Authorรื่นฤทัย สัจจพันธุ์
Titleนิราศคำโคลง : การวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับนิราศชนิดอื่น / รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ = Klong Niras : an analytical and comparative study with other types of niras / Ruenruthai Sujjapun
Imprint 2516
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25675
Descript 320 แผ่น

SUMMARY

วิทยานิพนธ์เล่มนี้เป็นผลงานการเปรียบเทียบและวิเคราะห์เร่องลักษณะโดยทั่วไปของ นิราศ ซึ่งเป็นบทประพันธ์คร่ำครวญเกี่ยวกับการพลัดพราก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิราศคำโคลง วิทยานิพนธ์เรื่องนี้แบ่งออกเป็น 6 บท บทที่ 1 เกี่ยวกับความเป็นมาของปัญหาและขอบเขตของการวิจัย บทที่ 2 อธิบายลักษณะโดยทั่วไปของนิราศ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาของเรื่องและชื่อที่ใช้เรียก ลักษณะของโคลง ส่วนต่าง ๆของนิราศคำโคลง แก่นเรื่องในแบบต่าง ๆ และลักษณะการพรรณนาประเภทต่าง ๆ บทที่3 เกี่ยวกับวิวัฒนาการของโคลงนิราศ ตัวอย่างของนิราศคำโคลงที่ปรากฏในแต่ละยุคสมัย การเปรียบเทียบโคลงนิราศในสมัยอยุธยากับสมัยรัตนโกสินทร์ และแสดงให้เห็นอิทธิพลของกวีนิพนธ์สมัยอยุธยาที่มีต่อกวีสมัยต้นรัตนโกสินทร์อย่างชัดเจน ผู้เขียนยังได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของคำประพันธ์และเนื้อหาของนิราศตั้งแต่สมัยแรกเริ่มจนถึงสมัยปัจจุบัน นอกจากนี้ ผู้เขียนได้กล่าวถึงบทประพันธ์ร้อยกรองของตะวันตกและตะวันออกซึ่งสามารถเปรียบเทียบความคล้ายคลึงบางประการกับนิราศของไทยได้ เช่น กะสิดะฮ และฆะซัล ของอาหรับ ยะดุ (ระดุ) ของพม่า ลำนำสันสกฤต ของกาลิทาส และคำประพันธ์ร้อยกรองภาษาอังกฤษบางบท บทที่ 4 เป็นการเปรียบเทียบนิราศคำโคลงโดยทั่วไปกับ เมฆหูตของกาลิทาส ในด้านแบบแผนการเขียน เนื้อหา และความมุ่งหมายของผู้ประพันธ์ บทที่ 5 เป็นบทเปรียบเทียบ ฤตุสํหาร ของกาลิทาส และ ทวาทศมาส ของกวีสมัยอยุธยา ในเรื่องความคล้ายคลึงและความแตกต่างบางประการ บทที่ 6 เป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะเพื่อให้ผู้สนใจในเรื่องนิราศได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
This thesis is a comparative and analytical study of the general characteristics of Niras particulary the Klong Niras that is, the lyrical poetry dealing with love-seperation. The thesis is devided into 6 chapters. Chapter I is the discussion on the nature and scope of the research. Chapter II describes the characteristics of Niras, the relationship between the content and the title, the metrical forms of “Klong”, the various kinds of themes and styles used in Klong Niras. Chapter III deals with the development of Klong Niras with the examples from different periods, the comparison of Klong Niras from the Ayudhaya and Ratanakosin periods indication the influence of the Ayudhaya period on the poets of Ratanakosin period. The author then describes each steps of changing in lyrical writing and content from the beginning up till now. In addition, the author makes an attempt in bringing up the fact some kinds of poetical works of the Western and the other Eastern countries can be compared with the Niras : for instance, the Arab Qasida and Ghazal, the Yadu (Radu) of Burma, the Sanskit lyrical poems of Kalidasa and some English lyrics. Chapter IV is the comparison between the Niras and the Meghaduta of Kalidasa particularly in the style, content and the poet’s aim. Chapter V is the comparison between kalidasa’s Ritusamhara and the Dvadasamasa of the Ayudhaya poets showing their similarlities and differences. The last chapter is the conclusion and suggesting points to use as guiding lines for their researches in future, for those who are interested in Niras.


SUBJECT

  1. กวีนิพนธ์ไทย
  2. นิราศ
  3. Thai poetry

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesisวพ. ภาษาไทย CHECK SHELVES
Arts Library : Thesisวพ. ภาษาไทย LIB USE ONLY
Arts Library : Thesisวพ. ภาษาไทย CHECK SHELVES
Arts Library : Thesisวพ. ภาษาไทย CHECK SHELVES