Authorเกื้อ วงศ์บุญสิน
Titleภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีไทยในหมู่บ้านประมง / เกื้อ วงศ์บุญสิน = Fertility of Thai women in fishing villages / Kua Wongboonsin
Imprint 2522
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/354
Descript ก-ข, 108 แผ่น

SUMMARY

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึง ภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีไทยในหมู่บ้านประมง ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจจะกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีไทยในกลุ่มนี้ การศึกษาในครั้งนี้ได้พิจารณาข้อมูลทั่ว ๆ ไป เกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีไทยในหมู่บ้านประมง ตลอดจนได้นำเอาลักษณะที่เกี่ยวกับทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ที่คิดว่ามีอิทธิพลต่อภาวะเจริญพันธุ์นำมรใช้ในการศึกษาด้วย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการวิจัยของโครงการวิจัยลักษณะทางเศรษฐกิจของหมู่บ้านประมงซึ่งดำเนินการโดยสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2521 ครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่างมีทั้งสิ้น 638 ครัวเรือนจากสามจังหวัด คือ จังหวัดระยอง, จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดพังงา การศึกษาครั้งนี้คัดเลือกและรวบรวมข้อมูลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับภาวะพันธุ์และลักษณะทางด้านสังคมเศรษฐกิจ และประชากรซี่งได้จากการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนชายและภรรยา สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวนั้นสัมภาษณ์จากสตรีที่ทำการสมรสแล้วอายุไม่เกิน 49 ปี ผลการศึกษาปรากฏว่า อายุแรกสมรสมีความสัมพันธ์กับภาวะเจริญพันธุ์ โดยที่จำนวนบุตรเกิดรอดจะลดลงตามการเพิ่มขึ้นของยุแรกสมรส และเมื่อพิจารณาโดยแบ่งเป็น 3 หมวดอายุ พบว่าได้ผลเช่นเดียวกัน ทั้งนี้โดยที่แบบแผนค่อนข้างจะชัดเจนใน 2 กลุ่มอายุแรก แต่เมื่อพิจารณาถึงกลุ่มอายุหลัง คืทอ สตรีอายุ 45 ปี และมากกว่าพบว่า มีความแปรผันอยู่บ้าง ส่วนปัจจัยด้านประชากรอื่น ๆ เช่น ระยะเวลาการสมรสจะพบว่ามีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ คือ สตรีซึ่งมีระยะเวลาสมรสยาวนานกว่าจะมรจำนวนบุตรเกิดรอดโดยเฉลี่ยสูงกว่า และการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการตายของทารกกับภาวะเจริญพันธุ์ พบว่าการลดอัตราอายขอบงทารกมีผลทำให้ภาวะเจริญพันธุ์ลดลง การพิจารณาเป็นรายจังหวัดหรือการพิจารณาโดยควบคุมอายุสตรีปัจจุบันก็ให้ผลในทำนองเดียวกัน สำหรับปัจจัยด้านสังคมพบว่า
การศึกษาของสามีและภรรยามีความสัมพันธ์กับภาวะเจริญพันธุ์ กล่าวคือคู่สมรสที่ไม่รู้หนังสือจะมีจำนวนบุตรเกิดรอดสูงกว่าคู่สมรสที่มีการศึกษากระดับประถม สำหรับการพิจารณาเป็นรายจังหวัดในระดับการศึกษาเดียวกันก็ให้ผลในทำนองเดียวกัน สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะโครงสร้างของครอบครัวกับภาวะเจริญพันธุ์พบว่า ความสัมพันธ์ที่ได้ไม่มีแบบแผนที่แน่นอน ส่วนความสัมพันธ์ของศาสนากับภาวะเจริญพันธุ์ พบว่าสตรีที่มีสามีนับถือศาสนาพุทธมีจำนวนบุตรเกิดรอดโดยเฉลี่ยสูงกว่าที่สามีนับถือศาสนาอิสลาม แต่เมื่อพิจารณาตามหมวดอายุพบว่า ค่าที่ได้ไม่ต่างกันนัก จากการศึกษาถึงปัจจัยด้านเศรษฐกิจ พบว่า สตรีที่สามีมีอาชีพเกี่ยวกับประมง เกี่ยวกับการเกษตรจะมีจำนวนบุตรเกิดรอดโดยเฉลี่ยสูงกว่าสตรีที่สามีมีอาชีพบริหาร แต่เมื่อพิจารณาในแต่ละหมวดอายุพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพกับภาวะเจริญพันธุ์จะน้อยมาก สำหรับความสัมพันธ์ของอาชีพของสตรีกับภาวะเจริญพันธุ์พบว่า สตรีที่ทำงานมีจำนวนบุตรเกิดรอดโดยเฉลี่ยไม่แตกต่างจากสตรีที่ไม่ได้ทำงาน การพิจารณาแยกตามอาชีพของงานพบว่า สตรีที่มีอาชีพเกี่ยวกับการประมง เกี่ยวกับการเกษตรมีภาวะเจริญพันธุ์สูงกว่าสตรีที่ไม่ได้ทำงาน สตรีที่มีอาชีพค้าขาย และยังสูงกว่าสตรีที่มีอาชีพธุรกิจเกี่ยวกับประมง สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ของคู่สมรสกับภาวะเจริญพันธุ์พบว่า แบบแผนที่ได้จะเห็นชัดเมื่อพิจารณาคู่สมรสที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อปี และคู่สมรสที่มีรายได้ 50,000 บาทและมากกว่าต่อปี ความสัมพันธ์ส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะที่ว่าคู่สมรสที่มีรายได้ต่ำ จะมีภาวะเจริญพันธุ์สูงกว่าคู่สมรสที่รายได้สูงกว่าไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาทุกจังหวัดหรือแยกเป็นรายจังหวัด ปัจจัยด้านอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่องความรู้ ทัศนคติ และการวางแผนครอบครัวพบว่าผู้ที่เห็นด้วยกับการวางแผนครอบครัวจะมีจำนวนบุตรโดยเฉลี่ยต่ำกว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วย
และผู้ที่เคยใช้การปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวจะมีจำนวนบุตรโดยเฉลี่ยต่ำกว่าผู้ที่ไม่เคยใช้ อนึ่ง ถ้าพิจารณาแยกตามหมวดหมู่อายุในกลุ่มอายุ 15- 34 ปี พบว่า ผู้ที่เห็นด้วยและผู้ที่เคยใช้การคุมกำเนิดเพื่อวางแผนครอบครัวกับมีจำนวนบุตรโดยเฉลี่ยสูงกว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วย และผู้ที่ไม่เคยใช้ แต่กนกลุ่มอายุ 35 ปีและมากกว่ามีความสัมพันธ์กลับกัน ข้อที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่ง ก็คือ ผลของความแตกต่างด้านประชากร เศรษฐกิจ สังคมที่มี่ต่อภาวะเจริญพันธุ์ จะเห็นเด่นชัดในจังหวัดระยอง และจังหวัดเพชรบุรี มากกว่าในจังหวัดพังงา ในกรณีของจังหวัดระยองซึ่งมีสถานภาพทางเศรษฐกิจ สังคมสูงกว่า พบว่ามีภาวะเจริญพันธุ์ต่ำกว่าอีกสองจังหวัด การพิจารณาลักษณะดังกล่าวเมื่อมีการคุมตัวแปรด้านประชากร เศรษฐกิจ และสังคมก็ให้ผลในทำนองเดียวกัน นอกจากนี้เมื่อมีการนำอายุของสตรีมาพิจารณาด้วย ก็ยังพบว่าจังหวัดระยองมีภาวะเจริญพันธุ์ต่ำกว่าอีกสองจังหวัด โดยเฉพาะในหมวดอายุ 15-24 ปี และ 30-44 ปี
The purpose of this study is to examine and evaluate fertility patterns and factors affecting fertility of Thai women in fishing villages. Data for the present study come from The Social Economic and Demographic Survey of Fishing Villages in Thailand conducted by the Institute of Population Studies, Chulalongkorn University during May-June 1978. The sample contained 638 households in three provinces, Rayong, Phetchaburi and Phang-nga. In most populations, demographic variables are among the most important factors affecting fertility. Therefore, it is appropriate to begin the examination of the impact of demographic factors on childbearing. The evidence presented clearly shows a strong inverse relation between age at first marriage of women and their cumulative fertility. When age of women is controlled, the significance of age at first marriage on fertility still remains especially in the groups of women aged 15-29 and 30-44. However among women aged 45 and over, the pattern is not consistent. In regard to duration of marriage, the results indices that the longer duration of marriage of women, the higher cumulative fertility they have. When we take into account the age of women, there are consistent patterns for women aged 15-29 and 30-44 and again no consistent pattern for women aged 45 years and over. It almost certainly reflects the greater tendency among elder women to underreport the number of children ever born. For the relationship between infant mortality and fertility, the positive association between the cumulative number of live births and infant mortality generally persists for each age group for mother in fishing communities.
Among social factors, it was found that fertility is related to the education of the husband as well as the wife. A general inverse relationship between number of children ever born and couple's educational attainment persists for every province in the sample. Among the three age groups, however, a consistent inverse relationship between fertility and education is apparent for women aged 15-29 and 30-44 but inconsistent for the older women. It should be pointed out that no clear pattern is evident for the relationship between family structure and fertility. An analysis of fertility differentials by relations indicate that Buddhist women are characterized by higher cumulative fertility than Muslims women. However, when age is controlled, cumulative fertility shows no regular relationship with religion. The economic fertility differentials among women in fishing villages has revealed several patterns. Higher fertility tends to be associated with wives whose husbands are fishermen and farmers. When age of women is introduced, husband's occupational differential in fertility are neither pronounced nor uniform. In addition, the fertility of women in the labor force is not different from the housewives. Those who worked in fishery and farming occupations are characterized by higher fertility than other women even when controlling by age. Again, the results is clearly evident for 15-29 and 30-44 aged groups.
Concerning the relationship between household income and fertility, a general inverse relationship persists especially whom compare the poorest to the richest categories, but among the in-between categories, however, the relationship is somewhat irregular. The other factors concerning the knowledge, attitude and practice in family planning, it was found women who agreed with the family planning ideas have lower fertility level than those who do not agree. Women whoever practiced contraception have smaller number of children ever born than those who never practiced. The result is changed somewhat whom age of women is controlled. Among women age 15-34, those who agreed and in family planning and ever practiced contraception have higher cumulative fertility the ones who do not. However, in the aged group of 35 years and over, the relations is in opposite directions. It is worth nothing that the results of demographic, socio-economic fertility differentials are more pronounced and consistent in Rayong and Phetchaburi than Phang-nga. Perhaps the more important is that Rayong, the province with higher socio-economic status, has the lowest fertility as compared to the other two provinces. The results hold true controlling for demographic socio-economic variables explored in this study. When age of women is controlled, however, the consistent patterns holds true especially for women aged 15-29 and 30-44.


SUBJECT

  1. ภาวะเจริญพันธุ์
  2. ชาวประมง
  3. สตรี -- ไทย
  4. health
  5. attitudes

LOCATIONCALL#STATUS
Political Science Library : Thesisวส 129 LIB USE ONLY
Political Science Library : Thesisวส 129 CHECK SHELVES
Population Information CenterTHE.100 LIB USE ONLY
Thailand and ASEAN Information Center (6th Floor) : Thesis[TAIC] 33269 CHECK SHELVES
Population Information CenterTHE.100 LIB USE ONLY