื้อหาวิชาที่ศึกษาวิจัย ปัจจัยด้านผู้เรียน ประเภทสถิติทดสอบที่ใช้ ส่งผลต่อความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และตัวแปรทั้ง 4 สามารถอธิบายความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลได้ร้อยละ 51.5 3. ข้อค้นพบที่ได้จากงานวิจัย คือ วิธีสอนและสื่อการสอนส่งผลต่อการคิดวิจารณญาณของผู้เรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาในทางบวกมากกว่าปัจจัยอื่นๆ และการคิดวิจารณญาณส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษาในทางบวกมากกว่าปัจจัยอื่นๆ และทัศนคติ ความเชื่อและพฤติกรรมส่งผลต่อการคิดวิจารณญาณของผู้เรียนในระดับประถมศึกษาในทางลบ
The purposes to conduct this research were to study the relationship between some particular factors and Critical Thinking and to express the description in the variance of correlation coefficients from research documents related to Critical Thinking. 57 samples of experimental and correlational research documents that published in B.E. 1982-2004 were synthesized. To synthesize those, 17 research characteristic variables were gathered by employing research characteristic recording form, and quality research evaluation form. Then the GLASS method was employed to synthesize all variables for correlation coefficients. There were 90 correlation coefficients; 36 correlation coefficients of Learning and Teaching Factor, 38 correlation coefficients of Learner Factor, 16 correlation coefficients of Individual and Caring Factor. Statistics employed in this study were descriptive statistics, analysis of variance (ANOVA) and stepwise multiple regression analysis. The results of research synthesis were: 1. The Factors indicating the highest related to critical thinking was the Learning and Teaching Factor (r[bar] = .366) consisted of 3 sub-factors; there were Teaching Materials ([r-bar] = .429), Teaching Method ([r-bar] = .391), Learning and Teaching Environment ([r-bar] = .287); followed by Learning Factor ([r-bar] = .334) consisted of 5 sub-factors; there were Problem Solving Ability ([r-bar] = .541), Nursing Ability ([r-bar] = .427), Reading Ability ([r-bar] = .423), Achievement ([r-bar] = .356), Cognitive Skills ([r-bar] = .243); The factors indicating the least related to Critical Thinking was Individual and Caring Factor ([r-bar] = .237) consisted of 3 sub-factors; Attitude and Belief and Behavior Factor ([r-bar] = .281), Caring Factor ([r-bar] = .265) Individual Factor ([r-bar] = -.093). There was a positive relationship between the three main factors and Critical Thinking ([r-bar] = .310). 2. The research characteristic variables which significantly accounted for the variation in the effect size were Division Producing Research, Course Taught, Learner Factor and Statistics Test. There were 6 research characteristic variables could simultaneously explain 51.5 percents of variation in the effect size. 3. The research finding indicated that Teaching Method and Teaching Materials were the factors which had more positively influence in Critical Thinking than other factors among Learners at primary, secondary, and undergraduate levels. Such Critical Thinking was also the factor which had more positively influence in Problem Solving Ability than other factors among Learners at primary and secondary levels. Last but not least, Attitude Belief and Behavior was only factor that negatively influence in Critical Thinking among the primary level.


SUBJECT

  1. ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
  2. การวิเคราะห์อภิมาน

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis470877 LIB USE ONLY