Authorนิตยา กาญจนะวรรณ
Titleคำกริยาสกรรมในภาษาไทย / นิตยา กาญจนะวรรณ = Transitive verbs in the Thai language / Nitaya Kanchanawan
Imprint 2513
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22964
Descript ก-จ, 393 แผ่น

SUMMARY

ในการวิจัย เรื่องนี้ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาหน้าที่ของคำกริยาสกรรมในภาษาไทย และ แบ่งคำกริยาสกรรมออกเป็นประเภทต่างๆ ตามประเภทของคำนามที่อยู่ข้างหน้าและข้างหลัง และ ตามความเกี่ยวข้องกับคำ ถูก กัน และ ตัว ข้อมูลที่นำมาศึกษานั้นเก็บรวบรวมจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 และ จากภาษาพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวันในกรุงเทพๆ ผลของ การวิจัยสรุปได้ว่า คำกริยาสกรรมแบ่งตามหน้าที่ได้เป็น 7 ชนิด คือ 1. คำกริยาสกรรม 2. คำกริยาอกรรม-สกรรม 3. คำกริยาสกรรม-คุณศัพท์ 4. คำกริยาสกรรม-ทวิกรรม 5. คำกริยาอกรรม-สกรรม-คุณศัพท์ 6. คำกริยาอกรรม-สกรรม - ทวิกรรม 7. คำกริยาอกรรม-สกรรม-ทวิกรรม-คุณศัพท์คำกริยาสกรรมทั้งหมดอาจจะแบ่งออก เป็นประเภทต่างๆ ตามประเภทของคำนามที่อยู่ข้างหน้าและข้างหลังได้เป็น 107 ประเภท และ เมื่อแบ่งออกตามความเกี่ยวข้องกับคำ ถูก หรือ กัน หรือ ตัว จะได้เป็นอย่างละ 2 ประเภท ผลการวิจัยได้เสนอเป็น 6 บท คือ บทหนึ่งเป็นบทนำ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา และความมุ่งหมายของการวิจัย บทที่สอง กล่าวถึงคำจำกัดความของศัพท์ บทที่สาม กล่าวถึงคำจำกัดความของศัพท์เฉพาะ บทที่สาม กล่าวถึงคำหมวดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำกริยาสก รรม บทที่สี่ กล่าวถึงการแบ่งคำกริยาสกรรมออกเป็นประเภทต่างๆ ตามประเภทของคำนามที่อยู่ข้างหน้าและข้างหลัง บทหน้า กล่าวถึงการแบ่งคำกริยาสกรรมออก เป็นประเภทต่างๆ ตามความเกี่ยวข้องกับคำ ถูก กัน และ ตัว บทที่หก สรุปผลการวิจัยและเสนอ ข้อเสนอแนะให้ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องลักษณะของภาษาไทยได้ศึกษา เรื่องคำนามแต่ละคำที่อาจจะ ปรากฏอยู่ข้างหน้าแสะข้างหลังคำกริยาสกรรมได้ และ เสนอแนะให้ศึกษาเรื่องคำกริยาสกรรม อีกชนิดหนึ่งซึ่งจะต้องใช้คู่กับคำหลังกริยาเสมอ ในตอนท้ายเป็นภาคผนวกซึ่งได้รวบรวมรายการ คำกริยาสกรรมทุกคำของแต่ละประเภทไว้พร้อมด้วยตัวอย่าง
This thesis aims to study the functions of transitive verbs in the Thai language and to classify them into subgroups both according to the classes of nouns preceding and following them, and according to their co-occurrence with the words / thù:k /"ถูก"/ kan /"กัน" and / tua /"ตัว". The data were drawn mostly from the Dictionary of The Royal Institute (1950) and from a study of the everyday conversation of people who use the Bangkok dialect. The research has shown that transitive verbs in the Thai language may be classified by their functions into seven groups, which in turn may be classified into a total of 107 subgroups according to the classes of nouns that precede and those that follow them. When analysed, according to their co-occurrence with the words / thù:k /" ถูก "/ kan /" กัน "and / tua /" ตัว "the transitive verbs may be classified into 6 subgroups ( 2 for each co-occurrent word). Finally it is suggested that further research should be conducted to discover all the possible nouns that may precede and follow particular-transitive verbs, and should also study the class of transitive verbs, which can only occur in conjunction with the post-verbs. The last part of this thesis comprises an appendix classifying all the transitive verbs studied in this thesis into their respective subgroups together with examples illustrating the use of each verbs.


SUBJECT

  1. ภาษาไทย -- ไวยากรณ์
  2. Thai language -- Grammar

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesisวพ. ภาษาไทย LIB USE ONLY