Authorชลทิชา สุทธินิรันดร์กุล
Titleการวิเคราะห์เนื้อหาวารสารห้องสมุดของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย / ชลทิชา สุทธินิรันดร์กุล = A content analysis of the T.L.A. bulletin issued by The Thai Library Association / Chontichaa Suthinirunkul
Imprint 2521
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25535
Descript ก-ฑ, 278 แผ่น

SUMMARY

วารสารห้องสมุด ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย เป็นวารสารเล่มแรกและเล่มเดียวทางบรรณารักษศาสตร์ในประเทศไทย เริ่มออกเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2500 การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา บทความทางบรรณารักษศาสตร์ที่ปรากฏในวารสารห้องสมุด ตั้งแต่ฉบับที่ 1 ปีที่ 1 พ.ศ. 2500 ถึงฉบับที่ 6 ปีที่ 19 พ.ศ. 2518 รวม 301 บทความ แยกวิเคราะห์ออกตามหัวข้อเนื้อหาทางบรรณารักษศาสตร์ออกเป็น 5 กลุ่มดังนี่: บรรณารักษศาสตร์ ภูมิหลัง 88 ประเภทของห้องสมุด 110 บริการของห้องสมุด 48 ทรัพยากรและงานเทคนิค 33 และวรรณกรรมสำหรับเด็กและวัยรุ่น 22 ในการสำรวจปริมาณบทความในแต่ละหัวข้อเนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ คือ ตารางวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้สร้างขึ้น และมีความตรงซึ่งตัดสินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า 1. จากจำนวนผู้เขียนทั้งหมด 128 คน มี 29 คน ซึ่งมีผลงานเขียนลงในวารสารห้องสมุดมากกว่า 3 บทความ บทความที่ผู้เขียนทั้ง 29 คนเขียนมีร้อยละ 56.81 ของจำนวน 301 บทความ บทความที่เขียนโดยมีหลักฐานอ้างอิงประกอบมี 83 บทความ หรือร้อยละ 27.57 จากจำนวน 301 บทความ สิ่งพิมพ์ที่ผู้เขียนบทความนำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงทั้งหมด 551 รายการ เป็นหนังสือร้อยละ 54.81 เป็นบทความวารสารร้อยละ 37.93 ในจำนวนนี้เป็นบทความวารสารห้องสมุด 26 บทความ และหลักฐานอ้างอิง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 0 ถึง 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 53.18 ของจำนวนหลักฐานอ้างอิงทั้งหมด 2. ด้านเนื้อหาของบทความที่นำมาวิเคราะห์ พบว่า ก. ในช่วงปีต่างๆ บทความส่วนใหญ่มีเนื้อหาในเรื่องต่างๆ ดังนี้ พ.ศ. 2500 ถึง 2504 ห้องสมุดโรงเรียน พ.ศ. 2505 ถึง 2509 ประวัติบรรณารักษ์นักเขียนและงานประพันธ์ พ.ศ. 2510 ถึง 2514 ห้องสมุดมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยและวรรณกรรมสำหรับเด็กและวัยรุ่น พ.ศ. 2515 ถึง 2518 หลักการบริหารและการดำเนินงานห้องสมุด ข. บทความกลุ่มต่างๆมีเนื้อหาที่พบมากดังต่อไปนี้ 1) บทความเกี่ยวกับบรรณารักษศาสตร์ภูมิหลัง เน้นเนื้อหาเรื่องห้องสมุดในฐานะสถาบันสังคมด้านการศึกษาและพัฒนาคน ระดับการศึกษาและหลักสูตรวิชาบรรณารักษศาสตร์ ประวัติการจัดทำหนังสือแต่ละเล่ม และผลงานของบรรณารักษ์ และนักเขียน
2) บทความเกี่ยวกับประเภทของห้องสมุด เน้นเนื้อหา เรื่องปัญหาการดำเนินงานห้องสมุด ลักษณะอาคารสถานที่และหนังสือและวัสดุการอ่านของห้องสมุดมหาวิทยาลัย การจัดหมู่หนังสือของหอสมุดแห่งชาติ ลักษณะอาคารสถานที่ กิจกรรมและบริการต่างๆ ของห้องสมุดประชาชน งานในอาชีพบรรณารักษ์ของห้องสมุดโรงเรียน หน้าที่และวัตถุประสงค์ หนังสือและวัสดุการอ่านและงานในอาชีพบรรณารักษ์ของห้องสมุดเฉพาะ ศูนย์บริการเอกสารและสารนิเทศ และหอจดหมายเหตุ และหนังสือและวัสดุการอ่านของห้องสมุดในต่างประเทศ 3) บทความเกี่ยวกับบริการของห้องสมุด เน้นเนื้อหาเรื่องหนังสืออ้างอิงประเภทต่างๆ ของงานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า วัตถุประสงค์และการดำเนินงานของบริหารห้องสมุดในชนบท วัตถุประสงค์ของปีหนังสือระหว่างชาติและกิจกรรมที่จัดในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และหลักการและวิธีการจัดตั้งและกิจกรรมต่างๆของชมรมห้องสมุด 4) บทความเกี่ยวกับทรัพยากรและงานเทคนิค เน้นเนื้อหาเรื่องลำดับขั้นของการจัดหมู่หนังสือและวิธีจัดหาสิ่งพิมพ์ประเภทวารสาร จุลสาร และหนังสือพิมพ์เข้าห้องสมุด 5) บทความเกี่ยวกับวรรณกรรมสำหรับเด็กและวัยรุ่น เน้นเนื้อหาเรื่องความสนใจและความต้องการในการอ่านของเด็กระดับต่างๆ ข้อเสนอแนะจากวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ 1. โรงเรียนบรรณารักษศาสตร์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตบุคคลากรทางวิชาการ ควรสร้างทักษะในการแสดงความคิดเห็นและสื่อความคิดในรูปงานเขียนแก่นักศึกษาบรรณารักษศาสตร์ บรรณารักษ์และอาจารย์บรรณารักษ์ ควรร่วมมือกันผลิตวรรณกรรมทางบรรณารักษศาสตร์ไทยให้เพิ่มปริมาณขึ้น 2. กองบรรณาธิการวารสารห้องสมุดควรติดตามพัฒนาการใหม่ๆ ทางบรรณารักษศาสตร์และติดต่อกับผู้ทรงคุณวุฒิให้เขียนบทความมาลงในวารสาร เพื่อจะได้บทความที่มีเนื้อหาทันต่อเหตุการณ์ 3. บทความในวารสารห้องสมุดยังขาดเนื้อหาที่สำคัญในบางเรื่อง ได้แก่ เรื่องบริการทรัพยากร และงานเทคนิคของห้องสมุด กองบรรณาธิการควรติดต่อกับผู้มีความรู้หรือเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ให้เขียนบทความมาลงในวารสาร อันจะทำให้วารสารห้องสมุดมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในห้องสมุดมากยิ่งขึ้น
T.L.A. Bulletin, the prime and the only library periodical in Thailand issued by the Thai Library Association started the •first issue in 1957 and has been continued since. The objective of this thesis is to analyze the content of articles on library science published in the T.L.A. Bulletin from the first issue to the sixth issue of volume 19, 1975. The data base of 301 articles are divided into five groups according to the library science subject categories devised as follows: foundations 88; types of library 110; library services 48; resources and technical services 33; children and young adult literature 22. To examine the quantity in each content category, 27 content analysis tables are constructed which contain the validity approved by the authority in the field. Research results conclude as follows: 1. Of the 128 authors, 2 contributed three or more articles accounting for 56.81 percent of the 301 articles. Only 83 articles or 27.57 percent of 301 articles indicated reference sources, Of 551 items of source materials used by the writers as citations, 54.81 percent wore books and 37.93 percent were periodical articles of which 26 were articles from the T.L.A. Bulletin& An examination of the dates of references at the time of citation in the T.L.A. Bulletin showed that the over half of them (53.18%) were five years or least. 2. The findings of the content of the articles analyze-d are as follows. (a) For every five year from 1957-1975, the majority of the articles had various emphasis on subject content as follows: 1957 to 1961 school libraries;1962 to 1966 biography of librarians and writers; 1967 to 1971 university libraries and children and young adult literature; 1972 to •1975 principles of library administration. (b) The main topics included the following categories: 1) Articles concerning foundations emphasized on the role of library as social, educational and self-development institution; levels of library education and courses conducted in library schools; history of books and-accomplishment of librarians and writers. 2) Articles concerning types of library emphasized on problems of library management; buildings and collections of university libraries; the classification of resources in the National Library; buildings, activities and services of public libraries; professional work of school librarians; purposes, resources and professional work of special libraries, documention and information centers and archives; and resources in foreign libraries. 3) Articles concerning library services emphasized on types of reference books in reference service; purposes and management of rural services; objectives of the International Book Year and activities carried on during the National Book Week, and principles and activities of library clubs. 4) Articles concerning resources and technical services emphasized on classification process of book and acquisition of periodicals, pamphlets and newspapers. 5) Articles concerning children and young adult literature emphasized on the interest and reading needs of different aged-group of children. Suggestions: 1. Library schools should develop skills of students in expressing opinion and in communicating with the public through writing. Besides, librarians and library science lecturers should be encouraged to write more 2. Editors of the T.L.A. Bulletin should keep pace with library science development and ask authorities in the field to contribute articles for publication in the journal so as to obtain articles of recent significant events. 3. Some important subject fields that are scarcely found in the T .L.A. Bulletin are library services, resources and technical services. Consequently, editors should ask for articles from experts in those fields. With articles in these subjects included, the bulletin will be more benefitial to librarians.


SUBJECT

  1. วารสาร -- การวิเคราะห์

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ CHECK SHELVES
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ LIB USE ONLY
Arts Library : Thesisวพ. บรรณารักษศาสตร์ CHECK SHELVES