Authorกอบกุล ภู่ธราภรณ์
Titleขอบข่ายตลาดในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา / กอบกุล ภู่ธราภรณ์ = Regional market network in Changwat Phra Nakorn Sri Ayutthaya / Kobkul Phutaraporn
Imprint 2518
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17980
Descript ก-ฌ, 210 แผ่น

SUMMARY

การกำหนดเขตเพื่อศึกษาเรื่องข่ายตลาดในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ ในวิธีพิจารณาหาสถานที่ที่เป็นศูนย์กลาง และอาณาบริเวณโดยรอบที่มีประชาชนเข้ามายังศูนย์กลางในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้กิจการด้านการเศรษฐกิจและบริการเป็นตัวกำหนด ประเภทกิจการที่ประชาชนร่วมใช้ในเขตบริเวณเดียวกัน จากการศึกษา พบว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วนใหญ่ ๆ ซึ่งมีศูนย์กลางด้านการค้าและบริการของตนเอง ไม่ปะปนกัน ส่วนที่ได้ทำการศึกษาก็คือ ส่วนที่มีตลาดอยุธยาเป็นศูนย์กลาง ซึ่งในวิทยานิพนธ์ เรียกว่า “เขตอยุธยา” การศึกษาเรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมายให้เข้าใจสภาพและลักษณะการดำเนินงานทางด้านการค้าในเขตอยุธยา ซึ่งรวมถึงทัศนคติและวิธีปฏิบัติธุรกิจเพื่อจะพิจารณาว่า เจ้าของสถานการณ์ธุรกิจในเขตอยุธยามีความทันสมัยอย่างไรหรือไม่ นอกจากนั้นก็ศึกษาถึงสถานที่ที่มีการติดต่อการค้า และความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งจะแสดงออกโดยวิธีการปฏิบัติต่อกันในเรื่องของกิจการธุรกิจ เพื่อจะพิจารณาว่า เขตอยุธยามีการติดต่อกับที่ใดบ้าง และมีรูปแบบการติดต่ออย่างไร ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเรื่องนี้ ได้จากโครงการศึกษาวิจัยของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๓ โครงการ ซึ่งศึกษาที่อยุธยาในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ – ๒๕๑๒ ได้แก่ โครงการสำรวจภูมิศาสตร์และข่ายการคมนาคมในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการวิจัยนิเวศวิทยาของเขตอยุธยาและโครงการวิจัยตลาด โดยมีแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา บุคคลที่อยู่ในข่ายที่จะต้องสอบถามก็คือ เจ้าของสถานการณ์ธุรกิจต่าง ๆ ในเขตอยุธยา จากการศึกษาทำให้สามารถทราบถึงลักษณะโดยทั่วไปของตลาดอยุธยา ซึ่งเป็นตลาดศูนย์กลางของเขตอยุธยาได้ว่า เป็นตลาดที่มีลักษณะการดำเนินงานโดยทั่วไปไม่ทันสมัยนัก ยังมีการปฏิบัติแบบประเพณีอยู่มาก เช่น มีการต่อรองราคาแทนที่จะกำหนดราคาตายตัว การติดต่อกันขึ้นอยู่กับความเชื่อถือในเครดิตของกันมากกว่าจะมีสัญญา แรงงานที่ใช้ในธุรกิจส่วนใหญ่เกินแรงงานในครอบครัว เป็นต้น เมื่อพิจารณาตัวเจ้าของสถานการธุรกิจโดยตรง ก็พบว่า ส่วนใหญ่เจ้าของสถานการณ์ธุรกิจในเขตอยุธยามีการปฏิบัติการค้าอยู่ในชั้นเปลี่ยนผ่าน คือ มีระดับความทันสมัยสูงขึ้นจากขั้นประเพณีเล็กน้อย และเมื่อพิจารณาทัศนคติก็พบว่า บุคคลที่มีทัศนคติที่ทันสมัยเป็นคนที่มีการปฏิบัติอยู่ในขั้นเปลี่ยนผ่าน และรองส่งไปเป็นคนที่มีการปฏิบัติอยู่ในขั้นประเพณี แสดงว่า เจ้าของสถานการธุรกิจในเขตอยุธยาเป็นบุคคลที่มีทัศนคติที่ค่อนข้างจะทันสมัย ซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่พร้อมจะพัฒนาให้ทันสมัยกว่านี้ได้ สำหรับการติดต่อการค้ากับสถานที่ต่าง ๆ เนื่องจากเขตอยุธยาเป็นเขตที่ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก จึงต้องอาศัยสินค้าสำเร็จรูปอื่น ๆ จากตลาดภายนอกมาก ตลาดของสินค้าเข้าจึงไปไกลกว่าตลาดสินค้าออก แต่ตลาดสำคัญที่สุดสำหรับเขตอยุธยาก็คือ ตลาดกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นทั้งสถานที่รับซื้อผลผลิตทางเกษตรจากเขตอยุธยา และเป็นที่จ่ายสินค้าที่ตลาดอยุธยาต้องการ ผลก็คือ ถ้ำไม่มีตลาดกรุงเทพฯ ตลาดอยุธยาก็อยู่ไม่ได้ด้วยตนเอง การติดต่อซื้อสินค้าเข้ามาจำหน่ายของเจ้าของสถานการณ์ธุรกิจในเขตอยุธยานั้น ทำไปโดยใช้หลักความเชื่อถือซึ่งกันและกัน โดยอาศัยการเคยติดต่อกันมานานเป็นประจำมากกว่าจะติดต่อเพียงชั่วครั้งชั่วคราว หรือติดต่อกับผู้ที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งเป็นลักษณะที่สามารถมองเห็นได้ในสังคมเกษตรกรรมทั่วไป
The area chosen for this study of the market network in Ayutthaya is defined by a central place and its vicinity with access for people to come to the centre. The types of services which people share the same centre in this study are economic and services activities. From the study Ayutthaya can be divided into two sectors each with its own centre. The sector described in this thesis to the one with Ayutthaya market as its centre, and is consequently called the “Ayutthaya Region”. The object of this study is to understand the nature of business enterprises in the Ayutthaya region and to find out from attitudes and practices of the businessmen their degree of modernization. In addition, the study comes commercial contacts and buyer-seller relationships which would reveal the area and pattern of contacts of the Ayutthaya region. Information and data used in this study are obtained from three research projects of the Chulalongkorn University Social Science Research Institute , carried out during the period of B.E. 2511 – 2512. These are : Survey of Geography and Communication Network in Ayuttaya region, research in ecology of Ayutthaya, and market research. Interview forms and questionnaires were used in all the studies to obtain information from owners of various business establishments in Ayutthaya region. From this study we learn the general characteristics of Ayutthaya market centre of the Ayutthaya region. The general operations of the market are not very modern. There are still a great deal of traditional practices , such as price bargaining instead of a fixed price system; business contacts of the people depend more of their trust in credit standing of one another Rather than legal contracts ; labour employs in business is mainly family labour. The majority of business establishment owners are in the transitional stage , i.e. having a little higher level of modernization than that of the traditional stage. People with modern attitudes are those with business practices in the transitional stage , while less modern attitudes are related with practices in the traditional stage. On the whole establishment owners in Ayutthaya region have rather modern attitudes and could achieve a higher degree of modernization. Regarding commercial contacts wish other places , Ayutthaya being on agricultural region , has to rely on other finished goods from outside markets . Import is thus more extensive than export market. However , the most important market for Ayutthaya region is Bangkok which purchases agricultural produce from the Ayutthaya region and distributes goods needed by the Ayutthaya region and distributes goods needed by the Ayutthaya market. With the Bangkok market, Ayutthaya market would be unable to stand on it own. Business establishment owners buy products for sale in the Ayuttaya region on mutual trust, bused on long and regular contacts and avoid casual deals with unacquainted people. This is a noted characteristic of most agricultural soeicties.


SUBJECT

  1. การตลาด
  2. พระนครศรีอยุธยา -- ภาวะเศรษฐกิจ

LOCATIONCALL#STATUS
Political Science Library : Thesisวส 50 LIB USE ONLY
Political Science Library : Thesisวส 50 CHECK SHELVES