Authorสุปรีดา ลอตระกูล
Titleการวิเคราะห์พัฒนาการขบวนการนิสิตนักศึกษา / สุปรีดา ลอตระกูล = An analysis of the development of Thai student movement / Supreeda Lotrakul
Imprint 2529
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26772
Descript ก-ณ, 245 แผ่น

SUMMARY

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) ศึกษาการเคลื่อนไหวของนิสิตนักศึกษาที่เกิดขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2507 เพื่อเป็นพื้นฐานสร้างความเข้าใจบทบาทของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อสังคมในสมัยต่อๆ มา 2) ศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรวมตัวของนิสิตนักศึกษา ซึ่งมีบทบาทในฐานะกลุ่มผู้นำนิสิตนักศึกษาระหว่าง พ.ศ. 2507-2526 อันจะนำไปสู่ความเข้าใจในพัฒนาการของความคิดทางสังคมของผู้นำนิสิตนักศึกษา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดบทบาทของนิสิตนักศึกษา 3) ศึกษาการดำเนินงานและกิจกรรมซึ่งกลุ่มนำของนิสิตนักศึกษาใช้ในการเคลื่อนไหวเพื่อให้ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากนิสิตนักศึกษาทั่วไป และเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในขบวนการนิสิตนักศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ Historical Methods โดยจะศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากหนังสือทางด้านการศึกษาและสังคมศาสตร์ วิทยานิพนธ์ วารสาร ระเบียบ คำสั่งต่างๆ ของทางราชการ เพื่อนำมาวิเคราะห์และเรียบเรียงเป็นวิทยานิพนธ์ สรุปการผลการวิจัย 1) การเคลื่อนไหวของนิสิตนักศึกษายุคแรกนั้น เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อพิทักษ์ความถูกต้องและความยุติธรรมเรียกร้องสันติภาพ โดยมีคณะกรรมการนักศึกษาเป็นองค์กรนำในการเคลื่อนไหว โดยได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดทางสังคมจากกลุ่มก้าวหน้าในวงการหนังสือและวรรณกรรมยุคนั้น รูปแบบของการเคลื่อนไหวนั้นนอกจากจะใช้การชุมนุม การประท้วง การเดินขบวน แล้วยังมีการเคลื่อนไหวทางด้านแนวคิดใหม่ๆ โดยเฉพาะแนวความคิดสังคมนิยม สำหรับความคิดทางสังคมนั้น มีการเรียกร้องให้นิสิตนักศึกษาออกไปรับใช้สังคมภายหลังสำเร็จการศึกษา และเป็นครั้งแรกที่มีความพยายามจะก่อตั้งองค์กรนิสิตนักศึกษาระหว่างสถาบัน 2) องค์กรนำของนิสิตนักศึกษามี 2 ลักษณะ
คือ แบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ซึ่งมีบทบาทควบคู่กันมาเสมอ แบบเป็นทางการ ก็คือ คณะกรรมการองค์การนิสิตนักศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรนำระดับสถาบัน และศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา องค์การนิสิตนักศึกษา 20 สถาบัน, และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรนำระดับขบวนการในแต่ละยุคสมัยตามลำดับ สำหรับกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ คือ กลุ่มอิสระ ซึ่งยุคแรกเป็นการรวมตัวของนิสิตนักศึกษาต่างสถาบันที่สนใจ ปรัชญา วรรณกรรม และปัญหาสังคม มีลักษณะแปลกแยก แสวงหา ปฏิเสธอำนาจ ในยุคต่อมาเป็นการรวมตัวของนิสิตนักศึกษาภายในสถาบันที่สนใจปัญหาสังคมและการเมือง มีลักษณะกร้าวแกร่ง และแสวงหาอำนาจมากขึ้น กลุ่มอิสระนับว่ามีบทบาทสำคัญในการสร้างขบวนการนิสิตนักศึกษาไทย 3) ความขัดแย้งขององค์กรทั้งสองประเภทเกิดขึ้นจากแนวความคิดที่แตกต่างกันและการมองยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีต่างกัน จนกระทั่งได้มีการแยกตัวของกลุ่มอิสระตั้งเป็น “สหพันธ์นักศึกษาอิสระแห่งประเทศไทย” ในปี พ.ศ. 2515 และตั้ง “สหพันธ์นักศึกษาเสรีแห่งประเทศไทย” ในปี พ.ศ. 2516 แต่องค์กรทั้งสองสามารถรวมตัวอย่างเป็นเอกภาพทั่วทั้งขบวนการในปี พ.ศ. 2518-2519 โดยรับอิทธิพลทางความคิดบางส่วนจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย 4) ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมีผลต่อการเติบโตของขบวนการนิสิต นักศึกษา การจำกัดอิสระและเสรีภาพ ความไร้สาระของงานกิจกรรม การขาดแคลน บรรยากาศทางวิชาการ และความสัมพันธ์ที่ห่างเหินกันของอาจารย์กับนิสิตนักศึกษา เป็นแรงผลักดันให้นิสิตนักศึกษาออกไปแสวงหาภายนอกสถาบัน โดยมีนักวิชาการ กลุ่มก้าวหน้าทางความคิดเป็นผู้เกื้อหนุนให้แนวความคิดพัฒนาไปมากขึ้น และการเรียนรู้สภาพที่เป็นจริงของปัญหาในชนบทและปัญหาสังคมเมือง ตลอดจนระบบปกครองแบบเผด็จการ เป็นตัวเร่งให้นิสิตนักศึกษาแสวงหาทางออกให้กับสังคม สิ่งเหล่านี้ก่อรูปเป็นความคิดที่ทำให้นิสิตนักศึกษาต้องการมีบทบาททางสังคมและการเมืองมากยิ่งขึ้น
5) ภายหลังการปราบปรามในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2516 นิสิตนักศึกษาที่มีความคิดก้าวหน้าได้กลับมามีบทบาทอีกครั้งหนึ่ง สามารถก่อตั้งองค์การนิสิตนักศึกษา สภานิสิต นักศึกษา และพรรคของนิสิตนักศึกษาได้สำเร็จ แต่เนื่องจากอิทธิพลความคิดของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ประกอบกับความหวาดกลัวจากการถูกปราบปราม การจัดองค์กรแบบปิดลับและเคร่งครัดในวินัย ทำให้เกิดความขัดแย้งในการปฏิบัติงาน ความด้อยประสบการณ์และสถานการณ์ทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่สามารถสร้างบทบาทให้เป็นที่ยอมรับของนิสิตนักศึกษาได้อย่างแท้จริง 6) กลุ่มก้าวหน้าในขบวนการนิสิตนักศึกษาเริ่มมีปัญหาทางความคิด เมื่อกลุ่มประเทศสังคมนิยมเกิดความขัดแย้ง และแย่งชิงอำนาจกันเอง มีนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ฯ เดินทางกลับสู่เมืองจำนวนมาก มีการวิพากษ์วิจารณ์แนวความคิดต่างๆ ในขบวนการนิสิตนักศึกษา และทำให้เกิดความแตกต่างในวิธีการมองปัญหา ทิศทางของการเคลื่อนไหว อันเป็นจุดของความแตกแยกในขบวนการนิสิตนักศึกษา 7) การเคลื่อนไหวของนิสิตนักศึกษาระยะหลังเป็นการรวมตัวเฉพาะในสถาบันหรือเพียงไม่กี่สถาบัน จนกระทั่งมีการก่อตั้ง “สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย” ขึ้นในปี พ.ศ. 2527 เป็นองค์กรนำระดับขบวนการ บทบาทของนิสิตนักศึกษาได้เริ่มต้นอย่างเป็นระบบใหม่อีกครั้งหนึ่ง ขบวนการนิสิตนักศึกษานั้น เกิดและเติบโตอย่างมีความสัมพันธ์กับสภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัย ภายในมหาวิทยาลัยนั้น ปัญหาจากการเรียนการสอนบรรยากาศทางวิชาการและงานกิจกรรมนิสิตนักศึกษา เป็นประเด็นสำคัญที่สร้างความไม่พอใจแก่นิสิตนักศึกษาเสมอมา ดังนั้นผู้บริหารควรให้โอกาสนิสิตนักศึกษาได้แสวงหาและพัฒนาตนเองจากงานวิชาการและงานกิจกรรมอย่างเป็นอิสระโดยแท้จริง โดยผู้บริหารควรติดตามความเปลี่ยนแปลงทางความคิด ความต้องการ และความสนใจของนิสิตนักศึกษาอย่างใกล้ชิดผ่านทางงานเขียนหรือกิจกรรมของพวกเขา เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที
This study investigated: 1) the student movement before 1964, 2) causes of the student movements during the years 1964-1984, 3) working procedures and activities in student organization which went on during the years 1964-1983% Research Method This study is a historical research project. Various sources of information and pertinent documents were examined. Conclusions 1) The objectives of the student movement in the early period which was led by the organization of Students’ Committee, were to protect right and justice and to call for peace. The movement was influenced by the progressive group in the circle of publishing business and literature at that time. Apart from gatherings, protects, marches, there were also manifestation of new ideas especially socialism. As for the social aspect, the students demanded that the graduates should serve the society. There was the first attempt to establish a student organization of various institutes. 2) There were formal and informal types of student organizations, both of which had the leading roles. The formal ones, led by the Student Organization, were the National Student Center of Thailand (NSCT), the Student Organization of 20 institutes and the Student Federation of Thailand. The informal group was the independent group and assembled student from different institutes who were interested in philosophy, literature and social problem. They identified themselves as different, searching and deried power. Later, the independent group was composed of students with interest in social and political problems.
They were more aggressive and need more power. This independent group had major role informing student movement of Thailand 3) The conflict of the two groups came from opposing ideologies, tactics and strategies, They separated. In 1972, the Independent Student Union of Thailand was formed and in 1973 emerged the Free Students Union of Thailand. Both organization reunited in 1975-76, derived some ideologies from the Communist Party of Thailand. 4) Factors from inside and outside universities affected the growth of student movement. Freedom and liberty which were restricted, meaningless activities, lack of academic ambience and distant relationship between instructors and students contributed to push the student to the outside society. The idea was supported by intellectuals and progressive group. The reality of social problems in rural and urban areas and also the dictatorship at that time accelerated the student to search for solutions for the society. These factors made them require more roles in social and political aspects. 5) After the suppression in the incident of October 6, 1976, the students with progressive ideologies returned. They succeeded in reestablishing student organization, student council and student party. Due to the remaining influence of the Communist Party of Thailand, the fear of government, the students formed the organization in a secret and strict manner. However, conflicts reappeared in the operation stage. The lack of experience and the rapid change in political situation were the caused that the roles of students were not really recognized.
6) The progressive group in student movement began to have conflicts in ideologies, while the socialist countries had problems and fought for power. Many students who had joined the Communist Party of Thailand returned into town. The ideas of student movement were criticized. The differences in considering problems and directions of the movement were the beginning of fraction in student movements. 7) Student movement in later period was manifested by gathering of students within university of between a few ones. In 1984, the Student Federation of Thailand was founded. And the organized roles of students have begun since then. Suggestion The student organization was established in order to solve the problem of learning and teaching in universities. It is hope that administrators should provide a chance for students to fulfill themselves in both academic growth and self-development. Students also should be received more attention and supervision from administrators. Such attention and supervisions from university administrators.


SUBJECT

  1. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
  2. นักศึกษา -- ไทย -- กิจกรรมทางการเมือง
  3. ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์
  4. 2515-2519
  5. students
  6. ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์
  7. 2516-
  8. educational systems

LOCATIONCALL#STATUS
Thailand and ASEAN Information Center (6th Floor) : Thesis[TAIC] 42457 CHECK SHELVES