Authorพินิจ ลาภธนานนท์
Titleพระสงฆ์ในชนบทภาคอีสานกับการพัฒนาตามหลักการพึ่งตนเอง / พินิจ ลาภธนานนท์ = The monks in the northeast and the development of the people's self-reliance in rural communities / Pinit Lapthananon
Imprint 2527
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31090
Descript ก-ฑ, 247 แผ่น ; 27 ซม.

SUMMARY

การพัฒนาชนบทของไทยเท่าที่ผ่านมา รัฐบาลเป็นแกนกลางสำคัญในการวางแผนพัฒนา โดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและแนวทางการพัฒนาจากส่วนกลาง และมีเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือข้าราชการเป็นผู้นำไปดำเนินการ และยิ่งไปกว่านั้นแผนงานและโครงการที่เสนอให้ดำเนินการมักเป็นการเสนอให้สอดคล้องกับนโยบายและแนวทางของรัฐบาลเป็นสำคัญ โดยขาดความสนใจถึงข้อเท็จจริงว่าแผนงานหรือโครงการต่างๆ ที่ได้นำไปเสนอให้ชนบทพัฒนาจะสอดคล้องกับความต้องการและเหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชนบทเพียงไร ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่แผนพัฒนาชนบทของรัฐบาลแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ชาวชนบทไม่สามารถพึ่งตนเองได้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาวชนบทในภาคอีสาน ต่อประเด็นปัญหาเหล่านี้ บรรดานักวิชาการทางการพัฒนาทั้งหลาย ได้เสนอให้แก้ไขนโยบายพัฒนาชนบทด้วยการมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชนบท โดยประกาศใช้แผนพัฒนาชนบทพื้นที่ยากจน แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้นผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชนบทด้วยการผ่านสื่อการพัฒนาอื่นๆ ที่มิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐว่าจะประสบผลสำเร็จเพียงไร ซึ่งจากการทบทวนบทบาทของผู้นำชุมชนต่างๆ เห็นว่าพระสงฆ์เป็นผู้ที่มีบทบาทน่าสนใจ อาจจะสามารถเป็นสื่อการพัฒนาให้ชาวชนบทสามารถเข้าร่วมกันพัฒนาตนเอง หรือร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ของชุมชน เพื่อให้ทั้งตนเองและชุมชนสามารถพึ่งตนเองไม่ต้องรอรับการช่วยเหลือสงเคราะห์จากรัฐบาลดังเช่นที่ผ่านมา แต่ด้วยความไม่แน่ใจในข้อสันนิษฐานดังกล่าว จึงต้องการจะศึกษาถึงบทบาทของพระสงฆ์ในภาคอีสานว่า จะสามารถช่วยพัฒนาให้ชาวชนบทอีสานพึ่งตนเองได้จริงเพียงไร ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงแรก เป็นการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น โดยการออกไปสัมภาษณ์และสังเกตการณ์บทบาทการพัฒนาของพระสงฆ์จากตัวอย่างที่คัดเลือกไว้ 38 รูป ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้พบข้อสรุปที่น่าสนใจซึ่งสามารถจำแนกบทบาทการพัฒนาชนบทของพระสงฆ์ได้เป็น 4 ลักษณะด้วยกันคือ (1) บทบาทการพัฒนาแบบสงเคราะห์พัฒนา (2) บทบาทการพัฒนาที่พระสงฆ์เป็นผู้นำ (3) บทบาทการพัฒนาที่พระสงฆ์เป็นผู้ประสานงาน (4) บทบาทการพัฒนาที่พระสงฆ์เป็นพี่เลี้ยงประชาชน ช่วงหลัง เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี โดยการเข้าไปสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่และสถานการณ์การพัฒนาชนบทในชุมชนที่มีพระสงฆ์นักพัฒนาในบทบาทการพัฒนาที่แตกต่างกันทั้ง
4 ลักษณะดังกล่าว โดยได้คัดเลือกมาประเภทละ 1 รูป แล้วเข้าไปศึกษาสังเกตรายละเอียดข้อมูลพื้นฐาน และพฤติกรรมการพัฒนาชนบททั้งของผู้นำการพัฒนาและผู้รับการพัฒนา จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสองช่วง ได้พบว่าลักษณะกิจกรรมการพัฒนาชนบทของพระสงฆ์ในภาคอีสาน มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การแก้ไขความทุกข์ยากของชาวชนบท แต่การดำเนินโครงการของพระสงฆ์ส่วนใหญ่ยังขาดการส่งเสริมการพึ่งตนเองของชาวชนบท โดยมีอุปสรรคสำคัญคือ พระสงฆ์ส่วนใหญ่แสดงบทบาทในฐานะเป็นผู้นำการพัฒนา ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองน้อยมาก นอกจากนี้ยังได้ทราบว่าถ้าจะพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชาวชนบทภาคอีสานในปัจจุบันได้ แนวทางที่เหมาะสมที่สุด คือ การสร้างเสริมให้ชาวชนบทภาคอีสานสามารถพึ่งตนเองทางการพัฒนาได้ ซึ่งในขั้นแรกควรจะช่วยกันพัฒนาศักยภาพของชาวชนบท ด้วยการพัฒนาจิตสำนึกทางการพัฒนาตนเอง พร้อมทั้งการให้ข่าวสารความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความเข้าใจในหลักการพัฒนาแก่ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และพระสงฆ์ รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาที่จะสนับสนุนพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในทุกขั้นตอน ตลอดจนการให้ความสนับสนุนด้านทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนา แต่จะต้องเป็นการสะท้อนขึ้นมาจากชาวบ้านส่วนใหญ่ มิใช่มาจากผู้นำบางคน หรือเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ เป็นผู้ตัดสินให้ ดังนั้นการทำงานพัฒนาชนบทของพระสงฆ์จึงไม่อาจจะดำเนินการอย่างอิสระได้ ควรจะประสานงานกับหน่วยงานของรัฐบาล องค์กรเอกชน และผู้นำชุมชน ควรจะหันมาปรึกษาหารือกัน เพื่อหาหนทางที่จะผสมผสานการทำงานร่วมกัน มิให้เกิดสภาพการทำงานที่ขัดแย้งกัน หรือทำไปคนละทิศละทาง จนกระทั่งชาวชนบทไม่ทราบว่าควรจะแสดงบทบาทอย่างไร และที่สำคัญยิ่งคือทุกๆ ฝ่ายควรจะเข้าไปส่งเสริมการพัฒนาโดยการฝึกฝนและผลักดันการมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองของชาวชนบทให้มากขึ้น ซึ่งในเบื้องแรกนั้น ทุกฝ่ายจะต้องย้อนมาทบทวนบทบาทของตนเองให้ชัดเจนเสียก่อนว่า การทำงานที่ผ่านมาได้ช่วยส่งเสริมการพึ่งตนเองของชาวชนบทเพียงไร ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญอยู่ที่ไหน และควรจะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างไร กล่าวโดยสรุปก็คือทุกๆ ฝ่ายควรจะหันมาพัฒนาตนเองให้พร้อมต่อการเป็นสื่อการพัฒนาที่ดีเสียก่อนที่จะออกไปพัฒนาชาวชนบท มิเช่นนั้นจะยิ่งเป็นการสร้างปัญหาให้แก่ชาวชนบทอย่างทับทวีคูณยิ่งขึ้นไปอีก
Rural Development of Thailand is characterized by the centralized role of the Government in development planning in the identification of the policies and development strategies which are implemented by the government officials. Moreover, the main criteria in the programmes and projects proposals are primarily based on whether such proposals are consistent with the policies of the Government while often lacking in the consideration on whether these programmes and projects are consistent with the people's needs and appropriate in view of the development goal to improve the quality of life of the people in the rural areas in terms of promoting self-reliance at the individual and community levels. It is therefore hardly surprising that the rural development policies of the Government have hitherto met with very little success. In contrast, the development pursuits carried out by the Government has created a situation where the people are becoming more dependent on external assistance, particularly the rural people in the Northeastern Region. In this context, the academics of various disciplinary backgrounds have proposed the concept of rural development which aim primarily at improving the quality of life of the people. This new conceptual approach took the form of "Rural Development Plan for Poverty Areas." This led to the focal point of interest of this study which is the improvement of the quality of life of the people through development agents other than those in the official channels. A review of the role of the leadership in the various communities studied highlighted the significant role of the monks as change agents leading to self-reliance development of the rural people. Self-reliance here refers to a condition in which the rural people meaningfully participate in solving the problems both for their individual and for the collective benefit of the community rather than wait for the assistance of the Government. However, this perceived role of the monks needs to be validated. It is therefore the objective of this study to assess the extent to which these contributions of the monks in the Northeast actually led to the creation of self-reliance of the rural people. The study is carried out in two phases: The first phase include the field surveys to collect primary data on the role of 38 monks in development activities in 9 provinces. The roles of these monks can be classified into 4 categories: (1) The monks act as social workers; (2) The monks assume the leadership roles; (3) The monks act as the co-ordinators of the development activities; (4) The monks assume only the advisory roles; One example from each category mentioned is selected for case studies in the second phase of the study using participant observation and in-depth interview techniques. Baseline information of the communities selected were studied as well as the roles of the monks and the villagers in development activities. Results from both phases of the study pointed out to a uniformity of goals in the development activities of the monks, that is, to allieviate the social and economic problems of the people. However, the activities of the monks rarely led to the creation of self-reliance of the rural people. The main obstacle is the leadership role assumed by the monks which acted as barrier to the active participation of the people. According to the findings of this study, self-reliance development is seen as the most appropriate means in the pursuit of development and in solving the problems of the rural people. This involves primarily the development of the potential of the people through a process of conscientization to create an awareness of the needs to be self-reliant. Among other things which are seen as essential are the effective transfer of correct understanding of development concepts to the people, to the community leaders and monks. The encouragement of activities which lead to meaningful participation of the people in all stages of community development activities, and other support in terms of resource allocation are also necessary. It is essential that these needs be voiced from the people themselves and not from community leaders or others agencies. Hitherto, the diversity of the roles played by the various institutions at the grassroot level create confusion as to the roles they themselves should undertake. To overcome this problem, rather than carrying out development tasks in an ad hoc manner, all parties involved in the development of the Northeast i.e., the Government, the NGOs, the monks etc., should cooperate in the pursuit of the mutual goal in order to avoid the conflict as well as the danger of going about their tasks in completely different directions. Moreover, the institutions involved in development should all encourage people's participation. At the initial stage, the various agencies should review and clarify their own roles and their past performances in terms of the contributions to the promotion of self-reliance of the people, the problems and obstacles confronted and the ways of overcoming those obstacles. In short, the various development agencies should first develop their own qualities and potential as effective change agents before commencing their development tasks. Without this, rather than alleviating the problems of the people in the rural areas, rural development pursuits would only lead to the aggravation of those problems.


SUBJECT

  1. สงฆ์ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
  2. การพัฒนาชนบท
  3. สงฆ์กับการพัฒนาชนบท
  4. religion
  5. rural development

LOCATIONCALL#STATUS
Thailand and ASEAN Information Center (6th Floor) : Thesis[TAIC] 39295 CHECK SHELVES
Political Science Library : Thesisวส 184 LIB USE ONLY