Authorเอกชัย กี่สุขพันธ์
Titleการบริหารงานของภาควิชาในคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร / เอกชัย กี่สุขพันธ์ = Department administration in the faculties o feducation under Office of University Affairs Bangkok Metropolis / Ekachai Keesookpun
Imprint 2524
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27812
Descript ก-ฒ, 140 แผ่น

SUMMARY

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาการบริหารงานของภาควิชาต่างๆ ในคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ในเขตกรุงเทพมหานคร ในด้านต่างๆ ดังนี้ 1.1 การสอน 1.2 การวิจัย 1.3 การให้บริการวิชาการแก่สังคม 1.4 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์ที่เกี่ยวกับการบริหารงานของภาควิชาทั้ง 4 ด้าน วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรและตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและอาจารย์ประจำภาควิชา ในคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ในกรุงเทพมหานคร รวม 6 มหาวิทยาลัย ผู้บริหารใช้ประชากรที่เป็นหัวหน้าภาควิชาทั้ง 6 แห่ง ร้อยละ 100 มีจำนวน 35 คน อาจารย์ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) จากอาจารย์ประจำร้อยละ 75 ในแต่ละภาควิชาของคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ ทั้ง 6 แห่ง จำนวน 335 คน รวมประชากรและตัวอย่างประชากร จำนวนทั้งสิ้น 370 คน ได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 241 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 65.14 เป็นของผู้บริหารจำนวน 28 ฉบับ อาจารย์จำนวน 213 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม 3 ตอนตอนที่ 1 แบบสอบถามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานของภาควิชาในงานด้านต่างๆ 4 ด้าน ตอนที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้าภาควิชา การวิเคราะห์ข้อมูล ได้วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบโดยใช้ค่า t (t-test)
สรุปผลการวิจัย 1. สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 31 -35 ปี มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นอาจารย์และวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทมากที่สุด 2. การบริหารงานด้านต่างๆ 2.1 ด้านการสอน งานที่ภาควิชาปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือ การจัดอาจารย์ผู้สอนแต่ละวิชาตรงตามความถนัดและความสนใจของอาจารย์ และอาจารย์ผู้สอนมีสิทธิ์เสรีภาพในการประเมินผลวิชาที่สอน ส่วนงานที่ภาควิชาปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย คือ การใช้วิธีสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลมาเป็นอาจารย์ประจำภาควิชา 2.2 ด้านการวิจัย ปัญหาการวิจัยที่อยู่ในระดับมาก คือ การมีงานสอนหรืองานอื่นๆมากเกินไป และขาดงบประมาณสนับสนุนด้านการวิจัย เป็นสาเหตุให้อาจารย์มีผลงานวิจัยน้อย 2.3 ด้านการให้บริการวิชาการแก่สังคม งานที่ภาควิชาปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย คือ การมีกลไกที่เหมาะสมในการพิจารณาอนุมัติให้อาจารย์ไปใช้บริการวิชาการแก่สังคม การประเมินผลการให้บริการของอาจารย์โดยผู้รับบริการ การจัดอบรมทางวิชาการแก่บุคคลภายนอก และการทำบทบาทในการให้บริการแก่สังคมของอาจารย์มาประกอบการพิจารณาความดีความชอบของอาจารย์ 2.4 ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภาควิชายังให้การสนับสนุนงานด้านนี้อยู่ในระดับน้อย ไม่ว่าจะเป็นการจัดหลักสูตรหรือการจัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และการนำบทบาทในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมาประกอบการพิจารณาความดีความชอบของอาจารย์ 3. ผู้บริหารและอาจารย์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานของภาควิชาในด้านต่างๆ ทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้าภาควิชา ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาไม่ควรจำกัดเพศ ควรปฏิบัติงานในภาควิชามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และควรมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี
Purposes of the study : 1. To study the administrative task of the academic department in the faculties of education under the Office of University Affairs in Bangkok Metropolis. The study is concentrated in 4 areas as follows :1.1 Instruction 1.2 Research 1.3 Academic services to the public 1.4 Cultural promotion and transmission 2. To compare the administrators’ and instructors’ opinions about the administrative areas of the academic department. Research Procedure : Samples used in the research were 35 department heads and 335 instructors in the faculties of education from 6 universities in Bangkok Metropolis. Three hundred seventy questionnaires were distributed to the samples. Two hundred and fourty one questionnaires or 65.14 percent were completed and returned. The questionnaires used in this study was consists of three parts. They were respondents personal information, department administration and qualification for chairman of the department. Percentage, mean , standard deviation and t-test were used to analyze the data. Findings : 1. Personal Information :The respondents were mostly female, age between 31 to 35 , held the academic position as instructors, and Master Degree graduated. 2. Department Administration : 2.1 Instruction : Course assignment according to the capability and interest of the individual instructor, Right and freedom in course evaluation were practiced mostly. On the contrary, examination for recruitment was lessly practiced. 2.2 Research : Loaded teaching task and lack of supporting budgets were the main problems in research capability of the department. 2.3 Academic services to the public : Lack of proper procedure for public services permission to the teaching staff and lack of public evaluation for the program. In service training, both short and long range programs were also provided lessly. 2.4 Cultural promotion and transmission : Cultural promotion and transmission were lessly supported both by the department and the curriculum itself. Activities, pertraining to this certain area, were also lessly provided. 3. By the testing of statistical difference, it was found that the opinions of the department heads and the instructors were significantly different in all the four administrative areas. 4. Qualification for chairman of the department : Chairman of the Department should be either male or female ; have at least 5 years of experience and stay in position for 2 years in each period.


SUBJECT

  1. การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- การบริหาร
  2. อาจารย์มหาวิทยาลัย -- ทัศนคติ