Authorวีรยา ภัทรอาชาชัย
Titleการศึกษาระบบการจัดการและการดำเนินงาน ของบริษัทเดินเรือกับการพัฒนาพาณิชยนาวีไทย / 2527 = A study on system of management and operation of Thai shipping-companies concerning the development / Veeraya Pataraarchachai
Imprint 2527
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25772
Descript ก-ฐ, 184 แผ่น

SUMMARY

วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงการจัดการและการดำเนินงานโดยทั่วไปของธุรกิจเดินเรือ โดยที่กิจการขนส่งทางทะเล หรือกิจการเดินเรือระหว่างประเทศของไทย มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นการส่งเสริมในด้านการส่งออกแล้ว ยังเป็นการประหยัดและได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศ การศึกษา จะศึกษาถึงสภาพการณ์ของการขนส่งทางทะเลของประเทศไทยในปัจจุบันกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะขยายกองเรือเพิ่มขึ้นอีก 358,000 เดทเวทตัน โดยขยายในเส้นทางเดิม ได้แก่เส้นทางญี่ปุ่น ประเทศสมาชิกอาเซียน ฮ่องกง เปิดเส้นทางเดินเรือสายใหม่ในเส้นทางสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย และเปิดบริการเรือฟีดเดอร์ (Feeder Service) ในเส้นทางกรุงเทพฯ-ฮ่องกง และกรุงเทพฯ-สิงคโปร์ กับอุปสรรคของบริษัทเดินเรือไทยที่จะบรรลุเป้าหมายตามแผนนี้ ในแง่ของการจัดการของบริษัทเกี่ยวกับการวางแผน การตลาด การเงิน โดยมีสมมุติฐานว่า “การจัดการของบริษัทเดินเรือ เช่นในเรื่องเทคนิคการบริหาร ประสบการณ์ของผู้บริหาร ความช่วยเหลือจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการเงิน และการส่งเสริมการลงทุนที่เป็นอยู่ขณะนี้ จะไม่มีปัญหาต่อการพัฒนาพาณิชยนาวี ให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ที่ตั้งเป้าหมายว่าจะขยายกองเรือพาณิชย์เพิ่มขึ้นอีก 358,000 เดทเวทตัน” จากการศึกษาพบว่า การบริการขนส่งสินค้าทางทะเลของประเทศไทย ยังอยู่ในขอบเขตอันจำกัด เพราะกองเรือพาณิชย์ของไทยมีขนาดเล็ก คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 3.5 เมื่อเปรียบเทียบกับกองเรือพาณิชย์ของประเทศสมาชิกอาเซียน และมีอายุการใช้งานมาก การจัดการของบริษัทต่างๆ ยังอยู่ในรูปครอบครัว ขาดการวางแผนในระยะยาว บริษัทที่มีโครงการที่จะขยายเรือออกไปตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 5 คือ
บริษัทไทยเดินเรือทะเล จำกัด การจัดองค์การก็ไม่แน่ชัด บริษัทที่มีการทำการวิเคราะห์งานมีเพียงบริษัทเดียว คือบริษัทไทยเดินเรือทะเล จำกัด การบริหารส่วนใหญ่ยังเป็นแบบรวมอำนาจ คือมีเพียงกลุ่มผู้บริหารระดับสูงกลุ่มเดียวที่ตัดสินใจในปัญหาเกือบทุกเรื่องทั้งนี้เพราะองค์การยังมีขนาดเล็ก ทางด้านการจัดการทางตลาดก็ยังไม่สามารถใช้เรือให้เต็มประสิทธิภาพ มีเที่ยวเรือเปล่ากลับมาเสมอ สินค้าที่บรรทุกในแต่ละเที่ยวทำการก็บรรทุกไม่เต็มระวางเรือ องค์บุคคลที่มีอยู่ทั้งบนบกและในทะเล ยังขาดความเชี่ยวชาญทางด้านนี้ และพบว่ากองเรือที่เพิ่มขึ้น จะเป็นการเพิ่มด้านปริมาณ ลักษณะของเรือที่เพิ่มขึ้นเป็นเรือขนาดเล็ก อายุการใช้งานมาก ส่วนใหญ่เป็นเรือสินค้าชนิดแห้ง และวิ่งในเส้นทางอาเซียนและตะวันออกไกล ซึ่งได้แก่ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และฮ่องกง จะเป็นการเพิ่มด้านปริมาณ ลักษณะการลงทุนเป็นของผู้ประกอบการรายย่อย เป็นการมุ่งหาผลประโยชน์ในระยะสั้น และมุ่งประกอบธุรกิจในย่านกลุ่มประเทศอาเซียนเท่านั้น สำหรับแนวโน้มของกิจการในระยะนี้ยังคงใช้เรือที่ใช้แล้ว ซึ่งเป็นเรือที่ใช้ระบบการขนส่งโดยวิธีธรรมดา และมีการนำเอาระบบคอนเทนเนอร์ มาปรับใช้ด้วย โดยจะมีลักษณะการให้บริการแบบกึ่งตู้สินค้า พาณิชยนาวีไทย จะพัฒนาเจริญก้าวหน้าได้ นอกจากปัญหาต่างๆ ได้รับการแก้ไขแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือประสานงานกันของทั้ง 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายเจ้าของเรือ และฝ่ายพ่อค้าผู้ใช้บริการเรือ ลำพังเพียงเจ้าของเรือฝ่ายเดียว จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ รัฐบาลต้องเข้ามามีบทบาทและดำเนินการช่วยเหลือโดยเร่งด่วน ทั้งนี้เพื่อให้การขนส่งทางทะเลของประเทศเจริญยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
This thesis aims to study about the management and operation of shipping business, Because of an important to the economic of Thailand both in promoting the export business and saving the foreign exchange. The study is about the Social and Economic Development Plan that set “To expand the mercantile fleet to the another 358,000 DWT” by expanding in number of freighters that offered services on the present routes such as Japan, Hong Kong and South East Asia, opening new trade routes to United State and expanding the feeder service from Bangkok port to Singapore and Hong Kong with its obstacles to achieve this plan in the field of the planning of management, marketing and finance. To test the assumption if “Now, The management of Thai Shipping-Companies such as the administration technique, the experience of the top management. The support from other sectors such as Government Body, finance institution etc. will not obstract Shipping-Companies to achieve their plan”. The results of the study showed that the Thai merchant fleet was the smallest, accouting for 3.5% of the total vessels operated by the five ASEAN countries. The situation was partly due to a lack of proper support from the government. Most freighters under Thai flag mainly provided service within South East Asia. UNITHAI was the only company that offered service on Europe routes.
Most freighters are very old and the management is in the form of family business. Most companies have no long term planning. (Only TMN has planned to enlarge their owned fleet.) The organization chart is not well defined and the administration is “Centralization”, only top management of the firms making decisions, the reason being that organization are still small. The marketing management is lack of efficiency, the ships alway returned to home port in ballast and vessel capacity being not utilized. The fleet will increase only in tonnage, but small and very old. Most of the vessels are “Conventional Break Bulk type” and offered service in ASEAN and Far East routes’ such as Japan, Taiwan Hong Kong. The tendency of this business still be using “Second-handed Conventional tonnage” and implementing “Semi-container System” into the services too. Most of the problems could not be solved only by private sector but they need the coordination of 3 sectors the private the government and the shippers sector. Consequently, the government should play an important role in solving the problems and strongly support thai marine shipping industry in order to promote economic growth of the country in future.


SUBJECT

  1. พาณิชยนาวี -- การจัดการ
  2. เรือพาณิชย์ -- ไทย
  3. การขนส่งทางทะเล