Authorปรารถนา นาชัยสิทธิ์
Titleการเปรียบเทียบผลของการให้งานในวิชาคณิตศาสตร์เป็นรายครั้งกับรวมยอด ที่มีต่อนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สี่ โรงเรียนดาราคาม / ปรารถนา นาชัยสิทธิ์ = A comparison of the effects of after-class and after-unit mathematics assignments on prathom suksa four students, Darakam School / Prathana Nachaisit
Imprint 2523
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20964
Descript ก-ฏ, 110 แผ่น : แผนภูมิ

SUMMARY

วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนและทัศนคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สี่ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับงานเป็นรายครั้งกับกลุ่มที่ได้รับงานรวมอด และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนซึ่งมีระดับความสามารถแต่ต่างกันแต่ละชนิดของผลงานที่ไม่เหมือนกัน โดยมีสมมติฐานการวิจัยว่า 1) สัมฤทธิ์ผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ของกลุ่มที่รับรายครั้งสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับงานรวมยอด 2) การให้งานโดยวิธีการแตกต่างกัน แก่นักเรียนที่มีระดับความสามารถต่างกันจะให้สัมฤทธิ์ผลทางการเรียนไม่แตกต่างกัน และ 3) ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อคณิตศาสตร์ของกลุ่มที่ได้รับรายงานเป็นรายครั้งแตกต่างกับกลุ่มที่ได้รับงานรวบยอด วิธีดำเนินการวิจัยผู้วิจัยได้สร้างหน่วยการสอนเรื่องการคูณและการหารที่มีตัวตั้งไม่เกินเจ็ดหลักโดยแบ่งเป็นหน่วยย่อย 4 หน่วย และสร้างแบบฝึกหัดนอกเวลาเรียน 4 ชุดๆ ละ 10 ข้อ รวม 40 ข้อ ให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้ง 4 หน่วย ต่อจากผู้วิจัยได้สร้างแบบทดสอบสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกซึ่งมีค่าความเที่ยงชนิดความคงที่ภายใน 0.75 และสร้างแบบสอบทัศนคติต่อคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งมีค่าความเที่ยงชนิดความคงที่ภายใน 0.788 และสามารถจำแนกบุคคลได้ที่ระดับนัยสำคัญ .01 ตัวอย่างประชากรในการวิจัยนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2522 โรงเรียนดาราคาม จำนวน 80 คน โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มซึ่งได้รับงานรายครั้งจำนวน 39 คน และกลุ่มทดลอง เป็นกลุ่มซึ่งได้รับรายงานรวมยอด จำนวน 41 คน ผู้วิจัยทดลองสอนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มเป็นเวลา 5 สัปดาห์ หลังการสอนได้นำแบบทดสอบสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนและแบบสอบทัศนคติที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาสอนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มแล้วนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้ 1. การให้งานด้วยวิธีการที่แตกต่างกันทำให้สัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนแตกต่างกันทุกระดับความสามารถ โดยที่กลุ่มที่ได้รับงานรวมยอดมีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับรายงานเป็นรายครั้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ทัศนคติคณิตศาสตร์ของกลุ่มที่ได้รับรายงานเป็นรายครั้งกับกลุ่มที่ได้รับงานรวมยอดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Purposes The purposes of this study were as follows : 1) To compare the mathematics achievement and attitude of Prathom Suksa Four Students between the after-class assignment group and the after-unit assignment group. 2) To study the interaction effects of the level of ability and types of assignments toward the achievement score of the students. Hypotheses 1. The mathematics achievement of the after-class assignment group was significantly higher than the after-unit assignment group. 2. There is no significant difference between the mathematics achievement scores of students of different ability towards types of assignments. 3. The students' attitude toward mathematics in both groups were significant differences. Procedures Four units of teaching multiplication and division and two tests were constructed to be used in this study. The first test concerned the mathematics achievement which consisted of 20 items multiple-choice. The internal consistency reliability coefficient of the test was 0.75, while the second one involved the mathematics attitude test which consisted of 20 items in rating-scale. The internal consistency reliability coefficient of the test was 0.788. Subjects of the study were 80 Prathom Suksa Four Students of Darakam School, academic Year 1979. The subjects were divided into two groups; 39 students in controlled group were given after-class mathe¬matics assignments and 41 students in experimental group were given after-unit mathematics assignments. After five weeks teaching, the students' achievements and attitudes were determined by two tests mentioned above. Two-way analysis of variance was used to test the three hypotheses. Results 1. Two types of assignments given to students of different levels of ability shows the significant differences while the group which received the after-unit assignment achieved significantly higher scores than the after-class assignment group at the level of. .05. 2. No significant differences were found between the students' attitude toward mathematics in both groups at the level of .05.


SUBJECT

  1. คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน