Authorรื่นฤทัย สัจจพันธุ์
Titleตัวละครหญิงในวรรณคดีไทยสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 1893-2394) / รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ = Female characters in Thai literature of the Ayutthaya and early Ratanakosin period (1350-1851) / Ruenruthai Sujjapun
Imprint 2534
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66203
Descript ก-ซ, 527 แผ่น

SUMMARY

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะ บทบาท และกลวิธีการสร้างตัวละครหญิงในวรรณคดีไทยสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเลือกศึกษาวรรณคดี 3 ประเภท คือ วรรณคดี คำสอน วรรณคดีนิราศ และวรรณคดีนิทานและการแสดง ผู้วิจัยพบว่าตัวละครหญิงในวรรณคดีคำสอนมีลักษณะเป็นแบบอุดมคติในด้านความประพฤติและการ ปฏิบัติตนของผู้เป็นภรรยา คุณสมบัติที่กล่าวไว้ตรงกันในคำสอนหลายฉบับ คือ ความซื่อสัตย์รักเดียวใจเดียว การปรนนิบัติดูแลสามี และความรู้ความสามารถในกิจการบ้านเรือน แนวคิดของภรรยาในอุดมคติเช่นนี้มีอิทธิพลต่อการสร้างตัวละครหญิงในนิราศ นิทาน และวรรณคดีการแสดงด้วย ตัวละครหญิงในนิราศไม่มีพฤติกรรม แต่เป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญต่อแก่นเรื่องของวรรณคดีประ เภทนี้ซึ่งเป็นการพิลาปคร่ำครวญถึงหญิงคนรัก ในความคิดคำนึงของกวี นางในนิราศเป็นหญิงที่เพียบพร้อม ด้วยรูปสมบัติและคุณสมบัติ การจากนางทำให้กวีทุกข์ทรมานแสนสาหัส นางในนิราศจึงเป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างอารมณ์สะเทือนใจอันเป็นลักษณะเฉพาะของนิราศขึ้น ตัวละครหญิงในวรรณคดีทานและการแสดงมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างโครงเรื่องและแก่นเรื่อง เช่นเดียวกันตัวละครชาย ในบางเรื่องตัวละครหญิงไม่ใช่เป็นเพียง “นางเอก” แต่เป็นตัวละครเอก การสร้างตัวละครในวรรณคดีประเภทนี้มีพื้นฐานมาจากตัวละครหญิงแบบอุดมคติในวรรณคดีคำสอน ดังนั้น ตัวละคร หญิงในวรรณคดีประเภทนี้จึงมี 2 แบบ คือ ตัวละครหญิงที่มีลักษณะเด่นตามแบบอุดมคติ และ ตัวละคร หญิงที่มีลักษณะเด่นไม่เป็นไปตามแบบอุดมคติ ตัวละครหญิงส่วนใหญ่สืบทอดขนบการสร้างตัวละครหญิงตามแบบอุดมคติ แต่เนื่องจากตัวละครหญิงในวรรคดีประเภทนี้เป็นภาพสะท้อนของมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อ มีอารมณ์ พฤติกรรมบางตอนของตัวละครหญิงจึงอาจขัดแย้งกับอึดมคติ ซึ่งทำให้ตัวละครมีลักษณะสมจริง มีชีวิตชีวา ตัวละครหญิงในวรรณคดีประเภทนี้จึงสร้างความประทับใจแก่ผู้เสพวรรณคดีด้วยบทบาท พฤติ กรรมและลักษณะนิสัยทีแสดงความซับซ้อนของจิตใจและธรรมชาติมนุษย์ พันธกิจอย่างหนึ่งของวรรณคดีไทยคือการสร้างความสุนทรีย์แห่งอารมณ์แก่ผู้เสพ ผู้เสพได้รับความสำเริงอารมณ์จากภาษาที่มีพลังเข้มข้นเร้าความรู้สึก มีเสียงเสนาะและความหมายลึกซึ้ง ลีลาการพรรณนา บางส่วนเป็นที่นิยมกันมากจึงมีการสืบทอดต่อมา จนกลางเป็นขนบทางวรรณศิลป์ที่แสดงความเป็นปราชญ์ทางภาษาของผู้สร้าง เนื้อความตอนที่สร้างสุนทรียรสแก่ผู้เสพมักจะมีตัวละครหญิงเป็นแกนสำคัญ ตัวละครหญิงจึงมีความสำคัญยิ่งในการสร้างสุนทรียรสในวรรณคดีไทย นอกจากนี้ด้วยเหตุที่ประเพณีของวรรณคดีไทย แต่เดิมผูกติดอยู่กับขนบทางนาฎศิลป์ ความหลากรสจึงเป็นลักษณะเด่นของวรรณคดีไทย แม้วรรณคดีไทยทั่วไปจะมีโครงเรื่องคล้าย ๆ กัน แต่ความหลากรส หลายอารมณ์ที่นำเสนอด้วยด้วยลีลาภาษาที่เลือกสรรคแล้วของกวีทำให้วรรณคดีไทยสร้างความสำเริงแก่ผู้เสพ จนอาจกล่าวได้ว่า ตัวละครหญิงมีส่วนในการสร้างความหลากรสอันเป็นรสนิยมทางวรรณศิลป์ของไทยด้วย
The purpose of this thesis is to study the characteristics, roles and characterization of female characters in Thai literature from the Ayutthaya to the early Ratanakosin period <1350- 1851>. The study covers three types of poetry namely didactic poetry, Niras and narrative poetry consisting of tales and dramas. The study reveals that female characters in didactic poetry are idealistic wives. The concept of a perfect wife influences the characterization of female characters in Niras and narrative poetry. Female characters in Niras play a significant role without any real action. They are important to the theme of this literary genre which is the mourning for beloved women. Female characters in Niras are perfect women in their beauty and qualifications. The separation from them cause unbearable sufferings to the poet. Female characters in Niras are therefore the most essential element that creates the unique style of this type of poetry. Female characters in narrative poetry are as important to the plot and the theme as male characters. In some literary works, female characters are main characters. The characteristics of female characters in narrative poetry are based on ideal women from didactic poetry. Thus, there are two kinds of female characters in this type of poetry, one is based on ideal women from didactic poetry. Thus, there are two kinds of female characters in this type of poetry, one is based on ideal women and the other is not. Most of the female characters in narrative poetry preserve the convention of female characterization based on ideal women. However they reflect the real nature of human beings. Thus, sometimes their actions are conflicting with ideal concepts. They mostly impress the audience by their roles and behaviors which reflect the complexity of their minds and of human nature. One of the important function of poetry is the aesthetic function. The literary pleasure that the audience experience comes from the powerful language evoking the intensity of feelings through sounds and meanings. These literary techniques have become a cherished convention reflecting the pride of being the master over the language. The important parts of poetry usually involve female characters. Thus, female characters are crucial to the aesthetic beauty of Thai poetry. As Thai poetry is closely related to dramas, the various “rasa” in the literary texts is a highly valued literary quality. Although most Thai poetry share similar plots, the various Rasa and the various feelings conveyed in the exquisitely poetic language make Thai poetry an “eternal” spring of pleasure. There are no denying that this spring of pleasure, which has set a Thai literary taste, owes much of its charm to the female characters.


SUBJECT

  1. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
  2. วรรณคดีไทย -- สมัยรัตนโกสินทร์
  3. ตัวละครและลักษณะนิสัยในวรรณคดี
  4. สตรีในวรรณคดี
  5. Thai literature
  6. Characters and characteristics in literature
  7. Women in literature

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesisวพ. ภาษาไทย LIB USE ONLY
Arts Library : Thesisวพ. ภาษาไทย CHECK SHELVES