Authorสุวิมล ว่องวาณิช
Titleสหสัมพันธ์พหูคูณระหว่างองค์ประกอบด้านเชาวน์ปัญญา ปัญหาส่วนตัว นิสัยและทัศนคติทางการเรียน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / สุวิมล ว่องวาณิช = The multiple correlation between intelligence, personal problems, study habits and attitudes factors with mathayom suksa one students' academic achievement / Suwimon Wongwanich
Imprint 2523
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27385
Descript ก-ฌ, 98 แผ่น

SUMMARY

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาสหพันธ์พหุคูณระหว่างองค์ประกอบด้านเชาวน์ปัญญา ปัญหาส่วนตัว นิสัยและทัศนคติทางการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และกลุ่มตัวทำนายที่ดีที่สุดเพื่อนำมาสร้างสมการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1, 175 คน เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดเชาวน์ปัญญาชื่อ เมทริซิสก้าวหน้ามาตรฐานแบบสำรวจปัญหาส่วนตัวของมูนีย์ และแบบสำรวจนิสัยและทัศนคติทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น ๆ ผลการวิจัยเมื่อใช้เชาวน์ปัญญา ปัญหาส่วนตัว นิสัยและทัศนคติทางการเรียนเป็นตัวทำนาย พบว่าสหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวทำนายทั้ง 3 ตัวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีนัยสำคัญระดับ .01 และกลุ่มตัวทำนายที่ดีที่สุดประกอบด้วยองค์ประกอบทั้ง 3 ตัวดังกล่าว ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 32.74 ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนายเท่ากับ .64 และได้สมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐานและคะแนนดิบดังนี้ Z’ = .4127Z[subscript I] + .3324Z[subscript III] + .0608Z[subscript II] Y’ = -1.6799 + .0342X[subscript I] + .0066X[subscript III] + .0012X[subscript II]I เมื่อจำแนกปัญหาส่วนตัวออกเป็น 5 ด้าน นิสัยและทัศนคติทางการเรียนออกเป็น 2 ด้าน ได้กลุ่มตัวทำนายใหม่เป็น 8 ตัวคือ เชาวน์ปัญญา ปัญหาส่วนตัวด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ในครอบครัว ด้านความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง ด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น และด้านอนาคต นิสัยทางการเรียน และทัศนคติทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่าสหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวทำนายทั้ง 8 ตัว กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และกลุ่มตัวทำนายที่ดีที่สุดประกอบด้วยเชาวน์ปัญญา นิสัยทางการเรียน ทัศนคติทางการเรียน และปัญหาส่วนตัวด้านความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง ซึ่งกลุ่มตัวทำนายนี้สามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 33.20 ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนายเท่ากับ .64 โดยมีสมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐานและคะแนนดิบดังนี้ Z’ = .0471Z₁ + .2343Z₇ + .1491Z₈ + .0819Z₄ Y’ = -1.700₇ + .0037X₁ + .0084X₇ + .0051X₈ + .0060X₄
The purposes of this study were (a) to investigate the multiple correlation between intelligence, personal problems, study habits and attitudes with academic achievement; (b) to construct the multiple regression equations for predicting Students’ academic achievement. The samples were 1,175 Mathayom Suksa One students drawn from schools in Bangkok Matropolis under the Secondary Education Division, General Education Department, Ministry of Education. The instruments used for collecting data were the Standard Progressive Matrices, the Mooney Problem Check List, and the Survey of Study Habits and Attitudes. The Stepwise Multiple Regression Analysis was used to analyse the data. Using intelligence, personal problems, and study habits and attitudes as the predictors, the multiple correlation between all these three predictors with academic achievement were found to be significant at .01 level. The academic achievement variance accounted for by the best group of predictors composed of intelligence, personal problems, and study habits and attitudes was 32.74%. The standard error of estimate was .64. The regression equations respectively in standard scores and raw scores were : Z’ = .4127Z[subscript I] + .3324Z[subscript III] + .0608Z[subscript II] Y’ = -1.6799 + .0342X[subscript I] + .0066X[subscript III] + .0012X[subscript II] When categorizing the personal problems into 5 areas, study habits and attitudes into 2 areas, respectively, a new group of 8 predictors was found. They were intelligence, personal problems on health, family living, self-centeredness, relations to people, future, study habits, and study attitudes. The result was that the multiple correlation between these 8 predictors with academic achievement was significant at .01 level. The academic achievement variance accounted for by the best group of predictors composed of intelligence, study habits, study attitudes, and personal problem on self-centeredness was 33.20%. The standard error of estimate was .64 . The regression equations respectively in standard scores and raw scores were : ดังนี้ Z’ = .0471Z₁ + .2343Z₇ + .1491Z₈ + .0819Z₄ Y’ = -1.700₇ + .0037X₁ + .0084X₇ + .0051X₈ + .0060X₄


SUBJECT

  1. นักเรียน -- วิจัย